หน่วยงานสำคัญในการติดต่อธุรกิจ

สปป. ลาวเปิดตัวผลิตภัณฑ์โอนเงินข้ามธนาคารผ่านมือถือ

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 บริษัท Laos National Payment Network จำกัด (LAPNet) จัดพิธีเปิดตัวบริการโอนเงินข้ามธนาคารบนมือถืออย่างเป็นทางการ ณ โรงแรม Landmark Mekong Riverside นครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมทั้งมอบใบรับรองให้แก่ธนาคาร 7 แห่งที่ให้บริการโอนเงินข้ามธนาคารบนมือถือ โดยมีนายสอนไซ สิดพะไซ ผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว และผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

การพัฒนาของภาคแผนการและการลงทุนของ สปป. ลาว

ในช่วงปี 2519 – 2528 สปป. ลาวได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบรวมศูนย์ ซึ่งเป็นการวางแผนพัฒนาโดยกำหนดคาดการณ์ตัวเลขต่าง ๆ ในปี 2519 – 2520 เป็นครั้งแรกที่ สปป. ลาววางแผนประจำปี แผน 3 ปี (2521 - 2523) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (2524 - 2528) โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการ กับผลกระทบจากสงคราม ปกปักรักษาประเทศชาติและระบอบการปกครองใหม่ให้มั่นคง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ถูกทำลายจากสงคราม โดยฟื้นฟูการผลิตและการเกษตร เช่น การทำนา เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถทำมาหากิน การฟื้นฟูโรงงานรองรับการผลิต เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานน้ำประปา อู่ซ่อมเครื่องจักร โรงงานแปรรูปอาหาร และโรงงานทอผ้า การซ่อมแซมและฟื้นฟูระบบคมนาคมและขนส่ง นอกจากนี้ ในปี 2523 การศึกษาและสาธารณสุขได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในระดับดีพอสมควร จำนวนประชากรที่รู้หนังสือเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

สปป. ลาวจะเร่งพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังโควิด 19

สปป. ลาวเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 จำนวนนักต่างชาติลดลงติดลบร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา บริษัทที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องประมาณร้อยละ 90 ได้ยุติการให้บริการและได้รับผลกระทบด้านการเงิน ปัจจุบันกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว สปป. ลาว จึงอยู่ระหว่างยกร่างแผนพัฒนางานแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว 5 ปี (2564 - 2568) โดยตั้งเป้าหมาย ในปี 2564 จะเร่งพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวลาวหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวภายในและต่างประเทศ โดยการปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ และประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวภายในประเทศให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม ใน สปป. ลาว ร่วมมือกับภาคธุรกิจในการประชาสัมพันธ์ พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว และ การบริการให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม พัฒนาบุคลาการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ปลูกจิตสำนึก ด้านการท่องเที่ยวให้ประชาชน และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและคุ้มครองการท่องเที่ยว

การพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมและหัตถกรรมใน สปป. ลาว

ปัจจุบัน สปป. ลาวมีโรงงานอุตสาหกรรมและหัตถกรรม 8,475 แห่ง แบ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ 684 แห่ง ขนาดกลาง 1,025 แห่ง ขนาดเล็ก 6,766 แห่ง และขนาดเล็กแบบครัวเรือน 19,522 แห่ง ในปี 2563 สามารถ สร้างงานให้แก่ประชาชนจำนวน 161,584 คน ประกอบด้วยแรงงานในโรงงานขนาดใหญ่ 65,041 คน ขนาดกลาง 25,930 คน ขนาดเล็ก 33,358 คน และขนาดเล็กแบบครัวเรือน 37,255 คน

สปป. ลาวส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นเป็นครั้งแรก

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2563 นาย Ji Yong Quan ผู้อำนวยการบริษัท Vientiane Kunpeng Steel จำกัด และบริษัท Khounkham Steel Industry จำกัด ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า บริษัทดังกล่าวได้ส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นเป็นครั้งแรกจำนวน 300 ตัน ไปกรุงพนมเปญ กัมพูชา ผ่านด่านสากลหนองนกเขียน แขวงจำปาสัก

กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว สปป. ลาวร่วมกับภาคเอกชนก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 นายบัวไล พานุวง รักษาการหัวหน้าห้องการกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว สปป. ลาว และนาย Zhou Yao ผู้อำนวยการบริษัท Amazing Lao Sole จำกัด ได้ลงนาม MoU ว่าด้วยความร่วมมือในการก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยว โดยมี ศ.ดร. กิแก้ว ไขคำพิทูน รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวฯ พร้อมด้วยภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

การพัฒนาด้านคมนาคมของ สปป. ลาวในรอบ 45 ปีที่ผ่านมา

นับตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค. 2518 (วันสถาปนา สปป. ลาว) เป็นต้นมา โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ได้รับการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคม ขนส่ง ไปรษณีย์ และก่อสร้าง (ปัจจุบันกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง) ปัจจุบันมีถนนที่ตัดเข้าถึงทุกเมืองและแขวงทั่วประเทศ และมีก่อสร้างและบำรุงรักษาทางหลวงแห่งชาติ เช่น ถนนหมายเลข 13 เหนือ และ 13 ใต้ ที่เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมโยงภาคเหนือไปยังภาคใต้ของ สปป. ลาว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยว และการสัญจรภายใน สปป. ลาวและเชื่อมโยงไปยังประเทศใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันโครงข่ายเส้นทางของ สปป. ลาว มีระยะทางทั้งสิ้น 58,255 กม. ประกอบด้วยทางลาดยางใน 148 เมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 687 หรือประมาณ 50,855 กม. เมื่อเทียบกับปี 2518 ที่มีเส้นทางทั้งหมด 7,400 กม. มีสะพานทั้งหมด 2,819 แห่ง ประกอบด้วยสะพานคอนกรีต 1,113 แห่ง และที่เหลือเป็นสะพานเหล็กและไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 443 หรือประมาณ 2,300 แห่ง เมื่อเทียบกับปี 2529 ซึ่งมีสะพานเพียง 519 แห่ง โดยสะพานที่สำคัญ ได้แก่ สะพานสีทอง สะพานยูริกาการิน (สะพานปากกะดิง) สะพานน้ำเทิน สะพานเซโดนที่ปากเซ สะพานท่าง่อน สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย – เวียงจันทน์) สะพานข้ามแม่น้ำโขงปากเซ สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต) สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม – คำม่วน) และสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 (เชียงราย – บ่อแก้ว) นอกจากนี้ ยังมีสะพานที่สำคัญหลายแห่งตามถนนหมายเลข 13 2 4 7 8 9 12 15 และ 18B

การพัฒนาด้านพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป. ลาวในรอบ 45 ปีที่ผ่านมา

ดร. คำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป. ลาว ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับ ผลการดำเนินงานด้านพลังงานและเหมืองแร่ในช่วง 45 ปีที่ผ่านมาว่า ในช่วงก่อนปี 2518 การลงทุนและการพัฒนาด้านพลังงานใน สปป. ลาวมีไม่มากเท่าที่ควร มีเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่เพียง 1 แห่ง คือ เขื่อนไฟฟ้าน้ำงึม 1 ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 30 เมกะวัตต์ เขื่อนไฟฟ้าขนาดเล็ก 2 แห่ง คือ เขื่อนน้ำดง แขวงหลวงพระบาง มีกำลังการผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ และเขื่อนเซละบำ แขวงจำปาสัก มีกำลังการผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ และมีเครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันสำหรับในเมืองใหญ่จำนวนหนึ่ง ขณะนั้น สปป. ลาวมีไฟฟ้าใช้ใน 5 เมืองใหญ่ ได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์ หลวงพระบาง คำม่วน สะหวันนะเขต และจำปาสัก 19,000 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 10 ของประชาชนทั้งประเทศ

การพัฒนาด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการสื่อสารของ สปป. ลาวในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ดร. ทันสะไหม กมมะสิด รัฐมนตรีกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และ การสื่อสาร สปป. ลาว รายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและการพัฒนาด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม และ การสื่อสารของ สปป. ลาว ซึ่งนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2554 กระทรวงไปรษณีย์ฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ปี 2573 ซึ่งมุ่งเน้นการยกระดับงานด้านไปรษณีย์ฯ ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเพื่อเชื่อมโยงกับภูมิภาคและ สากล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ผลการดำเนินงานด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการสื่อสาร ของ สปป. ลาวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดังนี้

ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟลาว – จีน

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 ดร. บุนทอง จิดมะนี กรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค คณะเลขาธิการศูนย์กลางพรรค รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกวดกาศูนย์กลางพรรค ประธานองค์การกวดการัฐบาล และหัวหน้าองค์การต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง สปป. ลาว ในฐานะหัวหน้าคณะชี้นำโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ลาว – จีน เป็นประธานการประชุมคณะชี้นำโครงการก่อสร้างทางรถไฟลาว – จีน ครั้งที่ 9 โดยมี ดร. บุนจัน สินทะวง รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว ในฐานะรองหัวหน้าคณะชี้นำฯ รองเจ้าแขวงแขวง ที่เส้นทางรถไฟผ่าน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม


Pages: Prev. 1 ... 27 28 29 30 31 ... 75 Next

หน่วยงานภาคเอกชน

Coming soon