หน่วยงานสำคัญในการติดต่อธุรกิจ

การทดลองใช้งานท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2564 ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้วได้ประกอบพิธีทางศาสนาสำหรับงานเปิด
และทดลองใช้งานครั้งแรก โดยมีเครื่องบินของสายการบินลาวแอร์ไลน์ และลาวสกายเวย์เข้าร่วมการทดสอบการนำเครื่องขึ้นและลงจอด รวมถึงการทดลองใช้ระบบสื่อสารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในท่าอากาศยานฯ
ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว ตั้งอยู่บ้านสีเมืองงาน เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ล้อมรอบด้วยภูเขา ป่าไม้
และแม่น้ำโขง ห่างจากเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 5 กิโลเมตร ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการขยาย
ทางรันเวย์ ปรับปรุงผังสนามบิน รวมทั้งก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและลานจอดรถ โดยมีมูลค่าการก่อสร้างรวมทั้งหมด 149,000 ล้านกีบ และคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือน มี.ค. 2565
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับเครื่องบิน ATR และรองรับเที่ยวบินได้วันละ 1-2 เที่ยว
ซึ่งจะช่วยเพิ่มการสัญจรของนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และตอบสนองความต้องการของผู้เดินทางในภูมิภาค โดยที่ผ่านมา
มีเพียงเครื่องบินขนาดเล็ก 50 ที่นั่งเท่านั้นที่สามารถลงจอดในแขวงบ่อแก้วได้ ดังนั้น รัฐบาลลาวจึงตั้งเป้าหมาย
ที่จะพัฒนาการเชื่อมต่อทางถนนและทางอากาศเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น
ปัจจุบัน สปป. ลาว มีท่าอากาศยานหลัก ทั้งสิ้น 6 แห่ง ประกอบด้วย (1) ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต
นครหลวงเวียงจันทน์ (2) ท่าอากาศยานนานาชาติบินปากเซ แขวงจำปาสัก (3) ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง (4) ท่าอากาศยานอุดมไซ แขวงอุดมไซ (5) ท่าอากาศยานสะหวันนะเขต แขวงสะหวันนะเขต
และ (6) ท่าอากาศยานห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (ปิดปรับปรุง)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 11,063 กีบ

ที่มา: นสพ. Vientiane Times วันที่ 29 ธ.ค. 2564

การประชุมทาบทามเปิดกว้าง (ร่าง) แผนพัฒนา MSMEs ปี 2564-2568

เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2564 นายบุนเถิง ดวงสะหวัน รองรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมทาบทามเปิดกว้าง (ร่าง) แผนพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) ปี 2564-2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในร่างแผนพัฒนาฯ หลังจากนั้น คณะผู้จัดทำจะปรับปรุงเนื้อหาร่างดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนจะนำเสนอรัฐบาลพิจารณาเพื่อให้การรับรองต่อไป โดยมีผู้แทนจากธนาคาร แห่ง สปป. ลาว สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

การประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการส่งออกสินค้าไปจีน

เมื่อวันที่ 26-27 ธ.ค. 2564 ดร. คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมฯ รองรัฐมนตรีจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ กระทรวงป้องกันความสงบ รองประธานคณะกรรมการร่วมมือลาว-จีน เจ้าแขวงและรองเจ้าแขวงหลวงน้ำทา แผนกที่เกี่ยวข้องของแขวงหลวงน้ำทา สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว และภาคเอกชน เข้าร่วมการประชุมปรึกษาหารือ
และลงพื้นที่ด่านสากลบ่อเต็นเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าไปจีน

มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของ สปป. ลาว เดือน พ.ย. 2564

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการค้าของ สปป. ลาว กรมการนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรม และการค้า สปป. ลาว รายงานว่า เดือน พ.ย. 2564 สปป. ลาวมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมาณ 912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยมูลค่าการส่งออกประมาณ 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าประมาณ 521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย สปป. ลาว ขาดดุลการค้าประมาณ 131 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่า การนำเข้าและส่งออกดังกล่าวไม่รวมมูลค่าการส่งออกไฟฟ้า

ผลสำรวจสถิติกสิกรรมทั่วประเทศ สปป. ลาว ครั้งที่ 3 ปี 2562-2563

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564 นางพอนสะหลี สุกสะหวัด หัวหน้าศูนย์สถิติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมเผยแพร่ผลการสำรวจสถิติกสิกรรมทั่วประเทศ สปป. ลาว ครั้งที่ 3 ปี 2562-2563 โดยมี นายสมดี ดวงดี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว และในฐานะอดีตหัวหน้าคณะชี้นำการสำรวจสถิติกสิกรรม
ทั่วประเทศ ครั้งที่ 3 และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

สปป. ลาวเตรียมเสนอสร้างร่างกฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เพื่อให้การพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศมีประสิทธิผลดีขึ้น ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษ ปี 2564-2573 กระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาวจึงมีแผนจะเสนอ
ร่างกฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษตามวัตถุประสงค์
และเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้

การประชุมรัฐบาลเปิดกว้าง ครั้งที่ 2 ประจำปี 2564

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2564 นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมรัฐบาล
เปิดกว้าง ครั้งที่ 2 ประจำปี 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี เจ้าแขวง
ผู้แทนแนวลาวสร้างชาติ หน่วยงานภาครัฐ องค์การตรวจสอบแห่งรัฐเข้าร่วม
วัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความเห็นการปฏิบัติงานของรัฐบาลชุดที่ 9 ประจำปี 2564 และเสนอร่างดำรัสว่าด้วยการจัดตั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนงบประมาณ
แห่งรัฐประจำปี 2565 และการรายงานและหารือ 3 วาระสำคัญ ได้แก่

การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2564 นายสะถาบันดิด อินสีเชียงใหม่ รองรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน
สปป. ลาว และนาย Son Chang Wan ประธานบริษัท Korea Airport Corporation (KAC) เกาหลีใต้ ร่วมลงนาม MoU เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ โครงการปรับปรุงและพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง มูลค่าประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี นายสอนไซ สีพันดอน รัฐมนตรีกระทรวงแผนการฯ และผู้แทน
จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

IMF คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจ สปป. ลาว ปี 2564-2565

เมื่อวันที่ 21-22 ธ.ค. 2564 นายสอนไซ สิดพะไซ ผู้ว่าธนาคารแห่ง สปป. ลาว เป็นผู้แทนคณะ สปป. ลาว โดยมี นางวัดทะนา ดาลาลอย รองผู้ว่าธนาคารแห่ง สปป. ลาว ดร. บุนเหลือ สินไซวอละวง รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาวและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังผลการประเมินเศรษฐกิจมหภาคของ สปป. ลาว ภายใต้มาตรา 4 ของกองทุนการเงินสากล ประจำปี 2564 (IMF Article IV Consultation 2564) ผ่านระบบทางไกล  

แผนงบประมาณแห่งรัฐประจำปี 2565 ของ สปป. ลาว

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2564 นายบุนโจม อุบนปะเสิด รัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว เป็นประธาน
การประชุมสรุปด้านการคลังทั่วประเทศ ประจำปี 2564 และแนวโน้มแผนงบประมาณแห่งรัฐประจำปี 2565
ผ่านระบบทางไกล การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีเสวนาสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และธนาคาร
แห่ง สปป. ลาว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการคลัง และเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและการคลัง
จากผลกระทบของโรคโควิด-19 โดยมีรัฐมนตรี รองรัฐมนตรี และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม


Pages: Prev. 1 ... 4 5 6 7 8 ... 75 Next

หน่วยงานภาคเอกชน

Coming soon