ภาพรวมประเทศ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  (The Lao Peoples Democratic Republic)

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
(The Lao Peoples Democratic Republic)

เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาวจึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เป็นแหล่งวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง และแหล่งลงทุนของไทย  เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทาง  การค้าแก่ลาว

สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สามในอนุภูมิภาค



พื้นที่ 236,800 ตร.กม. (1/2 ของประเทศไทย)
ประธานประเทศ นายทองลุน สีสุลิด
เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ (Vientiane Capital)
นายกรัฐมนตรี นายพันคำ วิพาวัน
ประชากร 7.28 ล้านคน (ปี 2563)
รองนายกรัฐมนตรี
พล.อ. จันสะหมอน จันยาลาด
ดร. สอนไซ สีพันดอน
ศ.ดร. กิแก้ว ไขคำพิทูน
ภาษาราชการ ภาษาลาว
วันชาติ 2 ธันวาคม
ศาสนา พุทธ (ร้อยละ 64.7) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 1.7) อื่น ๆ (ร้อยละ 33.6)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493 (ครบรอบ 71 ปีในปี 2564)
GDP 14.97 พันล้าน USD (ปี 2560)
สกุลเงิน กีบ (240 กีบ : 1 บาท ) (มิถุนายน 2560)
GDP per Capita 2,051.05 USD
เงินทุนสำรอง845.8 ล้าน USD
Real GDP Growthร้อยละ 6.79 (ปี 2560)
อุตสาหกรรมหลัก เหมืองแร่ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ไม้แปรรูป อุตสาหกรรมเกษตร ก่อสร้าง เครื่องนุ่งห่ม ท่องเที่ยว
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.30 (ปี 2560)
ทรัพยากรสำคัญ ไม้ แหล่งน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า ยิปซั่ม ดีบุก ทองคำ ตะกั่ว อัญมณี เหล็ก ถ่านหิน ลิกไนต์ ข้าวโพด
สินค้าส่งออกสำคัญ สินแร่ ทองคำแท่ง เศษโลหะ ไม้ซุง ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ยาสูบ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ตลาดส่งออกสำคัญ ไทย จีน เวียดนาม ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก ชิ้นส่วนรถยนต์และอะไหล่ยนต์ ผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ที่ทำด้วยยาง 
ตลาดนำเข้าสำคัญ ไทย จีน เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์

การลงทุนจากต่างประเทศ

สปป. ลาวมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ดังนี้

1. การลงทุนใน สปป. ลาว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

    (1) กิจการทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ กิจการในบัญชีควบคุม (กิจการที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จารีตประเพณี และสิ่งแวดล้อม) และกิจการที่ไม่อยู่ในบัญชีควบคุม 

  (2) กิจการสัมปทาน ที่นักลงทุนได้รับสัมปทานจากภาครัฐในระยะเวลาหนึ่งเพื่อพัฒนาและดำเนินธุรกิจ 

2. สาขาธุรกิจที่รัฐส่งเสริม แบ่งออกเป็น 9 สาขา ได้แก่

       (1) อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและทันสมัย การวิจัยวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าและการพัฒนา การใช้นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และพลังงาน 

      (2) เกษตรอินทรีย์ การผลิตพันธุ์พืชและสัตว์ การปลูกพืชอุตสาหกรรม การพัฒนาป่าไม้ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชนบท 

      (3) อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หัตถกรรมที่คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ 

      (4) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ 

      (5) การศึกษา กีฬา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และฝีมือแรงงาน สถาบันหรือศูนย์ฝึกวิชาชีพ และการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาและกีฬา 

     (6) ธุรกิจโรงพยาบาล โรงงานผลิตยาและอุปกรณ์การแพทย์ การผลิตและรักษาด้วยยาพื้นเมือง 

     (7) การลงทุน การบริการ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 

     (8) ธนาคารและสถาบันการเงิน 

      (9) ศูนย์การค้าทันสมัยที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ศูนย์จัดแสดงและตลาดนัดผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ 

ทั้งนี้ การลงทุนที่จะเข้าข่ายได้รับการส่งเสริมจากรัฐจะต้องมีมูลค่าลงทุนอย่างน้อย 1,200 ล้านกีบ หรือมีการจ้างเจ้าหน้าที่คนลาวจำนวน 30 คนขึ้นไป หรือแรงงานลาวที่มีสัญญาจ้างขั้นต่ำ 1 ปี จำนวน 50 คนขึ้นไป 

3. การส่งเสริมการลงทุนโดยแบ่งตามพื้นที่ ได้แก่ 

    (1) พื้นที่ห่างไกล มีความยากลำบาก และระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน 

  (2) พื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน 

  (3) เขตเศรษฐกิจพิเศษ

4. ผู้ลงทุนในสาขาธุรกิจและ/หรือพื้นที่ข้างต้นจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรแตกต่างกันไป หากเป็นการลงทุนใน 9 สาขาข้างต้น ผู้ลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่สามารถผลิตได้ใน สปป. ลาวเพื่อเป็นทรัพย์สินทรัพย์คงที่ และเครื่องจักรกลที่ใช้ในการผลิตโดยตรง การนำเข้าวัตถุดิบ แร่ธาตุ วัสดุอุปกรณ์ และส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก และการใช้วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตภายในประเทศเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปเพื่อส่งออก

ในช่วงปี 2532 – 2563 สปป. ลาวมีมูลค่าการลงทุนสะสมจากต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 26,578,491,143 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ 3,559 โครงการ สาขาการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า เหมืองแร่ การบริการ เกษตรกรรมอุตสาหกรรม และหัตถกรรม โดยประเทศไทยเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับสองรองจากจีน มูลค่าการลงทุนสะสมของประเทศไทยคิดเป็น 4,716,379,166 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ 764 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 17.74 ของมูลค่าการลงทุนสะสมจากต่างประเทศ ในปี 2563 ประเทศไทยเป็นนักลงทุนอันดับ 7 ใน สปป. ลาว รองจากจีน เวียดนาม สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และฝรั่งเศส โดยมีมูลค่าการลงทุน 3,216,500 ดอลลาร์สหรัฐ ใน 9 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ


       ภาวการณ์ลงทุนใน สปป. ลาว ปี 2559 (ม.ค.-ธ.ค.)

ลำดับที่ประเทศผู้ลงทุนจำนวนโครงการจำนวนเงินลงทุน
(USD)
1.จีน31,075,151,550
2.สปป. ลาว16451,746,462
3.ออสเตรเลีย17,500,000
4.มาเลเซีย17,000,000
5.ฮ่องกง15,000,000
6.เวียดนาม24,500,000
7.ไทย*12,000,000
รวม251,552,898,012

ภาพรวมเศรษฐกิจสปป.ลาว

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564 - 2568) ของ สปป. ลาวกำหนดเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ 6 เป้าหมาย ดังนี้

1. เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ มั่นคง และยั่งยืน GDP ขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 4 ต่อปี ภาคการเกษตรขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 4.1 ภาคการบริการร้อยละ 6 การเก็บภาษีอากรร้อยละ 5.8 

2. ทรัพยากรมนุษย์มีคุณภาพสูง สามารถตอบสนองความต้องการในการพัฒนา มีความสามารถในการค้นคว้า และใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้การผลิตและการบริการ

3. ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยช่วยเหลือให้ประชาชนพ้นจากความทุกข์ยากอย่างน้อย 204,360 ครอบครัว

4. รักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติต่าง ๆ โดยขยายพื้นที่ป่าไม้ให้ครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ของพื้นที่ประเทศภายในปี 2568 

5. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความเข้มแข็ง โดยใช้ศักยภาพด้านที่ตั้งเพื่อร่วมมือและเชื่อมโยงกับประเทศในและนอกภูมิภาค โดยทำให้ปริมาณการขนส่งทางบกขยายตัวร้อยละ 7 ทางน้ำร้อยละ 5 ทางอากาศร้อยละ 12 และทางรถไฟร้อยละ 3 – 5 ต่อปี

6. บริหารรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ สังคมมีความเสมอภาค ยุติธรรม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยบริหารรัฐให้ทันสมัยและปรับปรุงการบริหารรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 



Coming Soon