เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2564 นายพูทะนูเพ็ด ไซสมบัด รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว ได้รายงานเกี่ยวกับการเพิ่มความคุ้มครองและการป้องกันการรั่วไหลของรายรับงบประมาณแห่งรัฐต่อที่ประชุมเผยแพร่เอกสารวาระแห่งชาติว่าด้วยการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง ดังนี้
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาว กรมการนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรม และการค้า สปป. ลาว รายงานว่า เดือน ส.ค. 2564 สปป. ลาวมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมาณ 880 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยมูลค่าการส่งออกประมาณ 428 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าประมาณ 452 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย สปป. ลาวขาดดุลการค้าประมาณ 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้า และส่งออกดังกล่าวไม่รวมมูลค่าการส่งออกไฟฟ้า
IBERD [LIVE] EP. 17 รับฟังการเสวนา “เจาะลึก สปป. ลาว Dry Port โอกาสการลงทุน และ ธุรกิจสู่ตลาดโลก”
เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2564 ดร. คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ดร. วิไลวง บุดดาคำ เจ้าแขวงจำปาสัก นายเพ็ด พมพิพัก รัฐมนตรีกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป. ลาว นายพึดสะพา พูมมะสัก ประธานบริษัท AIDC การค้า จำกัดผู้เดียว และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมการประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการด้านเกษตรกรรมของ AIDC
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2564 นายทองสุก เปาสุลี หัวหน้าแผนกแผนการและการลงทุนแขวงพงสาลี ในฐานะผู้แทนองค์การปกครองแขวงพงสาลี และนายเชินปิง ประธานกลุ่มบริษัท Yujia ลงทุน จำกัด ประเทศจีน ร่วมลงนาม MOU เพื่อศึกษา สำรวจ และเก็บข้อมูลความเป็นไปได้ในการพัฒนาและก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ ลาว - จีน - เวียดนาม ที่เมืองยอดอู แขวงพงสาลี โดยมีนายคำผอย วันนะสาน เจ้าแขวงพงสาลี นายวิสอน ลาวเมา รองเจ้าแขวงพงสาลี ผู้ชี้นำด้านเศรษฐกิจ และนายสมหวัง สุมวิไล เจ้าเมืองยอดอู ร่วมเป็นสักขีพยาน
การค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Commerce มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยนโยบายการพัฒนา E-Commerce ใน สปป. ลาว พบว่าการพัฒนาด้าน E-Commerce ของ สปป. ลาวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการทำ E-Commerce โดยเฉพาะระบบ ICT ระบบชำระเงิน และระบบขนส่งยังพัฒนาช้ากว่าหลายประเทศ รายงานวิจัยนโยบายการพัฒนา E-Commerce ใน สปป. ลาว ของ ดร. จันผาสุก วิดาวง ร่วมกับแผนกค้นคว้านโยบายการค้า สถาบันค้นคว้าเศรษฐกิจการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ได้นำเสนอปัจจัยสำคัญในการพัฒนา E-Commerce ดังนี้
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2564 รายงาน Lao PDR Economic Monitor ฉบับเดือน ส.ค. 2564 ของธนาคารโลกประจำ สปป. ลาว ระบุว่า การระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกใหม่คาดว่าจะส่งผลให้ GDP ลาวปี 2564 อยู่ที่ ร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และลดลงจากที่คาดการณ์ที่ร้อยละ 4 ในเดือน มี.ค. 2564เนื่องมาจากปัจจัยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศใกล้เคียง การเร่งฉีดวัคซีนทั่วประทศ และการลดการระบาดในชุมชน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจจะลดลงมากกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้หากการระบาด ของโรคโควิด 19 ยังรุนแรง รวมทั้งมาตรการ lock down ที่เข้มงวด หรือกรณี สปป. ลาว ได้รับผลกระทบ จากภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาดในสัตว์เลี้ยงที่อาจเกิดช้ำ โดยภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นภาคขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเห็นได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น เช่น ไฟฟ้า แร่ธาตุ อุตสาหกรรมแปรรูปพบว่าฟื้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจส่วนใหญ่ในภาคการท่องเที่ยว การบริการ และการขนส่งกำลังเผชิญกับความท้าทายในการฟื้นตัว เนื่องจากมาตรการ lock down และการคงการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งตัดโอกาสในการสร้างรายรับของประเทศ
เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2564 ดร. บุนแฝง พูมมะไลสิด รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว ได้เข้าร่วม พิธีเปิดโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เวียงจันทน์ โดยมี ศ.ดร.นพ. เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธาน บริษัท บางกอก เชน อินเตอร์เนชั่นแนล (ลาว) จำกัด นางสาววาลี เวดสะพง รองประธานบริษัท บางกอก เชน อินเตอร์เนชั่นแนล (ลาว) จำกัด และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2564 นายบุนโจม อุบนปะเสิด รัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว และนาย Lee Dong - Geon ผู้แทนกองทุนความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ประจำ สปป. ลาว (Economic Development Cooperation Fund: EDCF) ได้หารือเกี่ยวกับโครงการสร้างระบบข้อมูลข่าวสารคุ้มครองเงินได้จากภาษีอากร ของ สปป. ลาว (TaxRIS หรือระบบบริการด้านภาษีอากรแบบออนไลน์) ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการที่จะใช้เงินกู้ยืมแบบมีเงื่อนไขผ่อนปรนจาก EDCF ปี 2563 - 2566
นายบุนโจม อุบนปะเสิด รัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว รายงานต่อที่ประชุมสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ว่า สปป. ลาวมีหนี้ต่างประเทศสะสมประมาณ 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้ภายในประเทศ 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงินจากการกู้ยืมเพื่อเสริมดุลงบประมาณ โดย สปป. ลาวมีแผน จะชำระหนี้คืนในช่วงปี 2564 - 2568 และ 2568 - 2573 จากการเพิ่มรายได้จากแหล่งรายได้ใหม่และสำรวจ แหล่งรายได้ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในภาคพลังงานและเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้เพิ่มอย่างน้อย 10,000 พันล้านกีบ (ประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในอีก 5 ปีข้างหน้า