ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาว กรมการนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรม และการค้า สปป. ลาว รายงานว่า เดือน เม.ย. 2564 สปป. ลาวมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมาณ 918 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยมูลค่าการส่งออกประมาณ 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าประมาณ 491 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย สปป. ลาวได้ดุลการค้าประมาณ 64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่า การนำเข้าและส่งออกดังกล่าวไม่รวมมูลค่าการส่งออกไฟฟ้า
เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สปป. ลาว อยู่ระหว่างสำรวจและประเมินจำนวนครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเร่งด่วน โดยเดิมที มีแผนจะรวบรวมตัวเลขให้ครบภายในวันที่ 15 พ.ค. 2564 แต่ต่อมาได้เลื่อนกำหนดรวบรวมตัวเลขดังกล่าวออกไป นายสุดทิไซ สมพาวัด เจ้าหน้าที่ระดับสูงของแผนกแรงงานและสวัสดิการสังคมนครหลวงเวียงจันทน์ กล่าวว่า ตนได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจครัวเรือนยากจนในแต่ละเขตและหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงาน ในพื้นที่และอาสาสมัครในหมู่บ้าน โดยมีครัวเรือนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยากจนจำนวน 1,949 ครอบครัว รวมทั้งหมด 32,420 คน จำนวนคนตกงานทั้งหมด 24,759 คน ซึ่งอาศัยอยู่ใน 9 เมืองในนครหลวงเวียงจันทน์ เจ้าหน้าที่แรงงานคาดว่า จำนวนครัวเรือนยากจนในนครหลวงเวียงจันทน์มีประมาณ 12,000 ครอบครัวและมีคนว่างงานประมาณ 26,000 คน และสาเหตุหนึ่งที่คนยากจนใน สปป. ลาวส่วนใหญ่ยังคงมีชีวิตยากจน มาจากการขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ปัจจุบันส่วนท้องถิ่นกำลังเร่งรวบรวมข้อมูลครัวเรือนยากจน ในแต่ละหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อนำข้อมูลมากำหนดนโยบายบรรเทาความยากจนต่อไป ที่มา: นสพ. Vientiane Times วันที่ 19 พ.ค. 2564
นายคำเพ็ด พมมะลาด หัวหน้าแผนกโยธาธิการและขนส่งแขวงไซยะบูลี ให้ข้อมูลว่า แขวงไซยะบูลีตั้งเป้าการก่อสร้างเส้นทางเข้าถึงบ้าน (เทียบเท่าแขวงของไทย) ภายในแขวงไซยะบูลีให้ได้ร้อยละ 90 ของจำนวนบ้านทั้งหมด โดยใช้งบประมาณของรัฐและเงินสมทบของประชาชน รวมทั้งก่อสร้างคลังพักสินค้า พัฒนาระบบโลจิสติกส์ ตามเส้นทางเศรษฐกิจที่ด่านสากล 4 แห่ง ได้แก่ ด่านสากลปางมอน ด่านน้ำเงิน ด่านน้ำเหือง และด่านพูดู่ ก่อสร้างสถานีขนส่งโดยสาร 6 แห่ง ราดยางมะตอยเส้นทางต่าง ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี สร้างท่าเรือ 1 แห่ง ที่บ้านผาเลียบเพื่อเชื่อมโยงระหว่างแขวง ปรับปรุงผังเมืองของ 3 เมือง ได้แก่ เมืองไซสะถาน เมืองเพียง และ เมืองเงินให้ได้ร้อยละ 100 ขยายน้ำประปาใน 1 เมือง และขยายน้ำประปาชุมชนให้ได้ 10 พื้นที่ และสร้างจุดชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้าให้ได้ 2 แห่งในเทศบาลแขวง
เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2564 ห้องว่าการสำนักงานนายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ได้ออกแจ้งการเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรควิด 19 มีรายละเอียด ดังนี้ 1. ด้านนโยบายการเงิน 1.1 ยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้สำหรับเจ้าหน้าที่/ลูกจ้างภาครัฐและภาคเอกชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 5 ล้านกีบ และ MSMEs เป็นเวลา 3 เดือน (เม.ย. - มิ.ย. 2564) 1.2 ขยายเวลาการส่งรายงานทางการเงินและผลประกอบการปี 2563 ของวิสาหกิจไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2564
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2564 บริษัท ร่วมทุนลาว - จีน จำกัด และบริษัท China Mobile International (สิงคโปร์) ร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือยุทธศาสตร์ผ่านระบบ cloud เพื่อก่อตั้งเมืองอัจฉริยะ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษไซเสดถานครหลวงเวียงจันทน์และเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลพื้นฐาน ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะ อีกทั้งลดต้นทุนในการบริหารและดำเนินงาน ยกระดับขีดความสามารถในการบริการ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ทั้งสองฝ่ายจะใช้ความได้เปรียบด้านทรัพยากรทุกประเภทเพื่อเปลี่ยนเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นศูนย์รวมของทรัพยากรและการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล บริษัท ร่วมทุนลาว - จีน จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2553 เป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัท ลงทุนและก่อสร้างมณฑลยูนนานหุ้นส่วน จำกัด กับองค์การปกครองนครหลวงเวียงจันทน์ ในการลงทุนก่อสร้างและบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษไซเสดถา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล สปป. ลาวกับรัฐบาลจีน โครงการดังกล่าวได้รับ การบรรจุในแผนปฏิบัติงานคู่ร่วมชะตากรรมลาว - จีน บริษัท China Mobile International เป็นบริษัทลูกของ China Mobile ซึ่งมีสาขาที่สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ 37 สาขา ทั่วโลก มีสายเคเบิ้ลใต้ทะเลและบนบกกว่า 70 เส้น ที่ผ่านมาได้ขยายธุรกิจในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เพื่อให้บริการด้านระบบข้อมูลข่าวสารให้วิสาหกิจในประเทศที่มีความร่วมมือภายใต้ Belt and Road Initiative รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ภายใต้ข้อริเริ่มดังกล่าว ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เศรษฐกิจ การค้า วันที่ 13 พ.ค. 2564 https://laoedaily.com.la/2021/05/13/94528/
เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2564 นายพุดทะไซ สีวิไล รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว และหัวหน้าหน่วยงานนโยบายการเงิน ได้ชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของธนาคาร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 โดยจะสานต่อนโยบายการเงิน ดังนี้
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2564 นางพอนวัน อุทะวง รองรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับผลการประชุมเกี่ยวกับมาตรการลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของคณะเฉพาะกิจด้านเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 สรุปได้ ดังนี้
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2564 นางคำจัน วงแสนบูน รองรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว ในฐานะผู้แทนคณะเลขาของคณะเฉพาะกิจเพื่อป้องกัน ควบคุม และแก้ไขการระบาดของโรคโควิด 19 ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการลงทุนให้นักลงทุนภายในประเทศและต่างประเทศในช่วงการระบาด ของโรคโควิด 19 ของกระทรวงแผนการฯ ว่า การระบาดของโรคโควิด 19 ใน สปป. ลาวระลอกใหม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อภาคการท่องเที่ยว การบริการ และอุตสาหกรรมแปรรูป ปัจจุบันรัฐบาล สปป. ลาวอนุญาตให้ภาคการผลิต และการบริการสามารถดำเนินธุรกิจได้แต่ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการระบาดอย่างเข้มงวด พร้อมกันนั้น รัฐบาล สปป. ลาวได้กำหนดมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสานต่อการอนุญาตการลงทุนใน สปป. ลาว โดยดำเนินการ ดังนี้
เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 นางใบคำ ขัดทิยะ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สปป. ลาว กล่าวผ่านสื่อมวลชนเนื่องในวันแรงงานสากลว่า รัฐบาล สปป. ลาวให้ความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างที่เป็นคู่ร่วมงานในการสร้างผลผลิตให้แก่ประเทศ โดยแรงงานถือเป็นปัจจัยหลักที่เพิ่มปริมาณและคุณภาพของสินค้าและการบริการ ซึ่งมีส่วนกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา รัฐบาล สปป. ลาวร่วมกับองค์กรแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศกำหนดข้อเสนอและดำเนินการ ตามนโยบายและระเบียบกฎหมายด้านแรงงานได้ดีและเป็นที่น่าพอใจ สปป. ลาวให้ความสำคัญกับกฎหมายว่าด้วยแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ในการปกป้องและคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งยังร่างกฎหมายหลายฉบับ และได้ติดตามตรวจตราการดูแลแรงงานโดยเน้นธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
ดร. สอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว กล่าวว่า สปป. ลาวจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการปฏิรูปวิสาหกิจของรัฐเพื่อให้สามารถสร้างกำไรและเพิ่มบทบาทในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงควรพิจารณาว่าวิสาหกิจใดสามารถสร้างรายรับให้กับรัฐบาลเพื่อรัฐบาล สปป. ลาวจะยังคงถือครองวิสาหกิจร้อยละ 100 หรือวิสาหกิจใดควรเปลี่ยนเป็นกิจการร่วมค้า (joint venture) หรือควรขายให้กับภาคเอกชน รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างและบุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง โดยเฉพาะการจัดจ้างผู้จัดการที่มีความสามารถและประสบการณ์เพื่อให้วิสาหกิจสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ