ขบวนรถไฟโดยสารระหว่างประเทศ ลาว-จีน เปิดให้บริการเส้นทางใหม่ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา โดยสถานีต้นทาง-ปลายทางคือ สถานีคุนหมิงใต้ของจีน และสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ของ สปป. ลาว โดยใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่วโมง 30 นาที และในวันที่ 11 เมษายน 2566 ได้เปิดจำหน่ายบัตรโดยสารอย่างเป็นทางการ พร้อมกันทั้งที่ลาวและจีน โดยรถไฟระหว่างประเทศนี้จะให้บริการวันละ 1 ขบวน ให้บริการ 8 สถานีหลัก ประกอบด้วย (1) สถานีคุนหมิงใต้ (2) สถานีผูเอ่อร์ (3) สถานีสิบสองปันนา (4) สถานีโม่ฮาน (5) สถานีบ่อเต็น (6) สถานีหลวงพระบาง (7) สถานีวังเวียง และ (8) สถานีนครหลวงเวียงจันทน์
แอปพลิเคชัน FINLINK เป็นระบบปฏิบัติการ
เพื่อการจัดเก็บรายรับและการเบิกจ่ายแบบดิจิทัล
ของรัฐบาลลาว เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์
การเปลี่ยนแปลง สปป. ลาวสู่การบริหารจัดการภาครัฐ
ที่ทันสมัย ผ่านการปฏิรูป ปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ และบริหารด้วยระบบที่ทันสมัยตาม
แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สปป. ลาว ปี 2564-2568
นอกจากการส่งออกสินค้าด้านเกษตรและ อุตสาหกรรมแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งออก
เป็นรายได้หลักอีกแหล่งหนึ่งของ สปป. ลาว ซึ่งมีความโดดเด่นมากในภูมิภาค การผลิตไฟฟ้าของ สปป. ลาว มาจากพลังน้ำ ถ่านหิน ชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยรัฐบาล สปป. ลาวยังคงส่งเสริมการสำรวจและจัดหาแหล่งผลิตพลังงานสะอาดเพิ่มเติม โดยเฉพาะพลังงานลมเพื่อให้เกิดความหลากหลายด้านพลังงาน
การเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งออกเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของรัฐบาล สปป.ลาว ในการสร้างรายได้และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงสัตว์จากการเลี้ยงสัตว์ตามธรรมชาติสู่การเลี้ยงแบบฟาร์ม และพัฒนาสู่การแปรรูปผลผลิตแบบอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยเฉพาะการเลี้ยงหมู ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ปลา เป็ด ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความต้องการอาหารสัตว์ในปริมาณที่สูงขึ้น
เมื่อวันที่ 5-30 ธ.ค. 2565 สปป. ลาว จัดการประชุม สมัยสามัญครั้งที่ 4 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ณ ห้องประชุมใหญ่สภาแห่งชาติ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการคลังและการเงินของ สปป. ลาว ประจำปี 2565 และคาดการณ์ปี 2566 ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและประชาชนทั่วไปรับทราบ สอท. จึงรวบรวมข้อมูลที่สำคัญด้านเศรษฐกิจและสรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้
สปป. ลาว เป็นประเทศที่มีแร่ธาตุ
และทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ จากลักษณะของ
ภูมิประเทศที่เกิดจากการยกตัวของแผ่นทวีปเก่าก่อให้เกิดภูเขาสลับกับที่ราบหุบเขา มีแหล่งแร่สำคัญ
เช่น เงิน ทองคำ ทองแดง นิกเกิล ตะกั่ว ถ่านหิน
บอกไซต์ ยิปซั่ม เหล็ก อัญมณี โปแตช สังกะสี
แมงกานีส หินปูน โดโลไมต์ และแบไรต์ ในพื้นที่กว่า 570 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 162,104 ตร.กม. คิดเป็น
ร้อยละ 68.49 ของพื้นที่ประเทศ ส่วนมากขุดพบในแขวงสะหวันนะเขต แขวงไซสมบูน แขวงอุดมไซ แขวงอัตตะปือ และแขวงเซกอง เป็นต้น
ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 ที่ผ่านมา สปป. ลาว
ขาดดุลการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน หากพิจารณาจากตัวเลขข้อมูล 3 เดือนล่าสุดพบว่า ในเดือน ส.ค. 2565 มีมูลค่าการค้ารวมประมาณ 1,020 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออก 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 593 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้า 166 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน ก.ย. 2565 มีมูลค่าการค้าประมาณ 1,146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออก 456 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 689 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้า 233 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในเดือน ต.ค. 2565 มีมูลค่าการค้าประมาณ 1,074 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออก 422 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้า 652 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุล การค้า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของสำคัญของ สปป.ลาว คือ แร่ธาตุ และสินค้าเกษตร อาทิ ทองคำผสมและทองคำแท่ง แร่ทอง แร่เหล็ก ยางพารา กล้วย ปุ๋ยน้ำตาล โคและกระบือ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า โดยประเทศเป้าหมายของสินค้าส่งออกของ สปป. ลาว ได้แก่ จีน เวียดนาม ไทย ออสเตรเลีย ฮ่องกง ฯลฯ
เมื่อเดือน ส.ค. 2565 ศูนย์ BIC สถานเอกอัครราชทูต
ณ เวียงจันทน์ ได้จัดทำบทความเรื่อง “มันสำปะหลังและยางพารา
พืชเศรษฐกิจใหม่ของ สปป. ลาว” ซึ่งมีโอกาสเติบโตใน สปป. ลาว
ได้ด้วยดี บทความในฉบับนี้ จะขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรม
แปรรูปยางพาราใน สปป. ลาว และแนวโน้มการเติบโตของตลาดยางพาราเพิ่มเติม เพื่อเจาะลึกถึงบทบาทอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราและโอกาสการเติบโตในระยะต่อไป
รัฐบาล สปป. ลาวให้ความสำคัญกับการผลิตเกษตรให้เป็นสินค้าตามเขตเพื่อลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศ จึงกำหนดให้ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชที่มีความสำคัญลำดับต้นของชาติไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนากสิกรรมจนถึงปี 2568 และวิสัยทัศน์จนถึงปี 2573 เพื่อให้สามารถแข่งขัน และเป็นสินค้าส่งออกโดยเฉพาะยางพาราดิบและยางพาราก้อนอัดไฮดรอลิค
ฐบาล สปป. ลาวกำหนดให้ความร่วมมือ
ด้านการเชื่อมโยงการค้า และการลงทุนกับภูมิภาคและนานาชาติ เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564-2568)
โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการลดอุปสรรคทางการค้า การลงทุน และตั้งเป้าหมายส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของ สปป. ลาว อย่างยั่งยืนต่อไป
สปป. ลาว ได้ร่วมมือกับจีนเพื่อพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงทางรางเพื่อขนส่งสินค้า รวมถึงขนส่งผู้โดยสารตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าและเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางรถไฟ ตลอดจนยกระดับรูปแบบของการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ในสปป. ลาว ให้มีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งการเปิดให้บริการของรถไฟลาว-จีน เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ สปป. ลาว เป็นข้อต่อที่สำคัญของภูมิภาค ส่งเสริมการเชื่อมโยง
สปป.ลาวเข้าสู่กับห่วงโซ่การค้าผ่านระบบขนส่งแบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ด้วยการปรับนโยบายให้มีความเหมาะสม รวดเร็ว มีคุณภาพและต้นทุนที่ถูกลง ขนส่งได้ปริมาณมากและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นับตั้งเปิดให้บริการรถไฟลาว-จีน อย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2564 จนถึงเดือนตุลาคม 2565
ในระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา รถไฟลาว-จีนได้ให้การบริการขนส่งสินค้าจำนวน 8,510,000 ตัน เป็นการขนส่ง
สินค้าระหว่างประเทศกว่า 1,540,000 ตัน แบ่งเป็นสินค้านำเข้ามา สปป. ลาว จำนวนประมาณ 280,000 ตัน และสินค้าที่ สปป. ลาว ส่งออกไปจีนประมาณ 948,000 ตัน การบริการขนส่งเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.8 ในแต่ละเดือน