หน่วยงานสำคัญในการติดต่อธุรกิจ

สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวเสนอนโยบายและมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19

เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2563 สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว ในฐานะคณะเฉพาะกิจรับผิดชอบติดตามผลกระทบและการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้จัดทำรายงานเสนอให้รัฐบาล สปป. ลาวพิจารณานโยบายและมาตรการลดผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจลาว ทั้งในช่วงการแพร่ระบาดและหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมีข้อเสนอสำคัญ ดังนี้

โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือลงทุนพัฒนาเขตเทคโนโลยีระดับสูงลาว – จีน

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2563 ศ.ดร. บ่อเวียงคำ วงดาลา รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สปป. ลาว และนายคำพัน สิดทิดำพา เจ้าแขวงเวียงจันทน์ เป็นประธานร่วมการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับโครงการศึกษา ความเป็นไปได้ในการร่วมมือลงทุนพัฒนาเขตเทคโนโลยีระดับสูงลาว – จีน โดยมีรองเจ้าแขวงเวียงจันทน์ หัวหน้ากรม/สถาบัน เจ้าเมืองและผู้แทนแผนกที่เกี่ยวข้องของแขวงเวียงจันทน์ และภาคเอกชนเข้าร่วม

สปป. ลาวจะดำเนินการปรึกษาหารือล่วงหน้าโครงการไฟฟ้าพลังน้ำซะนะคาม

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) แจ้งว่า รัฐบาล สปป. ลาวได้นำส่งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ซะนะคามเพื่อเข้าสู่กระบวนการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง (Procedures for Notification, Prior Consultation and Agreement - PNPCA) ของ MRC ประกอบด้วยเอกสารทางวิศวกรรมและการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิค การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และการศึกษาเรื่องตะกอนและการประมง

ธนาคารใน สปป. ลาวพร้อมใช้ระบบเชื่อมโยงการโอนเงิน

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2563 บริษัท Lao National Payment Network จำกัด (LAPNet) ประกาศว่าลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ใน สปป. ลาว 14 แห่ง สามารถถอนเงินสดและโอนเงินข้ามธนาคารผ่านตู้ ATM ของธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นสมาชิก LAPNet ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป LAPNet อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่ง สปป. ลาว ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2562 เพื่อสร้างระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการ มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งาน ในอนาคต LAPNet มีเป้าหมายที่จะพัฒนาการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารพาณิชย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น QR Code และ Internet Mobile Banking

สปป. ลาว สามารถดึงดูดการลงทุนได้ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาวเปิดเผยภาพรวมการลงทุนใน สปป. ลาว โดยระบุว่า รัฐบาล สปป. ลาวเริ่มผลักดันการลงทุนของภาคเอกชนตั้งแต่ปี 2532 เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศมากขึ้น การลงทุนใน สปป. ลาวตั้งแต่ปี 2532 - 2562 มีทั้งหมด 6,144 โครงการ มูลค่ารวม 36,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนของนักลงทุนภายในประเทศ 2,621 โครงการ มูลค่ารวม 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ โดยจีนเป็นนักลงทุนอันดับหนึ่งใน สปป. ลาวมีจำนวน 862 โครงการ มูลค่ารวม 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมา คือ ไทย มูลค่าการลงทุนรวม 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเวียดนาม มูลค่าการลงทุนรวม 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนจากเกาหลีใต้ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และออสเตรเลีย ประเภทการลงทุนที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถดึงดูดการลงทุนรวมประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการขุดค้นเหมืองแร่ ซึ่งสามารถดึงดูดการลงทุนรวมประมาณ 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564 - 2568)

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2563 ดร. สอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีรองรัฐมนตรีกระทรวงแผนการฯ และนักวิชาการในฐานะคณะกรรมการระดับชาติฯ เข้าร่วม กระทรวงแผนการฯ ได้ยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 (2564 – 2568) ร่างแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แผนดังกล่าวเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ สปป. ลาวสามารถหลุดพ้นจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) ด้วยการพัฒนาอย่างมีคุณภาพตามแนวทางการพัฒนาสีเขียวและเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 โดยกำหนด 6 เป้าหมายสำคัญ ดังนี้

สถานการณ์การนำเข้าและส่งออกของ สปป. ลาวในเดือน เม.ย. 2563

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาว กรมการนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว รายงานว่า เดือน เม.ย. 2563 สปป. ลาวมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมาณ 529 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยมูลค่าการส่งออกประมาณ 208 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าประมาณ 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย สปป. ลาวขาดดุลการค้าประมาณ 112 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าและส่งออกดังกล่าวไม่รวมมูลค่า การส่งออกไฟฟ้า

SMEs ด้านความมั่นคงทางอาหารจะได้รับประโยชน์จากการปล่อยเงินทุนวงเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สปป. ลาว (SMEs) มีแผนปล่อยเงินทุนวงเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุน SMEs ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยการสนับสนุนเงินทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อภาคการธนาคาร

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2563 สถาบันค้นคว้าเศรษฐกิจแห่งชาติได้ออกรายงานผลการศึกษาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต่อเศรษฐกิจลาว ข้อเสนอแนะในการจัดทำมาตรการระยะสั้น กลาง และยาว ประจำเดือน เม.ย. 2563 โดยผลการศึกษาพบว่า สภาพคล่องของระบบธนาคารอาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการฟื้นตัวช้าของภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการ โดยธนาคารพาณิชย์มีความเสี่ยงที่จะมีหนี้เสีย (NPLs) เพิ่มขึ้นภายหลังระยะผ่อนผันการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น จากการกู้ยืมเงินของธุรกิจในกลุ่มท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด

เศรษฐกิจลาว ปี 2563 คาดว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 3.3

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2563 สถาบันค้นคว้าเศรษฐกิจแห่งชาติได้ออกรายงานผลการศึกษาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต่อเศรษฐกิจลาว ข้อเสนอแนะในการจัดทำมาตรการระยะสั้น กลาง และยาว ประจำเดือน เม.ย. 2563 โดยผลการศึกษาพบว่า โรคโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน ซึ่งคาดการณ์ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) สปป. ลาวจะขยายตัวลดลงจากร้อยละ 6.1 ในปี 2562 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2563 ที่ร้อยละ 4.5


Pages: Prev. 1 ... 40 41 42 43 44 ... 77 Next

หน่วยงานภาคเอกชน

Coming soon