สปป.ลาว เป็นพื้นที่ที่ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีวัฒนธรรมที่หลากหลายและน่าสนใจ ภาคบริการการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ สร้างโอกาสการจ้างงาน และส่งเสริมสาขาการบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจอาหาร โรงแรม สปา จัดประชุม การขายสินค้าท้องถิ่น การให้บริการรถเช่า ฯลฯ มีการขยายตัวควบคู่กันไป
สปป. ลาว เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกทะเล (Land-locked)
จึงส่งผลให้เกิดข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจหลายประการ อาทิ ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สูง การนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกสินค้าจำเป็นต้องส่งสินค้าผ่านท่าเรือของประเทศที่สาม ด้วยข้อจำกัดข้างต้น จึงไม่เอื้อต่อการดึงดูดนักลงทุนให้ขยายฐานการผลิตมาใน สปป. ลาว
เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 ดร. คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว
เป็นประธานการประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเนื่องในโอกาสการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
ของ สปป. ลาว ครบรอบ 9 ปี ในหัวข้อความสำคัญของข้อริเริ่มเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน
เพื่อการพัฒนาในกรอบองค์การการค้าโลกต่อการฟื้นเศรษฐกิจในยุคโควิด-19 โดยมี ผู้แทนจากภาครัฐ
และภาคเอกชนเข้าร่วม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าของ สปป.ลาว ปี 2564-2573 ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 2 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ประกอบด้วยนโยบาย 10 ประการ ได้แก่ นโยบายด้านน้ำมันเชื้อเพลิง
และก๊าซ ถ่านหิน พลังงานทดแทน การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า การพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้า การพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้า ความมั่นคงด้านพลังงาน การพัฒนาตลาดพลังงาน ราคาไฟฟ้า และการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน
เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2565 นายแก้วนะคอน ไซสุเลียน หัวหน้ากรมเทคโนโลยีดิจิทัล กระทรวงเทคโนโลยี และการสื่อสาร สปป. ลาว และนางวิพากอน กอนสิน ประธานบริษัท ลาว วีไอพี พัฒนาการลงทุน จำกัด ร่วมลงนามสัญญาว่าด้วยการทดลองดำเนินธุรกิจทรัพย์สินดิจิทัล โดยมี ศ.ดร. บ่อเวียงคำ วงดารา รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีฯ พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2565 นางคำจัน วงแสนบูน รองรัฐมนตรี กระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว และนายพุดพอนไซ หลวงลาด ผู้อำนวยการบริษัท ท่าบกท่าแขก จำกัดร่วมลงนามสัญญาสัมปทานโครงการท่าบก ท่าแขก เพื่อพัฒนาโลจิสติก การขนส่งสินค้าของ สปป. ลาว โดยมีเจ้าแขวงคำม่วน รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน รองรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม นายพุดพอนไซฯ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีพื้นที่ติดกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม- คำม่วน) อายุสัมปทาน 30 ปี มูลค่าก่อสร้าง 15.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2564 โดยรัฐบาลลาว (รัฐวิสาหกิจลาวบริการสินค้าผ่านแดน) ถือหุ้นร้อยละ 30 และภาคเอกชน (บริษัท Greater Mekong Logistics จำกัดเป็นผู้แทนของทั้งสามบริษัท) ถือหุ้นร้อยละ 70 โดยสัดส่วนผู้ถือหุ้นร้อยละ 70 ประกอบด้วย บริษัท Greater Mekong Logistics จำกัด บริษัท International Transport จำกัด และบริษัท Speed Intertransport จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 52.5 ร้อยละ 10.5 และร้อยละ 7 ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2565 นายโพไซ ไขคำพิทูน รองรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว
ผู้แทนรัฐบาล สปป. ลาวและนายเจียง จายตุง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำ สปป. ลาว ผู้แทนฝ่ายจีนร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนและสรุปการเฉลิมฉลองวันก่อตั้งความสัมพันธ์
ทางการทูตระหว่าง สปป. ลาว และจีน ครบรอบ 60 ปี และปีมิตรภาพลาว-จีน ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2565 นายสุพน จันทะวีไซ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ลาว โทรคมนาคม มหาชน
และนายวรงค์ ตังประพฤทธิ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อมตะซิตี้ ลาว จำกัดร่วมลงนามสัญญาการร่วมมือยุทธศาสตร์ทางธุรกิจการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม โดยมี ดร. สันติสุก สิมมาลาวง รองรัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สปป. ลาว นายสมดี ดวงดี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน
ที่ปรึกษาโครงการ AMATA Smart & Eco City Lao พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2565 ดร. สอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแผนการ และการลงทุน สปป. ลาว เป็นหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำในการอำนวยความสะดวกทางการค้าส่วนกลาง และเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าทั่วประเทศ โดยมี ดร. คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว รองหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำฯ รวมทั้งผู้แทน จากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 นางจันสะหวาด บุบผา รองรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมการจัดเตรียมร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยของเขื่อน ครั้งที่ 2 โดยมี ผู้แทนจากแผนก ที่เกี่ยวข้องของแขวงไซสมบูน เชียงขวาง บ่อแก้ว หลวงพระบาง สะหวันนะเขต สาละวัน และจำปาสักเข้าร่วม