หน่วยงานสำคัญในการติดต่อธุรกิจ

การประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์

เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2565 ดร. ดาววง พอนแก้ว รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ การประชุมครั้งนี้ เพื่อสานต่อมติตกลง
ของรัฐบาลว่าด้วยการแบ่งความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามมติของสภาแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการคลัง โดยให้กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาว ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขั้นศูนย์กลาง
และท้องถิ่น ศึกษานโยบายและมาตรการลดการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากต่างประเทศ เพื่อลดการชำระเงินตราต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

โครงการพัฒนาเมืองทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเขตนาเตย

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2565 บริษัท อมตะซิตี้ ลาว จำกัด (Amata City Lao Sole Company Limited) ได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการพัฒนาเมืองทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเขตนาเตย แขวงหลวงน้ำทา โดยมี นายคำไหล สีปะเสิด เจ้าแขวงหลวงน้ำทา นางคำจัน วงแสนบูน รองรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว พร้อมด้วยนายเจษฎา กตเวทิน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

ข้อคิดเห็นของไทยเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟลาว - จีน

นายโจ ฮอร์น พัฒโนทัย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท Strategy 613 จำกัด ที่ปรึกษาองค์กรเอกชนขนาดใหญ่ และหน่วยงานของรัฐในการลงทุนทำธุรกิจระหว่างไทยกับจีน กล่าวว่า ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทฯ สามารถขนส่งสินค้า รวมทั้งวัสดุบรรจุภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์จากจีนมาไทยผ่านทางรถไฟลาว-จีน ได้แล้ว และชื่นชมความพยายามของรัฐบาลไทยในการเพิ่มการเชื่อมโยงประเทศกับเส้นทางรถไฟลาว-จีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมและการค้า

การประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการนำเข้า - ส่งออก การผ่านแดน และการขนส่งสินค้า

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2565 ดร. คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการนำเข้า-ส่งออก การผ่านแดน และการขนส่งสินค้าที่สถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ ด่านสากลท่าบกท่านาแล้ง (สำหรับสินค้า) และเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมี นายจันทอน สิดทิไซ ประธานบริษัท เวียงจันทน์โลจิสติกส์ พาร์ค จำกัด นายหยวน หมิงหาว ผู้อำนวยการบริษัท ทางรถไฟลาว - จีน จำกัด หัวหน้ากรมและรองหัวหน้ากรมจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง นักธุรกิจ และผู้ประกอบการบริการขนส่งสินค้าเข้าร่วม

เป้าหมายการพัฒนาภาคพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป. ลาว

การพัฒนาภาคพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป. ลาว นับเป็นภารกิจที่มีความสำคัญลำดับต้น และตั้งอยู่ บนพื้นฐานที่สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของภูมิภาคและสากล และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างฐานรายรับ ให้กับประเทศ โดยเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเติบโตสีเขียว

อัตราเงินเฟ้อ สปป. ลาวในเดือน ธ.ค. 2564

ศูนย์สถิติแห่งชาติ กระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อของ สปป. ลาว
ในเดือน ธ.ค. 2564 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา นับเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบปี
2564 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาจากหมวดคมนาคมและขนส่ง ซึ่งเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.7
หมวดร้านอาหารและโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 หมวดการรักษาสุขภาพและยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 หมวดสินค้า
และบริการอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 อย่างไรก็ตาม หมวดการศึกษาลดลงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 0.4

รัฐบาล สปป. ลาว ตั้งเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณ ในปี 2565

ในปี 2565 รัฐบาล สปป. ลาว ตั้งเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณ 3.09 ล้านล้านกีบ คิดเป็นร้อยละ 1.61 ของ GDP เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจะดำเนินนโยบายการจัดเก็บรายได้ที่ทันสมัยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็อุดช่องโหว่จากการจัดเก็บรายได้ที่อาจส่งผลให้สูญเสียงบประมาณ และตั้งเป้าการจัดเก็บรายได้จากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศให้เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายภายในประเทศ รวมถึง ชำระหนี้ทั้งภายในและต่างประเทศ

ปี 2565 รัฐบาล สปป. ลาวตั้งเป้าหมายให้ GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5

ในที่ประชุมรัฐบาลเปิดกว้าง ครั้งที่ 2 เมื่อเดือน ธ.ค. 2564 ได้เห็นชอบร่างดำรัสว่าด้วยการปฏิบัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนงบประมาณแห่งรัฐ ประจำปี 2565 ซึ่งรัฐบาล สปป. ลาว กำหนดเป้าหมายปีนี้
ให้ GDP ประเทศขยายตัวร้อยละ 4.5 คิดเป็นมูลค่า 192.14 ล้านล้านกีบ คิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อคน 2,503 ดอลลาร์สหรัฐ และ GNI ต่อคน 2,358 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย การขยายตัวของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของ GDP ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 คิดเป็นร้อยละ 34 ของ GDP ภาคการบริการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.5 คิดเป็นร้อยละ 38.9 ของ GDP และภาคภาษี-ศุลกากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 คิดเป็นร้อยละ 10.4 ของ GDP

สปป. ลาว เตรียมเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรกับจีนเพิ่มอีก 22 ชนิด

การเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรกับประเทศคู่ค้าหลักเป็นงานสำคัญในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร
เพื่อทดแทนการนำเข้าและส่งออก และเป็นงานสำคัญตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
และการคลังของ สปป. ลาว ตามการรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติตามวาระแห่งชาติฯ ต่อที่ประชุมรัฐบาล
เปิดกว้าง ครั้งที่ 2 เมื่อเดือน ธ.ค. 2564

รัฐบาล สปป. ลาวอนุมัติให้ 19 บริษัทขุดค้นและแปรรูปแร่เหล็ก

การส่งเสริมโครงการขุดค้นแร่ธาตุและแปรรูปแร่ธาตุ ระยะทดลองเป็นหนึ่งในการปฏิบัติตามวาระแห่งชาติ ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการคลังของ สปป. ลาว โดยในที่ประชุมรัฐบาลเปิดกว้าง ครั้งที่ 2 ปี 2564 ได้รายงานความคืบหน้าในการปฏิบัติตามวาระแห่งชาติฯ ว่า ปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจพัฒนาแร่ธาตุลาวได้ลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท Hong Kong Tianyunda International Trade จำกัด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งโรงงานหลอมเหล็กกล้าลาว-จีน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน บนพื้นที่ 126 เฮกตาร์ เป็นระยะเวลา 8 เดือน (22 ก.ค. 2564 - 21 มี.ค. 2565) โดยรัฐวิสาหกิจพัฒนาฯ ถือหุ้นร้อยละ 20 มูลค่า 240 ล้านหยวน และบริษัท Hong Kong ถือหุ้นร้อยละ 80 มูลค่า 960 ล้านหยวน นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้อนุมัติให้ 19 บริษัท ใน 19 กิจการสามารถเริ่มการขุดค้นและแปรรูปแร่เหล็กได้ การดำเนินโครงการแร่ธาตุฯ (ระยะเวลาช่วงทดลอง 3 ปี) สถานะเดือน ต.ค. 2564 มีผู้สนใจและยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขประมาณ 201 โครงการ ประกอบด้วย โครงการแร่เหล็ก 167 โครงการ แร่ทอง 17 โครงการ แร่ทองตกตะกอน 10 โครงการ และแร่อื่น ๆ 8 โครงการ โดยเฉพาะแร่เหล็กที่ได้ลงนามสัญญาแล้วจำนวน 16 โครงการ และสามารถชำระค่าธรรมเนียมล่วงหน้าเข้างบประมาณมูลค่า 23.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงกลไก ขั้นตอนการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของโครงการต่าง ๆ ให้เหมาะสม การจัดทำคู่มือแนะนำด้านวิชาการเกี่ยวกับการสร้างแผนคุ้มครองและติดตาม ตรวจตราสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการพัฒนาแร่ธาตุในช่วงการทดลองได้สำเร็จ รวมทั้ง ได้จัดสรรงบประมาณ ติดตาม ตรวจตราแผนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมโครงการลงทุนเพื่อจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญในปี 2565 ในรายงานดังกล่าวยังเน้นว่า รัฐบาล สปป. ลาวได้ออกดำรัสว่าด้วยการกำหนดเขตสงวนแร่ธาตุ ฉบับเลขที่ 308/นย ลงวันที่ 10 พ.ค. 2564 และรัฐบัญญัติว่าด้วยค่าธรรมเนียมและค่าบริการ ฉบับปรับปรุง เลขที่ 002/ปปท ลงวันที่ 17 มิ.ย. 2564 แล้วเสร็จ ที่มา: นสพ. ประชาชน วันที่ 14 ม.ค. 2565 http://www.pasaxon.org.la/pdfs/932514-01-2022_compressed.pdf


Pages: Prev. 1 ... 5 6 7 8 9 ... 77 Next

หน่วยงานภาคเอกชน

Coming soon