เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2565 ดร. อาดสะพังทอง สีพันดอน เจ้าครองนครหลวงเวียงจันทน์ เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เขตนิคมอุตสาหกรรม นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมี พลโท ไอ สุลิยะแสง ประธานกลุ่มบริษัทพงสะหวัน ผู้บริหารกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด เจ้าเมือง รองเจ้าเมือง และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2564 ดร. บุนเหลือ สินไซวอระวง รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมสรุปผลการคุ้มครองการเก็บค่าธรรมเนียมจากธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงและแนวโน้มปี 2565 โดยมีหัวหน้ากรม รองหัวหน้ากรม ผู้แทนกรมที่เกี่ยวข้องขององค์การกวดกาแห่งรัฐ กระทรวงป้องกันความสงบ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ธนาคารแห่ง สปป. ลาว ภาษี (ศุลกากร)-ส่วยสาอากรประจำนครหลวงเวียงจันทน์ ด่านภาษีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) และสมาคมน้ำมันเชื้อไฟเข้าร่วม
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2565 จะเป็นความตกลงสำคัญในการส่งเสริมการค้าเสรีและการลงทุน ภายในกลุ่มอาเซียน รวมถึง สปป. ลาวด้วย
กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว ผลักดันการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุแผนงบประมาณของรัฐบาล สปป. ลาว ระยะเวลา 5 ปี (2564-2568) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิบัติตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง โดยมีผลบังคับใช้จนถึงปี 2565 ซึ่งให้ความสำคัญลำดับต้นในการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยง สปป. ลาว กับประเทศอื่น ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการทำให้ สปป. ลาว เป็นประเทศที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคอย่างมั่นคง
ดร. สอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว
รายงานต่อที่ประชุมรัฐบาลเปิดกว้าง ครั้งที่ 2 ว่า ปี 2564 สปป. ลาวมีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรกว่า
900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 82 ของตัวเลขที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในปี 2564 โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกกล้วย 225 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยางพารา 214 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มันสำปะหลัง 196 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แตงโม 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอ้อย 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2564 ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้วได้ประกอบพิธีทางศาสนาสำหรับงานเปิด
และทดลองใช้งานครั้งแรก โดยมีเครื่องบินของสายการบินลาวแอร์ไลน์ และลาวสกายเวย์เข้าร่วมการทดสอบการนำเครื่องขึ้นและลงจอด รวมถึงการทดลองใช้ระบบสื่อสารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในท่าอากาศยานฯ
ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว ตั้งอยู่บ้านสีเมืองงาน เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ล้อมรอบด้วยภูเขา ป่าไม้
และแม่น้ำโขง ห่างจากเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 5 กิโลเมตร ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการขยาย
ทางรันเวย์ ปรับปรุงผังสนามบิน รวมทั้งก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและลานจอดรถ โดยมีมูลค่าการก่อสร้างรวมทั้งหมด 149,000 ล้านกีบ และคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือน มี.ค. 2565
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับเครื่องบิน ATR และรองรับเที่ยวบินได้วันละ 1-2 เที่ยว
ซึ่งจะช่วยเพิ่มการสัญจรของนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และตอบสนองความต้องการของผู้เดินทางในภูมิภาค โดยที่ผ่านมา
มีเพียงเครื่องบินขนาดเล็ก 50 ที่นั่งเท่านั้นที่สามารถลงจอดในแขวงบ่อแก้วได้ ดังนั้น รัฐบาลลาวจึงตั้งเป้าหมาย
ที่จะพัฒนาการเชื่อมต่อทางถนนและทางอากาศเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น
ปัจจุบัน สปป. ลาว มีท่าอากาศยานหลัก ทั้งสิ้น 6 แห่ง ประกอบด้วย (1) ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต
นครหลวงเวียงจันทน์ (2) ท่าอากาศยานนานาชาติบินปากเซ แขวงจำปาสัก (3) ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง (4) ท่าอากาศยานอุดมไซ แขวงอุดมไซ (5) ท่าอากาศยานสะหวันนะเขต แขวงสะหวันนะเขต
และ (6) ท่าอากาศยานห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (ปิดปรับปรุง)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 11,063 กีบ
ที่มา: นสพ. Vientiane Times วันที่ 29 ธ.ค. 2564
เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2564 นายบุนเถิง ดวงสะหวัน รองรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมทาบทามเปิดกว้าง (ร่าง) แผนพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) ปี 2564-2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในร่างแผนพัฒนาฯ หลังจากนั้น คณะผู้จัดทำจะปรับปรุงเนื้อหาร่างดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนจะนำเสนอรัฐบาลพิจารณาเพื่อให้การรับรองต่อไป โดยมีผู้แทนจากธนาคาร แห่ง สปป. ลาว สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
เมื่อวันที่ 26-27 ธ.ค. 2564 ดร. คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมฯ รองรัฐมนตรีจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ กระทรวงป้องกันความสงบ รองประธานคณะกรรมการร่วมมือลาว-จีน เจ้าแขวงและรองเจ้าแขวงหลวงน้ำทา แผนกที่เกี่ยวข้องของแขวงหลวงน้ำทา สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว และภาคเอกชน เข้าร่วมการประชุมปรึกษาหารือ
และลงพื้นที่ด่านสากลบ่อเต็นเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าไปจีน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการค้าของ สปป. ลาว กรมการนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรม และการค้า สปป. ลาว รายงานว่า เดือน พ.ย. 2564 สปป. ลาวมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมาณ 912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยมูลค่าการส่งออกประมาณ 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าประมาณ 521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย สปป. ลาว ขาดดุลการค้าประมาณ 131 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่า การนำเข้าและส่งออกดังกล่าวไม่รวมมูลค่าการส่งออกไฟฟ้า
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564 นางพอนสะหลี สุกสะหวัด หัวหน้าศูนย์สถิติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมเผยแพร่ผลการสำรวจสถิติกสิกรรมทั่วประเทศ สปป. ลาว ครั้งที่ 3 ปี 2562-2563 โดยมี นายสมดี ดวงดี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว และในฐานะอดีตหัวหน้าคณะชี้นำการสำรวจสถิติกสิกรรม
ทั่วประเทศ ครั้งที่ 3 และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม