หน่วยงานสำคัญในการติดต่อธุรกิจ

การค้าลาว – เวียดนาม 10 เดือนที่ผ่านมา มีมูลค่ากว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สปป. ลาว และเวียดนามมีความพยายามในการพัฒนาและผลักดันมูลค่าการค้าระหว่างกันให้มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2563 โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค. – ต.ค. 2561) มูลค่าการค้าระหว่าง สปป. ลาว – เวียดนาม มีมูลค่ากว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม สปป. ลาว ยังขาดดุลการค้ามูลค่ากว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟลาว – จีน

ปัจจุบันโครงการก่อสร้างทางรถไฟลาว - จีน มีความคืบหน้าร้อยละ 46 และคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564 ขณะที่การจ่ายเงินค่าชดเชยดำเนินการไปแล้วจำนวน 3 งวด มูลค่ากว่า 221 พันล้านกีบ (25.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจำนวน 167 บ้าน 13 เมือง 4 แขวง และนครหลวงเวียงจันทน์

กระทรวงพลังงานและบ่อแร่แห่ง สปป. ลาว ชี้แจงการจำหน่ายไฟฟ้าให้ประเทศเพื่อนบ้าน

นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่แห่ง สปป. ลาว ได้ตอบข้อซักถามของสมาชิกสภาแห่งชาติเกี่ยวกับประเด็นการสร้างเขื่อนไฟฟ้า และการจำหน่ายไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ว่า ปัจจุบัน สปป. ลาว   มีแหล่งผลิตไฟฟ้าจำนวน 61 แห่ง มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 7,207.24 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 37,366.66     กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และได้จำหน่ายไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม จีน และเมียนมา
นายคำมะนีฯ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยไฟฟ้าปี 2540 และการดำเนินนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศทำให้มีนักธุรกิจเข้ามาลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า (IPP) ซึ่งถือเป็นการริเริ่มการดำเนินธุรกิจไฟฟ้า  ในรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ต่อมาในปี 2550 สปป. ลาว มีแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 450 เมกะวัตต์ หรือประมาณร้อยละ 40 ของครัวเรือนผู้บริโภคทั่วประเทศ

ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจ สปป. ลาว ขยายตัว

ในปี 2562 ภาคอุตสาหกรรม การบริการ และเกษตรกรรม มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น และจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สปป. ลาว ให้ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในขณะที่ปี 2561 ขยายตัวเพียงร้อยละ 6.5

ปีนี้เศรษฐกิจ สปป. ลาว ขยายตัวช้าลง

นายสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการเงินแห่ง สปป. ลาว ได้รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมและแผนงบประมาณ – เงินตรา ประจำปี 2561 ในการประชุมสภาแห่งชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 6 ชุดที่ 8 ว่า เศรษฐกิจมหาภาคของ สปป. ลาว ยังมีความมั่นคงและขยายตัว อย่างต่อเนื่อง แต่อยู่ในจังหวะที่ช้าลง เนื่องจากปัจจัยภายในและภายนอก อาทิ ผลกระทบจากต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้น ค่าเงินกีบที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ การเข้มงวดของระบบสินเชื่อธนาคาร รวมไปถึงการเกิด ภัยพิบัติธรรมชาติ และอื่นๆ

ธนาคารโลกประเมินความสะดวกในการประกอบธุรกิจใน สปป. ลาว ประจำปี 2562

ธนาคารโลกประเมินความสะดวกในการประกอบธุรกิจใน สปป. ลาว ลดลงจากลำดับ 141 ในปี 2561    มาอยู่ที่ลำดับ 154 ในปี 2562 จากจำนวน 190 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสถาบันค้นคว้าเศรษฐกิจแห่งชาติลาว ระบุว่า ส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการประเมินลดลงคือ การให้บริการและการประสานงานของแต่ละกระทรวงไม่มีเอกภาพ   หากไม่เร่งแก้ไขอาจทำให้นักธุรกิจตัดสินใจไปลงทุนในประเทศอื่นที่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ดีกว่า

ภาครัฐและภาคธุรกิจร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของ สปป. ลาว

ทิศทางเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ในปีนี้ เผชิญกับความยุ่งยากหลายด้าน อาทิ เกษตรกรรม ไฟฟ้า เหมืองแร่   ซึ่งขยายตัวลดลง สถาบันค้นคว้าเศรษฐกิจแห่งชาติจึงได้เสนอแนะให้รัฐบาล สปป. ลาว กำหนดมาตรการเพื่อ      กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ธนาคารโลกสนับสนุนเงินกู้เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจใน สปป. ลาว

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2561 ได้มีพิธีเซ็นสัญญาเงินกู้ยืมระหว่างรัฐบาลแห่ง สปป. ลาว กับธนาคารโลก สำหรับโครงการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการค้าของ สปป. ลาว ในวงเงินกู้ยืมแบบผ่อนผันจำนวน   10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากสมาคมพัฒนาสากลภายใต้การดูแลของธนาคารโลก และมอบเงินทุนช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากผู้ให้ทุนอื่นจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว เน้นส่งเสริมการจัดเก็บรายรับและดึงดูดการลงทุน

นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว กล่าวในการประชุมรัฐบาล ประจำเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่า ภาพรวมเศรษฐกิจมหาภาคของ สปป. ลาว ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะไม่เป็นไปตามที่สภาแห่งชาติลาวรับรอง

นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว เน้นส่งเสริมการจัดเก็บรายรับและดึงดูดการลงทุน

นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว กล่าวในการประชุมรัฐบาล ประจำเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่า ภาพรวมเศรษฐกิจมหาภาคของ สปป. ลาว ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะไม่เป็นไปตามที่สภาแห่งชาติลาวรับรอง ดังนั้น กระทรวงการเงินแห่ง สปป. ลาว จะต้องเร่งส่งเสริมการจัดเก็บรายรับให้ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยเร่งปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บรายรับให้ทันสมัย การรวบรวมบัญชีการนำเข้าสินค้าให้เสียภาษีให้ถูกต้อง และการดำเนินการตามดำรัสว่าด้วย     การประหยัดและลดการฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ นายทองลุนฯ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงแผนการและการลงทุนแห่ง สปป. ลาว ทบทวนและตรวจสอบโครงการลงทุนของรัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพทั้งทางด้านคุณภาพ มาตรฐานทางเทคนิค และการเบิก - จ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะโครงการที่ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงแผนการฯ ประเมินผลการดำเนิน    การตาม 8 มาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนตามนโยบายของพรรค    และรัฐบาล และมอบหมายให้ธนาคารแห่ง สปป. ลาว ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการอนุมัติสินเชื่อ    เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมทั้งเร่งปรับปรุงและทบทวนโครงสร้างองค์กรและการอบรมแนวคิด       ทางการเมืองให้แก่พนักงานธนาคาร


Pages: Prev. 1 ... 53 54 55 56 57 ... 75 Next

หน่วยงานภาคเอกชน

Coming soon