กฎระเบียบที่ควรรู้

การลงทุนเพียงลำพังหรือการร่วมลงทุน

บทความในตอนก่อนๆ ได้เสนอแนะผู้ลงทุนให้ทำการศึกษาข้อมูลการลงทุนทั้งในส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ และหรือบริการที่จะจำหน่าย และ กฎหมายของประเทศของผู้ลงทุนเองว่าเอื้อต่อการลงทุนในประเภท ต่างๆอย่างไร รวมถึงการศึกษาข้อมูลของประเทศที่จะเข้าไปลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจในบทความนี้จะมุ่ง เน้นไปที่ทางเลือกของผู้ลงทุนในการดำเนินธุรกิจภายหลังจากที่ผู้ลงทุนได้ตัดสินใจจะดำเนินธุรกิจใน สปป. ลาว แล้ว

เมื่อผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนใน สปป.ลาว ประเด็นต่อมาที่ผู้ลงทุนต้องพิจารณาคือ ผู้ลงทุนควรจะดำเนิน ธุรกิจด้วยตนเองเพียงลำพัง หรือ ผู้ลงทุนจะลงทุนร่วมกับพลเมือง สปป. ลาว หรือคนในท้องถิ่น สำหรับผู้ลงทุน บางรายที่ประสงค์จะลงทุนเองเพียงลำพัง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับนักลงทุนกลุ่มนี้คือ การขาดความรู้และข้อมูล ที่ทันต่อสถานการณ์ ไม่ว่าในแง่ของสภาวะตลาดภายใน สปป. ลาว สภาพเศรษฐกิจ หรือ กฎหมาย เนื่องจากข้อมูล เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการยากสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงที หากไม่มี บุคคลในท้องถิ่นร่วมลงทุนด้วย

นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติอาจประสบกับความยุ่งยากในการติดต่อกับหน่วยงาน ราชการต่างๆ เนื่องจาก ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการและระบบกฎหมายของสปป. ลาว อย่างเพียงพอ ในอีกกรณีหนึ่ง สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจจะลงทุนร่วมกับคนท้องถิ่นนั้น ประเด็นสำคัญในลำดับต้นๆ ที่ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงคือ รูปแบบความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจระหว่างผู้ร่วมลงทุนว่าจะมีการแบ่งสัดส่วนผลประโยชน์และการบริหารงาน อย่างไรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยรูปแบบองค์กรทางธุรกิจตาม กฎหมายของ สปป. ลาว มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ และความ เหมาะสมต่อธุรกิจของ ผู้ลงทุนแต่ละราย

อย่างไรก็ดี การตัดสินใจของผู้ลงทุนว่าจะลงทุนแค่เพียงผู้เดียวหรือเป็นการร่วมทุนกับคนท้องถิ่น ไม่เพียง แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องทุน และผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจเท่านั้น ใน สปป. ลาว ธุรกิจบางประเภทอาจมีข้อจำกัดใน ทางกฎหมาย หรือมีเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจที่กำหนดโดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องที่ระบุให้การประกอบ ธุรกิจบางประเภทต้องดำเนินการหรือมีการร่วมลงทุนของพลเมืองลาว อาทิ ธุรกิจการค้าขายยกหรือขายส่ง (Wholesale Business) และธุรกิจการค้าขายย่อย (Retail Business) เป็นต้น โดยรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการที่ห้ามคน ต่างชาติประกอบธุรกิจจะกล่าวในบทต่อๆ ไป

กล่าวโดยสรุปแล้ว ผู้ลงทุนควรพิจารณาข้อดีและข้อด้อยของการลงทุนโดยตนเองและการร่วมลงทุนกับคน ท้องถิ่นอย่างรอบคอบ รวมทั้งพิจารณาปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ณ ขณะนั้นเพื่อตัดสินใจว่า การลงทุนในรูปแบบใดจะเหมาะสมกับธุรกิจของตนมากที่สุด ในบทต่อไปเราจะกล่าวถึงการเริ่มดำเนินธุรกิจใน สปป. ลาว ว่านักลงทุนจะเริ่มประกอบกิจการในเบื้องต้นได้อย่างไร



กลับหน้าหลัก