กฎระเบียบที่ควรรู้

การประกอบธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกในสปป.ลาว

เมื่อพิจารณาห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจค้าส่งและธุรกิจค้าปลีกเป็นช่องทางหลักใน การกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ธุรกิจดังกล่าวเกิดขึ้นและฝังตัวอยู่ในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน โดยมีวิวัฒนาการตั้งแต่การขายสินค้าในร้านค้าโชว์ห่วยจนกลายมาเป็นห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์ มาร์เก็ต ในปัจจุบัน ในปัจจุบันกระแสการแข่งขันในธุรกิจดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ประเทศ ไทยเริ่ม ตระหนักถึงการขยายตัวของห้างค้าปลีกต่างชาติขนาดใหญ่และมีการใช้กฎหมายผังเมืองเพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว สปป.ลาวเองก็ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและได้มีการวางกฎระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจค้าส่งและ ค้าปลีกใน สปป.ลาว นักลงทุนที่สนใจจะเข้าไปดำเนินธุรกิจดังกล่าวใน สปป.ลาวจึงควรพิจารณาถึงข้อจำกัดและ ศึกษาความ เป็นไปได้ในการเข้าไปลงทุนในแง่มุมเชิงกฎหมายก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง ใน สปป. ลาว

กฎหมายค้าปลีกและค้าส่ง

ใน สปป.ลาว ธุรกิจค้าส่ง (Wholesale)ถูกเรียกว่าธุรกิจขายยก ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีก(Retail) จะเรียกว่า ธุรกิจขายย่อย โดยกฎหมายหลักของ สปป.ลาวที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจดังกล่าวมีอยู่ 2 ฉบับได้แก่ ข้อตกลง ว่าด้วยธุรกิจการค้าขายยกและการค้าขายย่อย เลขที่ 0977/อค.คพม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2012 (“ข้อตกลงว่าด้วย การค้าขายยกและการค้าขายย่อย”) และ แจ้งการเรื่องประเภทสินค้าและอัตราส่วนทุนที่เปิดให้ผู้ลงทุนต่างประเทศ ประกอบทุนเพื่อสร้างตั้งหัวหน่วยธุรกิจนำเข้าเพื่อขายยกอยู่สปป.ลาว เลขที่ 1489/อค.สลท ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2012 (“แจ้งการเพื่อสร้างตั้งหัวหน่วยธุรกิจนำเข้าเพื่อขายยก”)

ภายใต้กฎหมายสปป.ลาว ธุรกิจการค้าขายยกหมายถึงการจำหน่ายสินค้าให้บุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวนำสินค้าเหล่านั้นไปผลิตสินค้าต่อ นำไปขายยกหรือขายย่อยต่อในขณะที่ธุรกิจการค้าขายย่อย หมายถึงธุรกิจจำหน่ายสินค้าในทอดสุดท้ายให้แก่บุคคลหรือครัวเรือนเพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวนำสินค้าไปบริโภค จากนิยามที่กฎหมายกำหนดข้างต้น จะเห็นได้ว่าการจำแนกธุรกิจขายยกและธุรกิจขายย่อยใน สปป.ลาวจะใช้วัตถุ ประสงค์ในการซื้อสินค้าดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าการขายสินค้าดังกล่าวเป็นการขายยกหรือการขายย่อย

การประกอบธุรกิจขายยกและขายย่อย

ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการค้าขายยกและการค้าขายย่อย การจำหน่ายสินค้าไม่ว่าจะเป็นการประกอบธุรกิจ ขายยกหรือขายย่อยถือเป็นอาชีพสงวนสำหรับพลเมืองสปป.ลาวเท่านั้น ดังนั้นชาวต่างชาติจึงไม่สามารถประกอบ ธุรกิจจำหน่ายสินค้าไม่ว่าจะเป็นการขายยกหรือขายย่อยใน สปป.ลาวได้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายสปป.ลาวได้ อนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าใน สปป.ลาวได้ในบางกรณี ภายใต้เงื่อนไขและข้อ จำกัดบางประการ

ข้อยกเว้นในการประกอบธุรกิจขายยก

ข้อตกลงว่าด้วยการค้าขายยกและการค้าขายย่อยได้เปิดช่องให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถลงทุนในธุรกิจขายยกในสปป.ลาวได้โดยนักลงทุนต่างประเทศสามารถเข้าร่วมลงทุนกับนักลงทุนสปป.ลาวเพื่อดำเนินธุรกิจขายยก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสปป.ลาวมีการกำหนดประเภทธุรกิจและอัตราส่วนการลงทุนที่นักลงทุนต่างประเทศจะเข้า ร่วมลงทุนได้ โดยประกาศการจัดตั้งธุรกิจนำเข้าเพื่อขายยกได้กำหนดประเภทธุรกิจที่รัฐบาล สปป.ลาว อนุญาตให้ นัก ลงทุนต่างชาติสามารถเข้าร่วมลงทุนกับนักลงทุนสปป.ลาว ได้แก่ ธุรกิจสิ่งทอ(Textile) ธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม (Clothing) และธุรกิจรองเท้า (Footwear)นอกเหนือจากธุรกิจที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถ ร่วมลงทุนกับนักลงทุนสปป.ลาวเพื่อดำเนินธุรกิจขายยกได้

ข้อตกลงว่าด้วยการค้าขายยกและการค้าขายย่อยยังเปิดช่องให้นักลงทุนต่างชาติสามารถขายยกสินค้าของ ตนได้ ในกรณีที่สินค้าที่จะจำหน่ายดังกล่าวผลิตจากโรงงานที่ตั้งใน สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า กฎหมาย สปป.ลาวยินยอมให้โรงงานขายยกเฉพาะสินค้าที่โรงงานผลิตเท่านั้น โรงงานไม่สามารถจำหน่ายสินค้า หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ตนไม่ได้ผลิต อาจกล่าวได้ว่าการประกอบธุรกิจขายยกใน สปป.ลาวไม่ใช่อาชีพต้องห้าม สำหรับนักลงทุนต่างประเทศอย่างเด็ดขาดหากแต่กฎหมาย สปป.ลาวกำหนดขอบเขตการประกอบธุรกิจขายยกโดย ชาวต่างชาติไว้อย่างจำกัด เพื่อคุ้มครองและสงวนอาชีพดังกล่าวไว้ให้พลเมือง สปป.ลาวโดยเฉพาะ

ข้อยกเว้นในการประกอบธุรกิจขายย่อย

ข้อตกลงว่าด้วยการค้าขายยกและการค้าขายย่อยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าธุรกิจขายย่อยถือเป็นอาชีพสงวนไว้เฉพาะสำหรับพลเมืองลาว นักลงทุนต่างประเทศจึงไม่สามารถประกอบธุรกิจขายย่อยได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ กฎหมาย สปป.ลาวยังอนุญาตให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจขายย่อยบางประเภทเป็นการ เฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น Hypermarket, Supermarket, Shopping Center ได้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างประเทศต้อง ดำเนินการตามที่กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกำหนด เช่น กฎหมายส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น

เช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจขายยก กฎหมาย สปป.ลาวอนุญาตให้โรงงานที่ตั้งในสปป.ลาวสามารถขาย ย่อยสินค้าที่ตนผลิตได้ เมื่อพิจารณาภาพรวมของข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขายย่อยใน สปป.ลาวแล้ว อาจสรุป ได้ว่า กฎระเบียบของ สปป.ลาวในปัจจุบันไม่เอื้อให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าไปลงทุนในธุรกิจขายย่อยใน สปป.ลาว เท่าใดนัก ในทางตรงกันข้ามกฎหมาย สปป.ลาวแสดงออกอย่างชัดแจ้งในการมุ่งคุ้มครองอาชีพขายย่อย ไว้สำหรับพลเมืองลาวเป็นการเฉพาะ

เมื่อนักลงทุนได้ทราบหลักเกณฑ์และข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งใน สปป.ลาว นักลง ทุนจึงควรพิจารณาช่องทางการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพื่อที่จะสามารถเลือกวิธีการลงทุนธุรกิจ ค้าปลีกและค้าส่งใน สปป.ลาวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและได้รับผลประโยชน์สูงสุดภายใต้ขอบเขตที่กฎหมาย สปป.ลาวอนุญาต



กลับหน้าหลัก