Q & A เกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางการค้าใน สปป. ลาว

Q & A เกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางการค้าใน สปป. ลาว


Q: สินค้าทุกรายการที่ส่งออกจาก สปป. ลาว จะได้รับสิทธิพิเศษทุกรายการหรือไม่ ?

A: ไม่ใช่สินค้าทุกรายการที่ส่งออกจาก สปป. ลาว จะได้รับสิทธิพิเศษโดยอัตโนมัติ สินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษด้านการค้าจะต้องเป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีรายการสินค้าที่ให้สิทธิพิเศษของประเทศผู้นำเข้า และผลิตตามเงื่อนไขของระเบียบแหล่งกำเนิดสินค้าตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเสนอต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรของประเทศผู้นำเข้า

Q: ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า คืออะไร ?

A: ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หมายถึง เอกสารที่รับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่เกิดขึ้นหรือได้ผ่านกระบวนการผลิต ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆที่ได้รับมอบสิทธิให้เป็นผู้รับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เอกสารดังกล่าวใช้เพื่อเป็นหลักการอ้างอิงในการยกเว้นหรือลดภาษีนำเข้าต่างประเทศที่ให้สิทธิพิเศษด้านการค้า

Q: การส่งออกสินค้าของ สปป. ลาว ทุกครั้งต้องขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าหรือไม่ ?

A: ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าไม่ใช่เอกสารบังคับที่ต้องขออนุญาตสำหรับการส่งออกทุกครั้ง แต่มีไว้เพื่อขอลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีนำเข้า ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกลดต้นทุนสินค้าแทนที่จะต้องเสียภาษีเต็มในอัตราปกติ (MFN) เพราะฉะนั้น จึงขึ้นอยู่กับผู้นำเข้าต้องการใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าหรือไม่ หากผู้นำเข้าไม่ต้องการเอกสารดังกล่าว สามารถดำเนินขั้นตอนการส่งออกแบบปกติโดยไม่จำเป็นขอใบรับรองแหล่งกำเนิด

Q: ธุรกิจสามารถรรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าได้ด้วยตัวเองหรือไม่ ?

A: ตามหลักการแล้วแหล่งกำเนิดสินค้าจะต้องไดรับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศผู้ส่งออก แต่ระบบสิทธิพิเศษทางการค้าของบางประเทศ เช่น แคนาดา อิตาลี นิวซีแลนด์ และอเมริกาได้อนุญาตให้ธุรกิจรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตัวเอง เริ่มตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2558 และในวันที่ 1 มกราคม 2560 ประเทศอาเซียนและอียู จะอนุญาตให้ธุรกิจรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตัวเองตามลำดับ สำหรับอาเซียนปัจจุบันอยู่ในระยะดำเนินโครงการทดลองรับรองแหล่งกำเนิดด้วยตัวเอง นอกนั้นบางระบบสิทธิพิเศษอนุญาตให้ธุรกิจรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตัวเอง สำหรับการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าไม่สูง เช่น มูลค่าสินค้าไม่เกิน 6,000 ยูโร (ประมาณ 221,875 บาท) สำหรับอียู 200,000 เยน (ประมาณ 62,009 บาท) หรือ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 69,267 บาท) สำหรับญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ

Q: ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของ สปป. ลาว สามารถขอได้ ณ ที่ใด ?

A: ผู้ส่งออกสินค้าสามารถยื่นขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากรมการนำเข้า – ส่งออก แผนกอุตสาหกรรมและการค้า นครหลวงเวียงจันทน์ หรือ สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติแขวง หรือ เขตอุตสาหกรรมเวียงจันทน์ – โนนทอง นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป

Q: ระเบียบแหล่งกำเนิดสินค้าคืออะไร ?

A: ระเบียบแหล่งกำเนิดสินค้า คือ การกำหนด หรือ การวางเงื่อนไขของการผลิตสินค้า โดยรวมแล้วสินค้าที่มีเงื่อนไขได้แหล่งกำเนิดมี 2 ลักษณะ คือ
(1) สินค้าที่ได้มา หรือ ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด
(2) สินค้าที่ผลิต คือ ผ่านการแปรรูป โดยนำเข้าวัตถุดิบบางส่วน

Q: สินค้าที่ได้มา หรือ ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด คือสินค้าประเภทใด ?


A: สินค้าต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นสินค้าที่ได้มา หรือ ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด และเป็นสินค้าที่ได้แหล่งกำเนิดโดยอัตโนมัติ
(1) พืช และ ผลิตภัณฑ์จากพืชที่เกิด ปลูก และเก็บเกี่ยวอยู่ภายในประเทศ
(2) สัตว์ที่มีชีวิตที่เกิดและเลี้ยงอยู่ภายในประเทศ
(3) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ที่มีชีวิตตามข้อ (2)
(4) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการล่าสัตว์ การวางกับดัก การประมง การเลี้ยงสัตว์น้ำ การจับหรือการหาได้อยู่ภายในประเทศ
(5) แร่ธาตุ และวัตถุดิบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งไม่รวมข้อ (1) ถึง (4) ที่ได้มาจากพื้นดิน พื้นน้ำ หรือพื้นทะเลของประเทศ
(6) ผลิตภัณฑ์จากการประมงทางทะเล และผลิตภัณฑ์อื่นที่หาได้จากทะเลหลวงโดยเรือที่จดทะเบียนและปักธงของประเทศ
(7) ผลิตภัณฑ์ที่ได้มา หรือ ผลิตจากโรงานและอยู่บนเรือ จากผลิตภัณฑ์ที่กล่าวไว้ในข้อ (6) เรือนั้นจะต้องจดทะเบียนและปักธงของประเทศ
(8) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพื้นน้ำ หรือ พื้นทะเลนอกเขตน่านน้ำของประเทศผู้ส่งออกในกรณีมีสิทธิใช้ประโยชน์ตามสนธิสัญญาสากล
(9) เศษเหลือจากการผลิต หรือ สิ่งของที่ใช้แล้ว ซึ่งเก็บได้ภายในประเทศและเหมาะสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบ
(10) สินค้าที่ได้ผลิตในประเทศนั้น จากผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวไว้ในข้อ (1) ถึง (9)

Q: สินค้าที่ได้มา หรือผลิตขึ้นโดยมิได้มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด คือ สินค้าประเภทใด ?


A: สินค้าที่ได้มา หรือ ผลิตขึ้นโดยมิได้มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด หมายถึง สินค้าที่ได้มา หรือ ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่ง สินค้าดังกล่าวจะได้แหล่งกำเนิดก็ต่อเมื่อได้ผ่านกระบวนการผลิตให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงอย่างมากของสินค้า หมายถึง สินค้าที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตจนกลายเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่มีพิกัด รูปแบบ คุรค่า จุดพิเศษพื้นฐาน หรือ เป้าหมายการใช้ที่แตกต่างจากวัสดุนำเข้าที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น โดยทั่วไปจะถือว่าสินค้าได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ถ้าหากได้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มในอัตราส่วนคงที่ภายในประเทศ กลุ่มประเทศ หรือขอบเขต (เรียกว่ากฎสัดส่วนองต้นทุนการผลิตหรือมูลค่าเพิ่มของการผลิตภายในประเทศ หรือ Regional Value Content : RVC) หรือ ได้มีการเปลี่ยนแปลงในระดับ 4 หลัก หรือระดับประเภทพิกัด (Change of Tariff Heading : CTH)

Q: กฎสัดส่วนของต้นทุนการผลิตหรือมูลค่าเพิ่มของการผลิตภายในประเทศ (Regional Value Content : RVC) มีวิธีการคำนวณอย่างไร ?

A: โดยทั่วไปวิธีคำนวณอัตราส่วนมูลค่าที่สร้างขึ้นในกลุ่ม (RVC) มี 2 วิธี คือ การคำนวณทางตรงและการคำนวณทางอ้อม แต่จะคำนวณด้วยวิธีใดก็ตาม มูลค่าของ RVC จะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราคงที่ (เช่น ร้อยละ 30, 35, 40, 45 หรือ 50 ของราคาขนขึ้นเรือ (FOB) โดยขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละกรอบ) จึงจะสามารถจัดเข้าเป็นสินค้าที่ได้แหล่งกำเนิดสินค้า

Q: การเปลี่ยนแปลงในระดับ 4 หลัก หรือระดับประเภทพิกัด (Change of Tariff Heading : CTH) คืออะไร ?

A: เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงพิกัด ใช้เฉพาะวัตถุดิบที่ไม่มีแหล่งกำเนิดเท่านั้น การบรรลุตามเงื่อนไขของกฎการเปลี่ยนแปลงพิกัด คือ วัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่ไม่มีแหล่งกำเนิดที่ใช้ในกรณีการผลิตสินค้าใหม่นั้นจะต้องไม่มีพิกัดเหมือนกับพิกัดของสินค้าสำเร็จรูป (ระดับ 4 หลัก) ตามระบบเอกภาพของสารบัญภาษี จุดประสงค์ในการกำหนดเงื่อนไขให้มีการเปลี่ยนแปลงพิกัด เพื่อรับประกันการเปลี่ยนรูปของวัตถุดิบที่ไม่มีแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นภายในประเทศหรือกลุ่มประเทศของผู้ผลิต จึงจะถือว่ากลุ่มหรือประเทศของผู้ผลิตได้มีการประกอบส่วนในระดับคงที่ในการผลิตสินค้า

ที่มา :
หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจการค้า, ฉบับวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2560
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์. (2560).

03/10/2017



กลับหน้าหลัก