บริษัท อมตะ ซิตี้ ลาว จำกัด เป็นบริษัทการลงทุนของไทยขนาดใหญ่ที่ได้รับสัมปทานพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เมืองนาหม้อ แขวงอุดมไซ สปป. ลาว มีระยะเวลาสัมปทานที่ 50 ปี (สามารถต่ออายุได้) ตั้งอยู่บนพื้นที่มากกว่า 5,000 เฮกเตอร์ ด้วยจำนวนเงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการพัฒนาข้างต้นแบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่คือ เขตที่ 1 พื้นที่ 3,150 เฮกเตอร์ และเขต 2 พื้นที่ 1,900 เฮกเตอร์ โดยที่ตั้งภูมิศาสตร์ (1) ห่างจากด่านชายแดนประเทศไทยที่ด่านห้วยทราย 242 กม. และท่าเรือแหลมฉบัง 1,169 กม. (2) ห่างจากชายแดนเมียนมาที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ 308 กม. และ ท่าเรือน้ำลึกเจ้าพิวก์ (Kyawk Pyu) 1,498 กม. (3) ห่างจากชายแดนเวียดนามที่ด่านเดียนเบียน 220 กม. และเขตพัฒนาของอมตะที่เมืองฮาลอง 889 กม. และ (4) ห่างจากชายแดนจีนที่จุดผ่านแดนบ่อเต็น-ยูนนาน เพียง 42 กม. ถือได้ว่า ที่ตั้งดังกล่าวตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนใน
ภาคพื้นทวีปที่สามารถเชื่อมต่อแหล่งอุตสาหกรรมและการพัฒนาไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี
กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และ การท่องเที่ยว ของ สปป. ลาว อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพจัดงานการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 27 และงาน ASEAN Tourism Forum (AFT) ประจำปี 2567 ในโอกาสที่ สปป. ลาวกำลังจะรับตำแหน่งเป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนในปี 2567
ข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ในช่วงไตรมาสที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2566 ระบุว่าการค้าระหว่างประเทศของ สปป. ลาว มีมูลค่า 3,133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการส่งออก 1,596 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 1,537 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าเกินดุล 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขบวนรถไฟโดยสารระหว่างประเทศ ลาว-จีน เปิดให้บริการเส้นทางใหม่ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา โดยสถานีต้นทาง-ปลายทางคือ สถานีคุนหมิงใต้ของจีน และสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ของ สปป. ลาว โดยใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 10 ชั่วโมง 30 นาที และในวันที่ 11 เมษายน 2566 ได้เปิดจำหน่ายบัตรโดยสารอย่างเป็นทางการ พร้อมกันทั้งที่ลาวและจีน โดยรถไฟระหว่างประเทศนี้จะให้บริการวันละ 1 ขบวน ให้บริการ 8 สถานีหลัก ประกอบด้วย (1) สถานีคุนหมิงใต้ (2) สถานีผูเอ่อร์ (3) สถานีสิบสองปันนา (4) สถานีโม่ฮาน (5) สถานีบ่อเต็น (6) สถานีหลวงพระบาง (7) สถานีวังเวียง และ (8) สถานีนครหลวงเวียงจันทน์
แอปพลิเคชัน FINLINK เป็นระบบปฏิบัติการ
เพื่อการจัดเก็บรายรับและการเบิกจ่ายแบบดิจิทัล
ของรัฐบาลลาว เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์
การเปลี่ยนแปลง สปป. ลาวสู่การบริหารจัดการภาครัฐ
ที่ทันสมัย ผ่านการปฏิรูป ปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ และบริหารด้วยระบบที่ทันสมัยตาม
แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สปป. ลาว ปี 2564-2568
นอกจากการส่งออกสินค้าด้านเกษตรและ อุตสาหกรรมแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งออก
เป็นรายได้หลักอีกแหล่งหนึ่งของ สปป. ลาว ซึ่งมีความโดดเด่นมากในภูมิภาค การผลิตไฟฟ้าของ สปป. ลาว มาจากพลังน้ำ ถ่านหิน ชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยรัฐบาล สปป. ลาวยังคงส่งเสริมการสำรวจและจัดหาแหล่งผลิตพลังงานสะอาดเพิ่มเติม โดยเฉพาะพลังงานลมเพื่อให้เกิดความหลากหลายด้านพลังงาน
การเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งออกเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของรัฐบาล สปป.ลาว ในการสร้างรายได้และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงสัตว์จากการเลี้ยงสัตว์ตามธรรมชาติสู่การเลี้ยงแบบฟาร์ม และพัฒนาสู่การแปรรูปผลผลิตแบบอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยเฉพาะการเลี้ยงหมู ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ปลา เป็ด ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความต้องการอาหารสัตว์ในปริมาณที่สูงขึ้น
เมื่อวันที่ 5-30 ธ.ค. 2565 สปป. ลาว จัดการประชุม
สมัยสามัญครั้งที่ 4 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ณ ห้องประชุมใหญ่สภาแห่งชาติ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการคลังและการเงินของ สปป. ลาว ประจำปี 2565 และคาดการณ์ปี 2566 ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและประชาชนทั่วไปรับทราบ สอท. จึงรวบรวมข้อมูลที่สำคัญด้านเศรษฐกิจและสรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้
เมื่อวันที่ 5-30 ธ.ค. 2565 สปป. ลาว จัดการประชุม
สมัยสามัญครั้งที่ 4 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ณ ห้องประชุมใหญ่สภาแห่งชาติ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการคลังและการเงินของ สปป. ลาว ประจำปี 2565 และคาดการณ์ปี 2566 ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและประชาชนทั่วไปรับทราบ สอท. จึงรวบรวมข้อมูลที่สำคัญด้านเศรษฐกิจและสรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้
เมื่อวันที่ 5-30 ธ.ค. 2565 สปป. ลาว จัดการประชุม สมัยสามัญครั้งที่ 4 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ณ ห้องประชุมใหญ่สภาแห่งชาติ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการคลังและการเงินของ สปป. ลาว ประจำปี 2565 และคาดการณ์ปี 2566 ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและประชาชนทั่วไปรับทราบ สอท. จึงรวบรวมข้อมูลที่สำคัญด้านเศรษฐกิจและสรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้