การค้าชายแดนมุกดาหารขยายตัว มูลค่าสูงถึง 135 พันล้านบาท

ผู้ว่าฯ มุกดาหารมองไกล ตั้งเป้าพัฒนาจังหวัดให้เชื่อมโยงการค้าลาว เวียดนาม จีน และเมียนมา ส่งผลให้ยอดเศรษฐกิจการค้ามีมูลค่าขยายตัวถึง 135 พันล้านบาท


เขตเศรษฐกิจพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้านของลาว ถือเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูความสนใจในทางเดินเศรษฐกิจของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) ‘มุกดาหาร’ เป็นจังหวัดชายแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และตั้งอยู่บนจุดกึ่งกลางตามแนวเส้นทางเชื่อมโยงตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวระเบียงตะวันออก–ตะวันตก (East–West Economic Corridor: EWEC)

โดยมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 มุกดาหาร–สะหวันนะเขต เป็นจุดเชื่อมต่อ ทำให้เป็นจุดเชื่อมโยงการค้าและวัฒนธรรมกับประเทศในอนุภูมิภาค ที่มีอุปสงค์ทางการค้าสูงหลายประเทศ เช่น ลาว เวียดนาม และจีน

เส้นทาง EWEC เริ่มจากมะละแหม่งของเมียนมาผ่านเข้าประเทศไทยที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผ่านจังหวัดขอนแก่นมายังมุกดาหาร ข้ามสะพานแห่งที่ 2 ไปยังแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามเส้นทางหมายเลข 9 ที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษลาว เวียดนาม เข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1 ของเวียดนามตอนกลาง ออกสู่ท่าเรือดานัง และสามารถขึ้นไปยังเวียดนามตอนเหนือ เข้าสู่จีนตอนใต้สู่เขตเศรษฐกิจพิเศษฉงจั่ว มณฑลกวางสี เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มีนครหนานหนิงเป็นเมืองหลัก ประชากรกว่า 100 ล้านคน ซึ่งจะเป็นแหล่งรองรับสินค้าขนาดใหญ่ของมุกดาหารระยะเส้นทาง EWEC จากจังหวัดมุกดาหาร ถึงนครดานัง และท่าเรือน้ำลึกดานัง ประมาณ 527 กิโลเมตร

การพัฒนาล่าสุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร

นายสรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า มุกดาหารจะกลายเป็นกำลังของไทย ซึ่งใช้เป็นเส้นทางภูมิศาสตร์โดยมีจุดเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่เพียงแค่ สปป.ลาว แต่ยังรวมถึงทางนครดานังอยู่ตอนใต้ของเวียดนาม ซึ่งห่างจากเส้นทาง EWEC เพียง 157 กิโลเมตรเท่านั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารยังชี้ให้เห็นอีกว่า มุกดาหารยังเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทาง EWEC ซึ่งสามารถเชื่อมไปยังเมืองเมาะลำไย ในเมียนมา

เส้นทางการค้าชายแดนในจังหวัดมุกดาหารขยายตัวขึ้นทุกปีมีมูลค่าถึง 135 พันล้านบาทในปีที่ผ่านมา นับว่าสูงที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้กำหนดให้มุกดาหารเป็นศูนย์รวมการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) มุ่งเน้นขยายพัฒนาการบริการ ไฟฟ้า สาธารณูปโภค การระบายน้ำ โลจิสติกส์ ซึ่งด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างคมนาคมสนามบินแห่งแรกในจังหวัดมุกดาหารจะอยู่บนถนนทางเชื่อมเส้นทาง EWEC มีกำหนดเสร็จภายใน 3 ปี นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างขอนแก่น ยโสธร และมุกดาหาร  “หากประเทศไทยไม่เร่งการพัฒนาระบบเชื่อมต่อ ต้นทุนการขนส่งของประเทศจะสูงจนไม่สามารถแข่งขันได้ และส่งผลกับการค้าชายแดนและค้าข้ามแดน” ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารกล่าว

ที่มา:
http://www.bangkokbanksme.com/article/12571

03/29/2017



กลับหน้าหลัก