โครงการก่อสร้างทางด่วนนครหลวงเวียงจันทน์ หมายเลข 1 มีอายุสัมปทาน 50 ปี

โครงการก่อสร้างทางด่วนนครหลวงเวียงจันทน์ หมายเลข 1 (เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง – ดงหมากคาย) จะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง
และมีกำหนดแล้วเสร็จ 30 เดือน (ปี 2564) รวมมูลค่าการก่อสร้างกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1,716 พันล้านกีบ มีระยะเวลา
สัมปทาน 50 ปี และสามารถต่ออายุสัมปทานได้ 20 ปี 

นายพึดสะพา พูมมะสัก ประธานบริษัท เอเชียลงทุน พัฒนา และก่อสร้างจำกัดผู้เดียว ผู้ลงทุนและรับเหมาก่อสร้างโครงการฯ กล่าวว่า 
โครงการพัฒนาทางด่วนจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือการลงทุนของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในรูปแบบ
การก่อสร้างและส่งมอบ (BOT) ทั้งนี้ หากโครงการแล้วเสร็จจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรของถนนไกสอน พมวิหาน และ
ถนนกำแพงเมือง ซึ่งเป็นถนนสายหลักของนครหลวงเวียงจันทน์ได้มากกว่าร้อยละ 40 และยังสามารถสร้างงานให้คนลาวได้เป็นจำนวนมาก 

ส่วนด่านเก็บเงินมีจำนวน 2 จุด คือจุดที่ 1 บริเวณทางเข้า – ออก เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง และจุดที่ 2 อยู่บริเวณบ้านร่องสุพาบก่อนถึง
ถนน 450 ปี และสถานีรถไฟ โดยมีทางขึ้นและลงจำนวน 8 จุด คือ (1) เขตเศรษฐกิจบึงธาตุหลวง (จุดเริ่มต้น) (2) บริเวณตลาดหัวขัว (3) บริเวณ
เมืองดอนจำปา (บ้านโพนพะเนาออกสู่ถนนไกสอน พมวิหาน) (4) บริเวณตลาดอานจี (บ้านหนองเหนียง) (5) บริเวณถนน 450 ปี (บ้านโชกใหญ่
และนาแค) (6) บริเวณบ้านไซ (สถานีรถไฟ) (7) ถนน 13 ใต้ (บ้านไซสะหว่าง) และ (8) บริเวณบ้านดงหมากคาย (จุดสิ้นสุด) 

สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างฯ มีทั้งหมด 689 แปลง (เมืองไซเสดถา 510 แปลง เมืองไซทานี 179 แปลง) ส่วนบ้านมี 159 
หลัง (เมืองไซเสดถา 115 หลัง เมืองไซทานี 44 หลัง) ซึ่งมีทั้งในเขตสงวนของรัฐ รวมมูลค่าการชดเชยทั้งหมด 452 พันล้านกีบ 
(52.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายหลังการลงนามสัญญาครั้งนี้ บริษัทผู้รับเหมาจะร่วมกับคณะรับผิดชอบจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยเพื่อให้ประชาชนเข้า
มาติดต่อรับค่าชดเชยโดยจะชำระเข้าบัญชีโดยตรงของเจ้าของที่ดินและคาดว่าจะใช้เวลาในการไกล่เกลี่ยและเวนคืน 120 วัน 

โครงการก่อสร้างฯ เป็นโครงการที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรแออัด โดยที่ผ่านมานครหลวงเวียงจันทน์
ได้มีความพยายามที่จะหานักลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีฐานะทางการเงินที่ดีเพื่อเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าว ต่อมาได้มีบริษัท เอเชียลงทุน 
พัฒนา และก่อสร้างจำกัดผู้เดียว ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนภายในประเทศร้อยละ 100 และบริษัท China North Industries Corporation ของจีน 
ได้เสนอเข้ามาสำรวจ ออกแบบ และศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าว ด้วยรูปแบบการลงทุนรูปแบบ PPP และ
ได้ลงนามบทบันทึกความเข้าใจร่วมกันเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2559 

หลังจากการสำรวจเป็นเวลา 2 ปี พบว่า นครหลวงเวียงจันทน์ยังขาดประสบการณ์ในการลงทุนในรูปแบบ PPP และงบประมาณที่จะเข้ามา
ร่วมถือหุ้นในโครงการก่อสร้างฯ จึงได้รายงานผลการสำรวจแก่รัฐบาล สปป. ลาว และเสนอขอเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจากรูปแบบ PPP 
มาเป็นการลงทุนในรูปแบบ BOT ซึ่งบริษัทผู้รับเหมาจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด จากนั้นได้มีประกาศจากสำนักงานนายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว 
ฉบับเลขที่ 205/หสนย. ลงวันที่ 7 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้นครหลวงเวียงจันทน์ลงนามสัญญาสัมปทานโครงการก่อสร้างฯ ในรูปแบบ BOT ร่วมกับ
บริษัท เอเชียลงทุน พัฒนา และก่อสร้างจำกัดและบริษัท China North Industries Corporation ทั้งนี้ พิธีลงนามดังกล่าวได้จัดขึ้นเมื่อต้นเดือน 
เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา ระหว่างนายพูขง บันนะวง หัวหน้าแผนกแผนการและการลงทุน นครหลวงเวียงจันทน์ กับนายพึดสะพา พูมมะสัก ประธาน
บริษัท เอเชียลงทุน พัฒนา และก่อสร้างจำกัดผู้เดียว และผู้แทนของบริษัท China North Industries Corporation โดยมีนายสินละวง คุดไพทูน 
เจ้าครองนครหลวงเวียงจันทน์ รองรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม 

ที่มา: เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจการค้า, วันที่ 19 เม.ย. 2562 
เข้าถึงได้จาก https://laoedaily.com.la/50026/

04/24/2019



กลับหน้าหลัก