การประเมินผลงานการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าประจำปี 2562

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2562 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ได้จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี เลขที่ 12/นย 
ลงวันที่ 16 ต.ค. 2562 ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการนำเข้าและส่งออก การนำเข้าชั่วคราว การผ่านแดน และการเคลื่อนย้ายสินค้าใน 
สปป. ลาว และคำสั่งนายกรัฐมนตรี เลขที่ 02/นย ลงวันที่ 1 ก.พ. 2561 ว่าด้วยการปรับปรุงระเบียบการและกลไกการประสานงานในการดำเนินธุรกิจ
ใน สปป. ลาว ณ โรงแรมดอนจันพาเลซ นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมี ดร. สอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแผนการ 
 และการลงทุน สปป. ลาวในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า นายบุนมี มะนีวง รองรัฐมนตรีกระทรวง
อุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาวในฐานะรองหัวหน้าคณะกรรมการดังกล่าว เข้าร่วม 

ที่ประชุมรับทราบอุปสรรคในการดำเนินการตาม 7 มาตรการ ของแผนการอำนวยความสะดวกทางการค้า ปี 2560 – 2565 จากหน่วยงานภาครัฐ
ส่วนกลางและท้องถิ่น ดังนี้ 
1. กลไกการประสานงานและระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติสินค้าผ่านแดนยังมีความแตกต่าง ทำให้เกิดความล่าช้า การทำงาน
ของเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่ตั้งเป้าไว้ 
2. ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจบางรายไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและเข้าร่วมรับฟังการเผยแพร่ระเบียบต่าง ๆ เท่าที่ควร 
3. บางแขวงชายแดนมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ ทำให้การควบคุมการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 
4. การออกใบอนุญาตของด่านท้องถิ่นหรือด่านประเพณีที่ติดกับด่านสากลของประเทศเพื่อนบ้านยังมีอุปสรรค เนื่องจากด่านสากลของประเทศ
เพื่อนบ้านไม่รับเอกสารจากด่านท้องถิ่นของ สปป. ลาว 
5. ด่านไม่สามารถออกเอกสารบางประเภท ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทน ซึ่งใช้เวลาและเป็นการเพิ่ม
ขั้นตอนในการขออนุญาตดังกล่าว 
6. สินค้าบางรายการควรได้รับการยกเว้นการขอใบรับรองคุณภาพสินค้า เนื่องจากเพิ่มขั้นตอนโดยไม่จำเป็น และทำให้เกิดความล่าช้า 
7. การขออนุญาตและการรับรองเอกสารอื่น ๆ ที่ใช้เคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 
8. การควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าและรถขนส่งสินค้ายังมีช่องว่าง เนื่องจากรถขนส่งสินค้าต่างประเทศสามารถเข้ามาใน สปป. ลาว ในขณะ
ที่รถจาก สปป. ลาวถูกจำกัดการอนุญาตให้เข้าประเทศอื่น นอกจากนี้ การนำเข้าและส่งออกสินค้าไปจีนยังมีข้อจำกัดเนื่องจากต้องขอโควตา
จากบริษัทตัวแทนของจีนซึ่งมีเพียงบริษัทเดียว ทำให้ฝ่ายลาวเสียเปรียบในการเจรจาราคาและการขนส่งสินค้า 
9. ยังมีการตั้งด่านตรวจและเก็บค่าธรรมเนียมจากหน่วยงานอื่น เช่น ตำรวจป้องกันความสงบระดับแขวง 
10. การประมูลไม้มีหลายขั้นตอน การเจรจาราคาระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่เข้าร่วมการประมูลใช้เวลานาน 

ที่มา: เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาว วันที่ 20 ธ.ค. 2562 
https://www.laotradeportal.gov.la/index.php?r=site/display&id=1854

12/27/2019



กลับหน้าหลัก