ผลการดำเนินงานด้านการเงินปี 2563 และแผนการดำเนินงานปี 2564
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2564 นายสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว เป็นประธานการประชุม
สรุปผลการดำเนินงานด้านการเงินปี 2563 และแผนการดำเนินงานปี 2564 เพื่อรับฟัง และหารือประเด็นสำคัญ ได้แก่
ผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณแห่งรัฐปี 2563 ทิศทางแผนงบประมาณ แห่งรัฐปี 2564 แผนการพัฒนาด้านการเงิน 5 ปี
(2564 - 2568) แผนงานที่สำคัญในปี 2564 และแผนการยกระดับงานการเงินให้ทันสมัย เช่น งบประมาณ การคลัง ภาษี ศุลกากร
และการบริหารทรัพย์สินของรัฐ โดยมีนายบุนโจม อุบนปะเสิด และ ดร. บุนเหลือ สินไซวอระวง รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน
สปป. ลาว และผู้แทนหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ในปี 2563 สปป. ลาวมีรายได้ทั้งสิ้น 2,444 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 99.53 ของแผนปรับแก้ ประกอบด้วยรายได้
ภายในประเทศ 2,205 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 99.86 ของแผนปรับแก้ ลดลง ร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีที่ผ่านมา สำหรับแผนงบประมาณแห่งรัฐปี 2564 คาดว่าจะมีรายได้งบประมาณ 2,985 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 15.13
ของ GDP ประกอบด้วยรายได้ภายในประเทศประมาณ 2,687 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.62 ของ GDP ด้านรายจ่ายงบ
ประมาณคาดว่าจะมี การใช้จ่ายทั้งหมด 3,412 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 17.3 ของ GDP โดยคาดว่าจะขาดดุลงบ
ประมาณ 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 2.17 ของ GDP ซึ่งนับว่าเป็นการขาดดุลในระดับสูงพอสมควรและมี
ความจำเป็นต้องระดมทุนภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ
แผนงบประมาณแห่งรัฐปี 2563 นับเป็นปีสุดท้ายของการปฏิบัติตามมติการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10 ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
มติการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2 ขององค์คณะพรรคกระทรวงการเงิน สปป. ลาว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8
(2556 - 2563) และแผนงบประมาณแห่งรัฐ 5 ปี (2559 - 2563) พบว่าการดำเนินงานตามแผนงบประมาณแห่งรัฐปี 2563
ยังมีความท้าทายหลายประการ เนื่องจากสภาพความ บอบบางของเศรษฐกิจและความท้าทายด้านงบประมาณ
การขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง หนี้สาธารณะสูง ทำให้ต้องชำระหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรในการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ สภาพแวดล้อม ในภูมิภาคและนอกภูมิภาคโดยรวมยังไม่เอื้ออำนวย ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวช้า
การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามแผนงบประมาณมากพอสมควร โดยเฉพาะการนำเข้า
และส่งออกสินค้าอุปโภคและบริโภค การเก็บค่าธรรมเนียมประเภทต่าง ๆ ของด่านศุลกากรและการจัดเก็บรายได้จากการ
บินผ่านน่านฟ้า คลื่นความถี่ และการปันผลกำไรของรัฐวิสาหกิจที่ลดลง และรายได้จากค่าเช่ากิจการที่ลดลง
ที่มา: เว็บไซต์กระทรวงการเงิน สปป. ลาว วันที่ 4 ก.พ. 2564
https://www.mof.gov.la/index.php/2021/02/04/saloupviekngarn-karnngern-2020-lae-paenkarnpajumpee-2021/
02/11/2021