ผลการดำเนินงานด้านภาษีปี 2563 และแผนการดำเนินงานปี 2564
เมื่อวันที่ 9 – 10 ก.พ. 2564 นายพูทะนูเพ็ด ไซสมบัด หัวหน้ากรมส่วยสาอากร กระทรวงการเงิน สปป. ลาว เป็นประธานการประชุม
สรุปผลการดำเนินงานด้านภาษีปี 2563 และแผนการดำเนินงานปี 2564 โดยมีนายบุนโจม อุบนปะเสิด รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน
สปป. ลาว หัวหน้ากรม หัวหน้าแผนกส่วยสาอากรประจำแขวง นครหลวง และเมือง และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
หน่วยงานด้านภาษีได้ปฏิบัติตามดำรัสของนายกรัฐมนตรีและคำแนะนำของรัฐมนตรีกระทรวงการเงินเกี่ยวกับการดำเนินงาน
ด้านงบประมาณปี 2563 โดยกำหนดให้เป็นงานเร่งด่วน สำหรับการจัดเก็บภาษีปี 2563 ดำเนินไปท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจ
ของประเทศที่มีความท้าทายเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว การปิดด่านพรมแดน และการดำเนิน
นโยบายลดและยกเว้นภาษีต่าง ๆ ให้กับภาคธุรกิจในช่วง การระบาดของโรคโควิด 19 โดย สปป. ลาวสามารถจัดเก็บภาษี
ปี 2563 ได้เพียง 1,065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 98.36 ของแผนปรับแก้ มี 15 แขวงที่สามารถจัดเก็บภาษี
ได้เกินแผนที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติตามมติของสภาแห่งชาติ ดำรัสนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และแผนงบประมาณ
แห่งรัฐปี 2564 กรมส่วยสาอากรต้องกำหนดมาตรการ เพื่อผลักดันและรับประกันให้การจัดเก็บภาษีทั่วประเทศบรรลุตามที่คาดการณ์ไว้ด้วย
การเพิ่มความรับผิดชอบต่อหน้าที่งาน ด้านภาษีแต่ละขั้นให้มากกว่าเดิม
สิ่งที่หน่วยงานด้านภาษีต้องเร่งแก้ไขในปี 2564 มีดังนี้
1. การสร้างและปรับปรุงระเบียบภายใต้กฎหมาย เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดเก็บภาษีให้ถูกต้องและครบถ้วน (เช่น บทแนะนำว่าด้วย
การคุ้มครองส่วยสาอากร บทแนะนำว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม บทแนะนำว่าด้วยภาษีสรรพสามิต รัฐบัญญัติว่าด้วยภาษีที่ดิน ดำรัสว่าด้วยเลข
ประจำตัวผู้เสียภาษี ดำรัสว่าด้วยใบเรียกเก็บเงิน
2. การผลักดันให้ผู้เสียภาษียื่นและชำระภาษีผ่านระบบ Tax-RIS และระบบธนาคารให้มากขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายให้บริษัทจำนวน
ต่ำกว่าร้อยละ 80 จำนวนบริษัททั้งหมดที่ต้องเสียภาษียื่นเสียภาษี
3. การดำเนินการต่อผู้ละเมิดกฎหมายอย่างจริงจัง
4. การส่งเสริมการขยายศูนย์บริการ (Counter Service) ไปยังแขวงต่าง ๆ ที่มีศักยภาพเพื่อให้ ผู้เสียภาษีสามารถเข้าถึงได้
5. การก่อตั้งหน่วยงานตอบข้อซักถามให้แก่ผู้เสียภาษี (Call Center) และการแจ้งเตือนผ่าน SMS ในโทรศัพท์มือถือ
6. การทบทวนและประเมินฐานรายได้ของภาคธุรกิจโดยบริษัทที่มีรายได้ประจำปีต่ำกว่า 50 ล้านกีบ (5,403 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อปี
จะได้รับยกเว้นภาษี ระหว่าง 50 – 400 ล้านกีบ (5,403 - 43,225 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อปี ถือเป็น MSMEs และ 400 ล้านกีบ
(43,225 ดอลลาร์สหรัฐ) ขึ้นไป ซึ่งต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องป้อนข้อมูลรายได้ในระบบ Tax-RIS
เพื่อให้สามารถติดตามการขยายตัวของธุรกิจดังกล่าวได้ในอนาคต
นายบุนโจมฯ ได้เน้นให้หน่วยงานด้านภาษีแก้ไขข้อบกพร่องและข้อคงค้างให้ดีขึ้น โดยเฉพาะ ความรับรู้และความเข้าใจ
ของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับระเบียบและกฎหมาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การปฏิบัติงานล่าช้าและไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเสียภาษีบุคคล นิติบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นที่ยังไม่มี
การดำเนินงานอย่างจริงจังและมีความล่าช้าจากส่วนกลางนอกจากนี้ ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์การจัดเก็บภาษีที่ดิน
และค่าธรรมเนียมการใช้ถนนผ่านระบบธนาคาร สู่ชุมชนทำให้ประชาชนขาดความรู้และความเข้าใจ
การออกใบรับรองการเสียภาษียังมีข้อบกพร่อง ซึ่งกลายเป็นปัญหาของหน่วยงานด้านภาษี เช่น การออกใบรับรองล่าช้า
การเก็บค่าธรรมเนียมไม่เป็นไปแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ การแบ่งขั้นคุ้มครอง ที่ซับซ้อน รวมทั้งยังดำเนินการตามระเบียบ
เกี่ยวกับการขยายฐานรายได้ การคุมหนี้ที่เกิดจากการค้างจ่ายภาษี และการบริหารจัดการคลังสินค้า น้ำมันเชื้อเพลิง
และแก๊สไม่ดีเท่าที่ควร การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภาษีกับศุลกากรยังมีไม่มากนัก อย่างไรก็ดี คาดว่า ทางการลาว
จะสามารถจัดเก็บภาษีปี 2564 ได้ 1,308.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 6.63 ของ GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.74
หรือประมาณ 226 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับแผนปรับแก้ของปีที่ผ่านมา
ที่มา: นสพ. เวียงจันทน์ใหม่ วันที่ 11 ก.พ. 2564
https://v2.vientianemai.net/archives/15693
02/19/2021