การอนุมัติกิจการผลิตไฟฟ้าและเหมืองแร่ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาของ สปป. ลาว
เมื่อวันที่ 18 – 19 มี.ค. 2564 กรมตรวจตรา กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาว จัดการประชุมเผยแพร่ผลการตรวจตรา
กิจการผลิตไฟฟ้าและเหมืองแร่ทั่วประเทศประจำปี 2563 และแผน 5 ปี (2559 – 2563) โดยมีนายทองพัด อินทะวง
รองรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานฯ เป็นประธาน โดยมีนายสีไน เมียงลาวัน รองประธานตรวจตราศูนย์กลางพรรค รองประธาน
ตรวจตรารัฐบาล และองค์การต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ที่ประชุมรับทราบว่า ปัจจุบันโครงการเขื่อนไฟฟ้าที่ได้รับการอนุมัติและมีสัญญากับรัฐบาลทั้งหมด 516 โครงการ โดยมีโครงการ
ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเดินหน้าการผลิตแล้ว 78 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง 9,972 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 52,211
กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ได้แก่ โครงการถ่านหิน 1 แห่ง โครงการพลังงานไฟฟ้าชีวมวล 4 แห่ง โครงการพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 6 แห่ง
และโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 67 แห่ง แบ่งออกเป็นโครงการ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว 2 แห่ง กำลังการผลิต
ติดตั้ง 2.5 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 13 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ภายใต้บริษัท ผลิตไฟฟ้าลาว มหาชน 19 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้ง 918
เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 3,966.9 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ภายใต้ภาคเอกชน 46 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้ง 9,016.98 เมกะวัตต์
ผลิตไฟฟ้าได้ 47,895.9 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ภายใต้ส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้ง 34.45 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้
192.34 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี
ในช่วงปี 2559 – 2563 สปป. ลาวพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าแล้วเสร็จ 45 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้ง 4,251 เมกะวัตต์ สามารถผลิต
ไฟฟ้าได้ 21,116 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี และแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าที่พัฒนาโดยภาคเอกชนมี 116 โครงการ กำลังการผลิต
ติดตั้ง 25,415.5 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 121,157.9 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทั้งนี้ ยังมีโครงการที่กำลังศึกษา โดยยังไม่สามารถ
กำหนดกำลังการผลิตติดตั้งอีกจำนวนหนึ่ง ปัจจุบัน สปป. ลาวมีสถานีไฟฟ้าทั้งหมด 74 แห่ง ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐวิสาหกิจ
ไฟฟ้าลาว 64 แห่ง และภายใต้ภาคเอกชน 10 แห่ง และมีระบบ สายส่งรวมระยะทาง 67,615 กิโลเมตร
ด้านเหมืองแร่ รัฐบาล สปป. ลาวได้อนุมัติการลงทุนด้านธรณีศาสตร์และแร่ธาตุ 205 บริษัท ใน 305 กิจการ ได้แก่
(1) ภาคธรณีศาสตร์และแร่ธาตุ 91 บริษัท 113 กิจการ แบ่งออกเป็นโครงการที่อยู่ในระหว่างการขุดค้น 18 บริษัท 26 กิจการ
อยู่ระหว่างการสำรวจ 69 บริษัท 73 กิจการ อยู่ระหว่างขุดค้น สำรวจ และแปรรูป 4 บริษัท 14 กิจการ (2) ภาคการคุ้มครองบ่อแร่
80 บริษัท 141 กิจการ ประกอบด้วยโครงการที่อยู่ระหว่างสัมปทานขุดค้นทั่วไป 67 บริษัท 110 กิจการ อยู่ระหว่างการขุดค้น
48 บริษัท 82 กิจการ และอยู่ระหว่างจัดทำสรุปการศึกษาด้านเศรษฐกิจและเทคนิค 43 บริษัท 32 กิจการ มูลค่ารวม
7,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมมูลค่าถ่านหินและหินปูนที่ป้อนเข้าโรงไฟฟ้าหงสาแล้ว
โดยในปี 2563 สามารถจำหน่ายแร่ธาตุและผลิตภัณฑ์แร่ธาตุเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 มูลค่ารวมทั้งหมด 8,090 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา: นสพ. เวียงจันทน์ใหม่ 22 มี.ค. 2564
04/01/2021