หน่วยงานด้านเกษตรกรรมกำหนด 5 แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2564 นายเพ็ด พมพิพัก รัฐมนตรีกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป. ลาว รายงาน ต่อที่ประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 1
ของสภาแห่งชาติ ชุดที่ 9 เกี่ยวกับการกำหนด 5 แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ดังนี้
1. ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ที่ได้มีการลงนามกับประเทศคู่ค้าแล้ว โดยเฉพาะจีน รวมทั้ง เจรจาเพื่อส่งออก
สินค้าเกษตรที่อยู่ในบัญชีพืชและผลิตภัณฑ์พืชที่มีความสำคัญลำดับต้นอย่างเร่งด่วนเพื่อเปิดตลาดกับจีนและประเทศใกล้เคียง
2. ปรับปรุงมาตรฐานระบบการเกษตรที่ดีและสะอาด (OA GAP และมาตรฐานอื่น ๆ) ให้เทียบเท่ากับมาตรฐานของอาเซียนและสากล
3. กำหนดบัญชีรายการสินค้าเกษตรเพื่อทดแทนการนำเข้าและกำหนดนโยบายส่งเสริมในเรื่องดังกล่าวอย่างรอบด้านควบคู่
กับการขยายและปรับปรุงกำลังการผลิต
4. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตและเทคนิคเพื่อลดต้นทุนในการผลิต
5. จัดลำดับความสำคัญและกำหนดพื้นที่ลงทุนด้านการเกษตร รวมทั้งติดตามและตรวจตราการลงทุน ในภาคการเกษตร
นอกจากนี้ ภาคการเกษตรจะเน้นการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติตาม 5 แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ดังนี้
1. ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจและผู้ประกอบการในภาคการปลูกพืชและปศุสัตว์ ตามที่ได้เจรจาแล้วเสร็จ
เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการส่งออก โดยมีการติดตามและรับรองมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ (SPS) มาตรฐานสินค้าพืช
และสัตว์ รวมทั้งการทำสัญญาระหว่างผู้ผลิตกับผู้ประกอบการ รวมทั้งการลงทุนแบบร่วมธุรกิจ พัฒนาห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มตั้งแต่
การผลิต การแปรรูป และการพัฒนาตลาดเพื่อผลิตสินค้าภายในประเทศ และส่งออก
2. ปรับปรุงและพัฒนาคู่มือวิชาการเพื่อเชื่อมโยงงานด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ขององค์การการค้าโลก ออกคำแนะนำและ
แจ้งการเกี่ยวกับสุขอนามัยพืชและสัตว์ขององค์การการค้าโลก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางการ
ทำความตกลงทวิภาคี
3. เร่งปรับปรุงโครงสร้าง กลไกคุ้มครอง การประสานงาน เทคนิค ศูนย์ศึกษาค้นคว้าและบริการเทคนิค พัฒนาขีดความสามารถ
ของบุคลากรที่ด่านนำเข้าและส่งออกพืช ผลิตภัณฑ์พืชและสัตว์ และการนำเข้าปัจจัย การผลิตต่าง ๆ ในการบริโภคภายใน
ประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าและส่งเสริมการส่งออกให้ถูกต้องตามเงื่อนไข ของประเทศปลายทาง
4. ส่งเสริมการเจรจาเทคนิคการเปิดตลาดนำเข้า - ส่งออกเพื่อให้สามารถดำเนินการตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่
สปป. ลาวเป็นภาคีควบคู่กับการติดตาม ตรวจตรา รับรองมาตรฐานต่าง ๆในการส่งออกพืชและสัตว์ เพื่อตอบสนองนโยบาย
การผลิตเป็นสินค้าตามเส้นทางรถไฟลาว - จีน
5. อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดการลงทุนและส่งเสริมให้ครอบครัวเกษตรกรและแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
ดำเนินธุรกิจ SMEs และเข้าร่วมโครงการลงทุนด้านการเกษตรทั้งภายในและต่างประเทศด้วยรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
เช่น การร่วมทุน PPP
ที่มา: นสพ. ประชาชน วันที่ 10 ส.ค. 2564
08/19/2021