สปป. ลาว ยังต้องการความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินเพื่อออกจากสถานะ LDC
นายสะเหลิมไซ กมมะสิด รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว และคณะ เข้าร่วมการประชุม High-level Asia-Pacific
Regional Review Meeting on the Istanbul Programme of Action (IPoA) ระหว่างวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย. 2564 ผ่านระบบ
การประชุมทางไกล เพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการอิสตันบูล แลกเปลี่ยนบทเรียนเกี่ยวกับผลสำเร็จ อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
สำหรับการสร้างแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ รวมถึงหารือเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุม UN Conference
on the LDCs ครั้งที่ 5 ที่จะจัดขึ้นในเดือน ม.ค. 2565 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
นายสะเหลิมไซฯ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการตาม IPoA ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่ง สปป. ลาวได้เชื่อมโยง แผนดังกล่าวกับแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (2554 - 2558) และฉบับที่ 8 (2559 - 2563) ด้วย สปป. ลาวผ่านการประเมินตามเกณฑ์
การหลุดพ้นจากประเทศ LDC ถึง 2 รอบติดต่อกันในปี 2561 และ 2564 ถึงแม้เกณฑ์การประเมินยังเป็นข้อมูลก่อนการระบาด
ของโรคโควิด 19 ซึ่งยังไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ในปัจจุบัน นอกจากนี้ นายสะเหลิมไซฯ เน้นย้ำถึงความสำคัญ
ของการสนับสนุนจากประเทศเพื่อนมิตรและองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความช่วยเหลือด้านการเงิน เทคนิค
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเสริมสร้าง ขีดความสามารถของประเทศ LDCs ในการฟื้นฟูจากการระบาด
ของโรคโควิด 19 และเพื่อให้หลุดพ้นจาก LDC ตามแผนที่วางไว้
ปัจจุบันทั่วโลกมีประเทศ LDC 7 ประเทศที่มีกำหนดหลุดพ้นจาก LDC ภายในปี 2569 โดยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
5 แห่ง ได้แก่ ภูฏานในปี 2566 หมู่เกาะโซโลมอนในปี 2567 และ สปป. ลาว บังกลาเทศ และเนปาลในปี 2569 อย่างไรก็ตาม
แม้ว่า สปป. ลาวจะสามารถออกจากสถานะ LDC ได้ในปี 2569 แต่การบรรเทาความยากจนยังคงมีความสำคัญลำดับต้น
พรรคและรัฐบาล สปป. ลาว
ที่มา: นสพ. Vientiane Times วันที่ 2 ก.ย. 2564
09/10/2021
กลับหน้าหลัก