พิธีเปิดทดลองใช้ระบบบริหารท่าบกท่านาแล้ง

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2564 นายเวียงสะหวัด สีพันดอน รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว เข้าร่วมพิธีเปิดทดลอง
การใช้ระบบบริหารท่าบกท่านาแล้ง โดยมีนายจันทอน สิดทิไซ ประธานบริษัท Vientiane Logistics Park จำกัด นายอาลุนแก้ว
กิดติคุน ประธานกรรมการยุทธศาสตร์และการวางแผนบริษัท พีทีแอล โฮลดิ้ง จำกัด นายสีลา เวียงแก้ว รองประธานกรรมการ
บริหารการค้าและระเบียบการบริษัท พีทีแอล โฮลดิ้ง จำกัด และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นายสาคอน พิลางาม ผู้อำนวยการท่าบกท่านาแล้ง กล่าวว่า ท่าบกท่านาแล้งเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์
ของรัฐบาล สปป. ลาวเพื่อเปลี่ยนให้เป็นประเทศที่สามารถเชื่อมโยงกับภูมิภาคและสากล โดยในดำรัสว่าด้วยท่าบกได้กำหนด
วัตถุประสงค์ให้ท่าบกเป็นการบริการด้านคมนาคม มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งท่าบกท่านาแล้งเป็นด่านชายแดนสากลในการขนส่งสินค้า ข้ามแดนที่มีบริการครบวงจร สามารถให้บริการได้ตามวัตถุประสงค์
ข้างต้น มีการออกแบบและจัดสรรพื้นที่ให้บริการ เป็นสัดส่วนเหมือนกับระบบท่าเรือสากล มีระบบอำนวยความสะดวกทางด้าน
ข้อมูลข่าวสาร เชื่อมโยงกับสายเรือ ผู้ประกอบการขนส่ง ตู้สินค้า และหน่วยงานอำนวยความสะดวกด้านสินค้าอื่น ๆ ที่ด่านสากล
รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งที่มีความรวดเร็วและเป็นไปตามขั้นตอนสากล โดยเฉพาะการแจ้งข้อมูลขนส่งสินค้า
ล่วงหน้าก่อน 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงในการข้ามแดน ทำให้ประหยัดเวลาขนส่งสินค้าต่างประเทศ
และลดความแออัดในการส่งมอบสินค้าที่ท่าบกท่านาแล้ง โดยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและ ให้คงเหลือเฉพาะมาตรการด้าน
การควบคุมความปลอดภัยชายแดน

ท่าบกท่านาแล้งเป็นจุดเชื่อมการขนส่งหลายรูปแบบที่สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ 1,000 - 3,000 ตู้/วัน ซึ่งจะใช้ระบบบริหาร
จัดการสถานีขนส่งที่ห้องควบคุมกลาง (Control Room Center) ที่สามารถบริหารจัดการขั้นตอนการรับเข้า ตรวจสอบ และจัดเรียง
ตู้สินค้า รวมทั้งการเปลี่ยนถ่ายสินค้าขึ้น - ลงยานพาหนะและเข้า - ออกพื้นที่คลังสินค้าอย่างเป็นระบบ โดยท่าบกท่านาแล้ง
จะใช้ระบบการบริหารจัดการ Terminal Operation System (TOS) ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดลองให้สอดคล้องกับระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว
เพื่อทดสอบศักยภาพในการเก็บข้อมูล การเชื่อมโยงกับระบบอื่น การใช้ในการออกคำสั่ง การเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้าจำนวนมาก
พร้อมทั้งความสามารถในการสรุปสถิติและตัวชี้วัด รวมทั้งการรายงานการเงินให้หน่วยงานที่อื่นเกี่ยวข้องภายในบริษัท
โดยผลสำเร็จจากการใช้ระบบ TOS จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการขนส่งทางบกและทางรถไฟที่จะมีโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคมที่ทันสมัย มีความสามารถในการให้บริการในปริมาณสูง และเชื่อมโยงกับเส้นทางขนส่งทางบกสายเอเชียเลขที่ 12
(AH 12) รวมทั้งทางรถไฟไทย – ลาว – จีน ซึ่งสามารถให้บริการการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งจะนำไปสู่ การลดต้นทุนโลจิสติกส์
ของ สปป. ลาวให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ ผลสำเร็จของการบริการที่เป็นระบบของท่าบก ท่านาแล้งจะสามารถสร้างรายรับ
ให้ สปป. ลาว อีกทั้งด้วยที่ตั้งที่เป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางราง ซึ่งจะช่วย ให้การขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างไทยกับจีน
ผ่าน สปป. ลาวเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และจะเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการใช้ท่าบกท่านาแล้ง

ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 7 ก.ย. 2564 และ นสพ. เวียงจันทน์ใหม่ 9 ก.ย. 2564

09/17/2021



กลับหน้าหลัก