กระทรวงการเงิน สปป. ลาวและหัวเหว่ยร่วมมือสำรวจออกแบบระบบคุ้มครองการเงินภาครัฐแบบดิจิทัล

เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2564 ดร. บุนเหลือ สินไซวอระวง รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป. ลาว และนาย Hu Weihua ประธานบริษัท
หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ลาว) จำกัด ได้ลงนาม MOU เพื่อศึกษาและออกแบบโครงการระบบคุ้มครองการเงินภาครัฐ และการสร้าง
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคุ้มครองงบประมาณแห่งรัฐแบบดิจิทัล โดยมีนายบุนโจม อุบนปะเสิด รัฐมนตรีกระทรวงการเงิน
สปป. ลาว นายบุนสะเหลิมไซ เคนนาวง รองรัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สปป. ลาว นายไซซะนะ สิดทิพอน
หัวหน้าห้องการคณะกรรมการร่วมมือลาว – จีน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

โครงการระบบคุ้มครองการเงินภาครัฐแบบดิจิทัลเป็นการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564 - 2568)
และแผนงบประมาณแห่งรัฐ 5 ปี (2564 - 2568) และเป็นนโยบายและมาตรการการปฏิรูปภาคการเงินของรัฐบาล สปป. ลาว โดยตลอด
ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กระทรวงการเงิน สปป. ลาวได้ให้ความสำคัญ ต่อการยกระดับงานการเงินให้ทันสมัย ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์
ปี 2573 และยุทธศาสตร์การพัฒนาการเงินแห่งรัฐ ปี 2568 โดยในยุทธศาสตร์ที่ 7 ได้กล่าวถึงการพัฒนาการเงินภาครัฐให้ทันสมัย
เทียบเท่ากับประเทศอื่นในและ นอกภูมิภาค พร้อมกันนี้ ยังได้กำหนดการพัฒนาดังกล่าวอยู่ในแนวทางและเป้าหมายแผนพัฒนา
ภาคการเงิน 5 ปี (2564 - 2568)

ท่ามกลางความท้าทายด้านการเงินและงบประมาณ การพัฒนาระบบคุ้มครองข้อมูลข่าวสารการเงินและงบประมาณ และการบริหารรัฐ
ด้วยกฎหมายให้มีความศักดิ์สิทธิ์ ทันสมัย และก้าวไปสู่ระบบดิจิทัลจึงมีความสำคัญ กระทรวงการเงิน สปป. ลาวมุ่งเม้นที่จะปฏิรูป
และพัฒนาด้านการเงินให้เป็นรูปธรรม ปรับปรุงนโยบาย มาตรการ และกลไกเพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองงบประมาณแห่งรัฐ
ให้มีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอน และอุปสรรคต่าง ๆ รวมทั้งการลดช่องว่างการรั่วไหลของภาคการเงิน

บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ลาว) จำกัด จะเป็นผู้ดำเนินการสำรวจออกแบบระบบคุ้มครองการเงินภาครัฐเแบบดิจิทัลต่าง ๆ ได้แก่
ระบบศุลกากรอัจฉริยะ (Smart Customs) ระบบคุ้มครองภาษีแบบรวมศูนย์ (Integrated Tax Information Systems) ศูนย์วิเคราะห์
และวิจัยการเงินภาครัฐ (Public Financial Data Analytic Center for Big Data Platform) ระบบคุ้มครองสำนักงานแบบดิจิทัล
(Digital Office Automation Platform) ระบบคุ้มครองบุคลากร (Personnel Management System) ระบบคุ้มครองรัฐวิสาหกิจ
(State Owned Enterprise Management Systems) ระบบเชื่อมต่อข้อมูลบัญชีของวิสาหกิจ (Interfacing with Enterprises Accounting Systems)
ระบบการขำระเงินแบบดิจิทัล (Digital Payment Gateway) และโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายและและความปลอดภัยแบบคราวด์ (MOF Cloud)
โดยมีกำหนดสำรวจ ออกแบบ และกำหนด กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่ลงนาม MOU
จากนั้นกระทรวงการเงิน สปป. ลาวจะนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณารับรอง และบรรจุเป็นแผนงานของรัฐบาล สปป. ลาว เพื่อให้
สามารถเริ่มต้นปฏิบัติงานได้จริงในปี 2565 - 2566 ในขณะเดียวกัน กระทรวงการเงิน สปป. ลาวจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างระบบควบคุมการเงินภาครัฐให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับ ทุกหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: เว็บไซต์กระทรวงการเงิน สปป. ลาว วันที่ 17 ก.ย. 2564 https://www.mof.gov.la/index.php/2021/09/17/mof-huawei-mou/

09/23/2021



กลับหน้าหลัก