ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สปป. ลาวปี 2564 เป็นร้อยละ 2.2
ธนาคารโลกได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกฉบับเดือน ต.ค. 2564
โดยปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สปป. ลาวปี 2564 จากที่คาดการณ์ในเดือน เม.ย. 2564 ไว้ที่
ร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 2.2 และคาดว่าในปี 2565 เศรษฐกิจ สปป. ลาวจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5
รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า กิจกรรมด้านเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะขยายตัวช้าลงในช่วงไตรมาตรที่ 2 ของปี 2564
สำหรับการคาดการณ์การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคก็ปรับลดลงเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 และเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคจะขยายตัว
เพียงร้อยละ 2.5 ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน เม.ย. 2564 อัตราการจ้างงานและการมีส่วนร่วม
ของแรงงานลดลง ส่งผลให้ประชาการในภูมิภาค 24 ล้านคนไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ภายในปี 2564
นาง Manuela Ferro รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนา
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกแปซิฟิกกำลังเผชิญกับความท้าทายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในปี 2563 ภูมิภาคนี้สามารถจำกัด
การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ในโลกยังคงเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาด ทั้งนี้ กรณีติดเชื้อที่
เพิ่มสูงขึ้นในปี 2564 ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง โดยวิสาหกิจขนาดย่อมได้รับผลกระทบมากที่สุด
ส่วนวิสาหกิจขนาดใหญ่เผชิญกับปัญหายอดขายและรายได้ที่ลดลง ความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการระบาด
ของโรคโควิด 19 ยังส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เพิ่มขึ้น
นาย Aaditya Mattoo หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า
การเร่งฉีดวัคซีนและการตรวจหาเชื้อเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดจะช่วยให้สามารถฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ได้เร็วที่สุดภายใน 6 เดือนแรกของปี 2565 และสามารถทำให้อัตราการขยายตัวด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เป็น 2 เท่า
รายงานดังกล่าวประเมินว่าประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ จะสามารถ ฉีดวัคซีนให้ได้
ร้อยละ 60 ของประชากรในประเทศภายใน 6 เดือนแรกของปี 2565 ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนอาจจะ ไม่สามารถลดการแพร่ระบาด
ของโรคดังกล่าวได้ แต่จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตลง พร้อมทั้งขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ให้กลับมาดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอแนะ 4 ด้านเพื่อแก้ไขการระบาดของโรคโควิด 19 ได้แก่
(1) เร่งแก้ไขปัญหาการฉีดวัคซีนและข้อจำกัดด้านความสามารถในการแจกจ่ายวัคซีนให้ทั่วถึง (2) ปรับปรุงการตรวจหาเชื้อ
และการติดตามเพื่อควบคุมการติดเชื้อ (3) เพิ่มการผลิตวัคซีนในภูมิภาคเพื่อลดการนำเข้าจากภูมิภาคอื่น และ (4) สร้างความเข้มแข็ง
ด้านระบบสาธารณสุขเพื่อให้สามารถรับมือกับการระบาด นอกจากนี้ จะต้องมียุทธศาสตร์รอบด้านเพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ
การใช้เทคโนโลยีจะเป็นวิธีทางหนึ่ง ในการแก้ไขวิกฤตดังกล่าวซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษา และให้วิสาหกิจสามารถ
ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการเปิดโอกาสทางนโยบายการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการแข่งขัน ซึ่งจะสร้าง
ความเข้มแข็งให้วิสาหกิจต่าง ๆ การปรับปรุงด้านการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการสอนและหลักสูตรการเรียน การสอน
ที่มา: นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 6 ต.ค. 2564
https://laoedaily.com.la/2021/10/06/105272/
10/20/2021