ธนาคารแห่ง สปป. ลาวกำหนดนโยบายสินเชื่อส่งเสริมการผลิตและลดผลกระทบจากโควิด 19 และ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 นายสอนไซ สิดพะไซ ผู้ว่าธนาคารแห่ง สปป. ลาว รายงานผลการดำเนินแผนการเงิน ในช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2564 และแผนงานสำคัญในปลายปี 2564 ต่อที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 2 ของสมาชิก สภาแห่งชาติชุดที่ 9 ว่า
การดำเนินแผนการเงินในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 มีความท้าทายหลายด้านทั้งภายใน และภายนอก โดยเฉพาะการแข็งค่า
ของเงินตราต่างประเทศในสกุลเงินหลักและราคาทองคำ น้ำมันดิบ และอาหาร ในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการเงินตรา
ต่างประเทศเพื่อใช้ชำระคืนให้แก่ต่างประเทศอยู่ในระดับสูง ในขณะที่แหล่งรายได้ของ สปป. ลาวลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบ
จากโควิด 19 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 สปป. ลาวได้ดุลการค้ากับต่างประเทศ แต่ยังขาดดุลบริการและดุลรายได้
ปฐมภูมิกับต่างประเทศ ส่งผลให้มีกระแสเงินไหลออกสุทธิ (กระแสเงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าไหลเข้าประเทศ) ประมาณ
303 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน
ธนาคาร แห่ง สปป. ลาวได้ดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเงินเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ สภาแห่งชาติได้ให้การรับรอง ดังนี้
1. ด้านนโยบายการเงิน ดำเนินโยบายการเงินเพื่อลดผลกระทบจากโควิด 19 และส่งเสริมการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ ได้แก่
(1) รักษาอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานของธนาคารแห่ง สปป. ลาวไว้เท่ากับระดับที่ได้ปรับลดเมื่อเดือน มี.ค. 2563 รักษาอัตราการดำรง
สินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirements) ไว้เท่ากับระดับที่มีการปรับ เมื่อเดือน ก.ค. 2564 เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ระบบธนาคาร
(2) อนุมัติสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการผลิตและ ลดผลกระทบจากโควิด 19 ให้ลูกค้า 503 ราย ในเดือน ก.ย. 2564 ได้เบิกถอนเงินแล้ว 1.66
ล้านล้านกีบ โดยเป็นสินเชื่อในภาคการเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 58 ของการปล่อยกู้ทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็น
ภาคหัตถกรรม อุตสาหกรรมแปรรูป การท่องเที่ยวและการบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและธุรกิจอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการผลิตและส่งออก
โดยเฉพาะในนครหลวงเวียงจันทน์ แขวงเวียงจันทน์และแขวงจำปาสัก นอกจากนี้ ได้สนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนส่งเสริม SMEs
ผ่านกระทรวงการเงิน สปป. ลาว จำนวน 1 แสนล้านกีบ (3) ร่วมเสริมสภาพคล่องด้านงบประมาณ ได้แก่ ขายพันธบัตรคลังเงินให้
ธนาคารพาณิชย์และกองทุนต่าง ๆ มูลค่า 9.68 แสนล้านกีบ พันธบัตรรัฐบาลผ่านตลาดหลักทรัพย์ 1.03 ล้านล้านกีบ และ 33.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2. แก้ไขหนี้โครงการลงทุนของรัฐ (วงเงิน 10 ล้านล้านกีบ) ด้วยรูปแบบการอวยหนี้สามแจได้ประมาณ 3.3 ล้านล้านกีบ คิดเป็นร้อยละ 82.5
ของแผนอวยหนี้สามแจ (ธนาคารแห่ง สปป. ลาวรับซื้อพันธบัตรอวยหนี้ สามแจจำนวนหนึ่ง เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธนาคารพาณิชย์
และช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อให้ภาคเอกชนได้มากขึ้น)
3. ด้านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การคุ้มครองเงินตราต่างประเทศ การรักษาความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์และส่งเสริมการเข้าถึง
แหล่งเงินทุน และการพัฒนาระบบการชำระเงิน จะต้องเร่งแก้ไขส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนกีบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐระหว่างธนาคาร
พาณิชย์กับร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตรา แม้จะมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. 2564 เป็นต้นมา แต่ยังอยู่ในระดับสูงเฉลี่ย 9 เดือนแรก
ของปีอยู่ในระดับร้อยละ 12.31 นอกจากนี้ สินเชื่อ มีแนวโน้มขยายตัวช้าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินเชื่อ SMEs
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระดับ ร้อยละ 18 ของยอดสินเชื่อทั้งหมด โดยสินเชื่อภาคการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 8 ของยอดสินเชื่อทั้งหมด
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. รายได้ปฐมภูมิ ประกอบด้วยผลตอบแทนจากการจ้างงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการ) และรายได้จากการลงทุน
2. เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 ธนาคารแห่ง สปป. ลาวปรับลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน ได้แก่ (1) ระยะไม่เกิน 7 วัน จากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 3
(2) มากกว่า 7 วันจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 4 และ (3) ระยะ 14 วันแต่ไม่เกิน 1 ปี จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 9
3. เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2564 ธนาคารแห่ง สปป. ลาวปรับลดอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirements) ได้แก่
สกุลเงินกีบจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 3 และสกุลเงินตราต่างประเทศจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 5
4. อวยหนี้ 3 แจ คือ ทางออกที่รัฐบาล สปป. ลาวใช้ชำระหนี้ให้ลูกหนี้ด้วยการขอให้ธนาคารตัดหนี้กับลูกหนี้ แล้วรับพันธบัตรรัฐบาล
ชำระหนี้แทน ธนาคารจึงกลายเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล ส่วนลูกหนี้ก็จะถูกตัดหนี้ออกไปทั้งหมดไม่มีภาระผูกพันกับธนาคาร
หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 10,372 กีบ
ที่มา: นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 3 พ.ย. 2564
11/12/2021
กลับหน้าหลัก