การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยฉบับแก้ไข

ทั่วไป

กฎหมายประกันภัยใน สปป. ลาว ได้มีการปรับปรุงเมื่อปี 2011 โดยกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยปี 2011 (“กฎหมายประกันภัย”) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกันชีวิตภายใต้กฎหมายประกันภัยการประกันชีวิต เป็นวิธีการบริหารความเสี่ยงรวมถึงการค้ำประกันความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ กระทรวงการเงิน จะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดรูปแบบของการประกันชีวิตในปัจจุบัน กฎหมายประกันภัยได้ กำหนดรูปแบบการประกันชีวิตเบื้องต้นไว้ 5 รูปแบบ ได้แก่ การประกันตลอดชีวิต การประกันสะสมทุน การ ประกันชีวิตแบบสะสม การประกันในแบบจ่ายเป็นงวด และ การประกันภัยคุ้มชีวิต อย่างไรก็ดีกฎหมายประกันภัย ไม่ได้มีการกำหนดรายละเอียดของการประกันชีวิตแต่ละรูปแบบไว้อย่างชัดเจน

บทความนี้จะมุ่งเน้นในแง่การจัดตั้งบริษัทประกันชีวิต และหลักเกณฑ์ทั่วไปของสัญญาประกันชีวิต

การจัดตั้งบริษัทประกันชีวิต

การจัดตั้งบริษัทประกันชีวิตใน สปป. ลาวใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการจัดตั้งบริษัท ประกันภัย โดยนัก ลงทุน สปป. ลาว หรือนักลงทุนต่างชาติสามารถยื่นขอจัดตั้งบริษัทประกันชีวิตได้ อย่างไรก็ดี ผู้ยื่นขอจัดตั้งบริษัท ประกันชีวิตต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายประกันภัยกำหนด ดังต่อไปนี้

  1. . มีประวัติการดำเนินธุรกิจที่ดี
  2. มีทุนจดทะเบียนและเงินค้ำประกันตามที่กฎหมายประกันภัยกำหนด โดยกฎหมายประกันภัยกำหนดให้ บริษัทประกันภัยต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 16,000,000,000 กีบ
  3. มีผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญทางด้านวิชาชีพ และมีวิชาเฉพาะเกี่ยวกับการประกันภัย
  4. มีบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านวิชาชีพ มีใบยืนยันหรือประกาศนียบัตรทางด้าน การประกันภัย
  5. ไม่เคยถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก ในฐานการกระทำผิดต่อเศรษฐกิจโดยเจตนา
  6. มีสถานประกอบการ สำนักงานที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจประกันภัย

สัญญาประกันชีวิต

สัญญาประกันชีวิตเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญาประกันภัย ดังนั้น หลักเกณฑ์ของสัญญาประกันภัยจึงต้อง นำมาปรับใช้กับสัญญาประกันชีวิตด้วยเช่นกัน ในเบื้องต้น สัญญาประกันชีวิตต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็น ภาษาลาว โดยสัญญาประกันชีวิตจะมีข้อผูกมัดกับบริษัทประกันชีวิตและผู้ซื้อประกันชีวิตต่อเมื่อมีการออกใบ ประกันภัยหรือบันทึกการคุ้มครองเท่านั้น โดยใบประกันภัยจะเป็นเอกสารที่บริษัทประกันชีวิตออกให้แก่ผู้ซื้อ ประกันชีวิต โดยกำหนดเงื่อนไขทั่วไปของสัญญาประกันชีวิต ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะออกใบประกันภัยให้ต่อ เมื่อผู้ซื้อประกันชีวิตได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแล้ว

เนื่องจากสัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาที่บริษัทประกันชีวิตตกลงจะจ่ายเงินประกันชีวิตให้แก่ผู้รับผลประ โยชน์ในกรณีที่ผู้ซื้อประกันชีวิตเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตจึงมิใช่ผู้ซื้อประกันชีวิตเอง หาก แต่เป็นบุคคลที่ผู้ซื้อประกันชีวิตกำหนดให้บริษัทประกันชีวิตจ่ายเงินประกันชีวิตให้เมื่อตนเสียชีวิต กฎหมายประ กันภัยจึงกำหนดให้บุคคลสามารถซื้อประกันชีวิตให้แก่บุคคลอื่นได้นอกจากการซื้อประกันชีวิตให้แก่ตนเอง ดังนี้

  1. สามี ภริยา บิดา มารดา พี่น้องของตน และ
  2. บุคคลอื่นที่ผู้ซื้อประกันชีวิตมีส่วนได้เสียต่อบุคคลดังกล่าว

ในปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตการทำประกันชีวิตให้แก่บุคคลที่ผู้ซื้อประ กันภัยมีส่วนได้เสีย ว่าผู้ซื้อประกันชีวิตต้องมีส่วนได้เสียต่อบุคคลที่ตนซื้อประกันชีวิตให้ขนาดไหน และเพียงไร ผู้ซื้อประกันชีวิตจึงจะมีสิทธิซื้อประกันชีวิตให้แก่บุคคลดังกล่าว รวมถึงจำนวนวงเงินประกันชีวิตที่ผู้ซื้อประกัน ชีวิตสามารถซื้อประกันชีวิตให้แก่บุคคลที่ตนมีส่วนได้เสียได้

บทสรุป

เมื่อพิจารณาภาพรวมของธุรกิจประกันชีวิตใน สปป. ลาว จะเห็นได้ว่าธุรกิจประกันชีวิตใน สปป. ลาวอยู่ ในช่วงเริ่มต้นและยังคงต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในแง่การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และการออก กฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกันชีวิตให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้หาก รัฐบาลของ สปป. ลาวมีการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เช่นการลดหย่อนภาษีเงินได้แก่ผู้ซื้อประกัน ชีวิตในลักษณะเดียวกันกับที่ประเทศไทยนำการประกันชีวิตมาเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการออมของภาค ประชาชน แล้วธุรกิจประกันชีวิตใน สปป. ลาว ก็มีแนวโน้มการเจริญเติบโตอย่างก้าวหน้าในอนาคตธุรกิจการ ประกันชีวิตใน สปป. ลาว ยังอยู่ในระยะที่สามารถพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนต่อไป ซึ่งหนึ่งในความท้าทายของ การลงทุนประเภทนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้ซื้อประกันภัยและผู้สนใจให้ทราบถึงผลประโยชน์ที่ได้จากการทำ ประกันชีวิต ดังนั้น การพิจารณาถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสภาพแวดล้อมใน สปป. ลาว ที่เกี่ยวกับการ ประกันภัยจะทำให้ผู้ลงทุนสามารถกำหนดทิศทางของการลงทุนในประเภทของการประกันชีวิตได้อย่างเหมาะสม



กลับหน้าหลัก