อำนาจของผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการใหญ่

จากบทความฉบับที่แล้ว ที่กล่าวถึงข้อกำหนดตามกฏหมายแห่ง สปป. ลาว ว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติของการ เป็นผู้อำนวยการบริษัท มาแล้วนั้น มาถึงบทความฉบับนี้ถือเป็นการต่อยอดจากบทความที่แล้ว โดยจะมุ่งในประเด็น อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ รวมถึงการเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท

เมื่อบุคคลใดได้เข้ามาเป็นผู้อำนวยการแล้ว สิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการบริษัทของบุคคลนั้น จะ เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับของบริษัท และมติของผู้ถือหุ้นบริษัท ซึ่งหากผู้อำนวยการได้กระทำการ อันเกินขอบเขตวัตถุประสงค์ของบริษัท หรือ เกินกว่าขอบอำนาจที่ได้รับตามข้อบังคับบริษัท หรือ หน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายแล้วนั้น นอกจากการกระทำนั้นจะไม่มีผลผูกพันบริษัทแล้ว ผู้อำนวยการยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่ เกิดขึ้นแก่บริษัท และ/หรือบุคคลภายนอก เว้นเสียแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้ลงมติได้รับการรับรองการกระทำ ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกรณีการกระทำอันเกินกว่าขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่อาจให้ การรับรองได้

เป็นที่ทราบกันดีว่าการบริหารกิจการของบริษัท สำหรับกรณีที่บริษัทมีผู้อำนวยการหลายคนนั้น กฎหมาย แห่ง สปป. ลาว กำหนดให้ บริษัทจะต้องกำหนดผู้อำนวยการคนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งมีอำนาจ ลงลายมือ ชื่อทำสัญญากับบุคคลภายนอกในนามของบริษัทแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งหลักการนี้จะมีความแตกต่างกับแนวปฏิบัติใน กฎหมายไทย ที่อาจกำหนดให้กรรมการมากกว่าหนึ่งคนร่วมลงนามในทำสัญญาผูกพันบริษัทได้ อย่างไรก็ดีในการ ทำสัญญานี้ ผู้อำนวยการใหญ่อาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นซึ่งหมายรวมถึงผู้อำนวยการท่านอื่นๆ ของบริษัทลงนาม แทนเพื่อผูกพันบริษัทได้ โดยการมอบอำนาจนั้น จะต้องจัดทำเป็นหนังสือสัญญาเท่านั้น

นอกจากนี้ ในด้านของสิทธิของผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สปป. ลาว ได้จำกัดสิทธิของผู้อำนวยการ บริษัท ในการดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะถือเป็นการแข่งขันกับบริษัท อันเป็นหลักการที่เหมือนกับแนวทางปฏิบัติของ ไทย โดยกำหนดให้การดำเนินธุรกิจที่ถือเป็นการแข่งขันนั้น หมายรวมถึง การดำเนินธุรกิจประเภทเดียว หรือ คล้ายคลึงกับธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ของตนหรือบุคคลภายนอก การเข้าเป็นผู้ถือหุ้นของวิสาหกิจ หุ้นส่วนสามัญ หรือ หุ้นส่วนทั่วไปของวิสาหกิจหุ้นส่วนจำกัด ที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียว หรือคล้ายคลึงกับธุรกิจ ของบริษัท การเข้าเป็นคู่ค้ากับบริษัท ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ของตนหรือบุคคลภายนอก อีกทั้งห้ามผู้อำนวยการ รวมถึงคนในครอบครัว และญาติพี่น้องใกล้ชิดของผู้อำนวยการ ทำการกู้ยืมเงินจากบริษัท อย่างไรก็ดีข้อห้ามดังที่ กล่าวมานี้ อาจได้รับยกเว้น ได้โดยความยินยอมจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท หรือ ข้อกำหนดในข้อบังคับบริษัท



กลับหน้าหลัก