กฎหมายไฟฟ้าใน สปป ลาว

1. บทนำ

สปป ลาว ได้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยไฟฟ้า (ฉบับปรับปรุง) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 ซึ่งได้รับ การรับรองโดยดำรัสของประธานประเทศในวันที่ 16 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐที่มุ่ง พัฒนาประเทศให้เป็นแหล่งพลังงานของอาเซียน ตลอดจนเพื่อให้มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล สปป ลาว ในการให้บริการไฟฟ้าภายในประเทศอย่างเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนและส่งเสริมนโยบาย การรับประกันให้ประชาชนในประเทศมีไฟฟ้าใช้อย่างถาวร โดยตั้งเป้าหมายให้มีไฟฟ้าใช้ในปริมาณสูงถึงร้อยละ 90 ทั่วประเทศภายในปี 2563

เนื่องจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าเป็นของแผ่นดินที่มีรัฐเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการจึงมีการกำหนดกฎ เกณฑ์ในการใช้แหล่งพลังงานดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนและทั่วถึงรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ลงทุนทั้งประเภท บุคคล และนิติบุคคล ทั้งภายใน และต่างประเทศ ให้เข้ามาลงทุนในกิจการที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น การผลิตไฟฟ้า การส่ง การจำหน่าย การให้บริการไฟฟ้าอย่างเสมอภาค และได้รับการส่งเสริมอย่างเท่าเทียมกัน โดยที่การส่งเสริม การลงทุน โดยภาคเอกชนนั้นอยู่ภายใต้หลักการใหญ่ 4 ประการ คือ

  1. จะต้องให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
  2. ต้องมีประสิทธิผล ประหยัด และยั่งยืน
  3. ต้องมีการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมชาติ อันได้แก่ ชุมชน ป่าไม้ และแหล่งน้ำ และ
  4. ต้องมีการให้การรับประกันในด้านความปลอดภัยอีกด้วย

เห็นอย่างนี้แล้ว หากผู้ลงทุนประสงค์จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยเฉพาะการทำสัมปทานไฟฟ้า ควรจะ ต้องมีการศึกษากฎเกณฑ์ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้ถ่องแท้เสียก่อน เพื่อจะได้ประเมินความเป็นไปได้ นการ ลงทุน ความเสี่ยง ตลอดจนคาดคะเนผลกำไรขาดทุนของการลงทุนให้ดีก่อนเริ่มการลงทุน

2. เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจไฟฟ้าใน สปป ลาว

2.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สิ่งที่ผู้ลงทุนควรทราบในเบื้องต้น คือ การประกอบธุรกิจไฟฟ้าใน สปป ลาวนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจไฟฟ้าทั่วไป และธุรกิจไฟฟ้าที่ต้องขอสัมปทาน โดยในการประกอบธุรกิจไฟฟ้าแบบทั่วไปนั้น จะเป็นการประกอบธุรกิจในกลุ่มของการออกแบบ การก่อสร้าง การจำหน่าย และการให้บริการเป็นการทั่วไป ซึ่งจะ อยู่ภายใต้การควบคุมของแขนงการอุตสาหกรรมและการค้าร่วมกับแขนงการพลังงานและบ่อแร่และอยู่ภายใต้ กฎหมายหลักอีกหนึ่งฉบับ กล่าวคือ กฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจ

ส่วนธุรกิจไฟฟ้าประเภทที่จะต้องขอสัมปทาน คือ ธุรกิจในกลุ่มการผลิตและการส่งไฟฟ้าที่ดำเนินการ ร่วม กันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของแขนงการแผนการและการลงทุนร่วมกับ แขนง การพลังงานและบ่อแร่ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลักอีกหนึ่งฉบับ กล่าวคือ กฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมการ ลงทุน

2.2 รูปแบบของการลงทุน

ในเรื่องรูปแบบของการลงทุนนั้น กฎหมายว่าด้วยไฟฟ้าระบุว่านอกเหนือจากกิจการที่รัฐบาลเป็นผู้ดำเนิน การเองแล้ว การลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าต้องเป็นไปตาม 1 ใน 3 รูปแบบที่กำหนดเท่านั้น กล่าวคือ รูปแบบแรกเป็น กรณี ผู้ลงทุนเข้าไปดำเนินการก่อสร้าง ตลอดจนดำเนินงานต่างๆ แล้วสุดท้ายจึงมอบโอนให้แก่รัฐบาล (BOT) รูปแบบที่ สอง ผู้ลงทุนเพียงเข้าไปดำเนินการก่อสร้างเท่านั้น เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจึงมอบโอนให้แก่รัฐบาล (BT) และ รูปแบบ ที่สามผู้ลงทุนเข้าไปดำเนินการก่อสร้าง เป็นเจ้าของธุรกิจและดำเนินงานด้วยตนเองทั้งหมด (BOO) โดยไม่ว่าจะ เป็นการลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม ผู้ลงทุนจะต้องมีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลอยู่ใน สปป ลาว ด้วย

2.3 คุณสมบัติของผู้ลงทุน

ในการพิจารณาให้อนุญาตแก่ผู้ลงทุน รัฐจะพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้ขอ โดยใช้หลักเกณฑ์พื้นฐานใน การพิจารณา คือ ผู้ลงทุนจะต้องมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ มีฐานะทางด้านการเงินที่มั่นคง มีผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิคเกี่ยวกับไฟฟ้า และด้านอื่นๆ ในองค์กรอย่างเพียงพอ รวมทั้งจะต้องไม่เคยถูกศาลตัดสินให้เป็นผู้กระทำ ผิดโดยเจตนา โดยเฉพาะในการกระทำผิดที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจด้วย ส่วนผู้ลงทุนที่ประสงค์จะขออนุญาตสัมปทาน นอกจากต้องผ่านหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมอีก คือ จะต้องมีความสามารถทางด้านเทคนิค มีการเงินอย่างมั่นคง มีประวัติในการดำเนินธุรกิจดี และมีความน่าเชื่อถือ

3. ขั้นตอนในการขอสัมปทาน

หากผู้ลงทุนพิจารณาแล้วว่าสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการขอสัมปทานดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ อีกสิ่ง หนึ่งที่ผู้ลงทุนควรทราบ คือ ขั้นตอนการขอสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งหมด 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การทำบทบันทึกความเข้าใจ (MOU) การทำสัญญาพัฒนาโครงการ (PDA) และการทำสัญญาสัมปทานโครงการ (CA) และสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในขั้นตอนแรก บทบันทึกความเข้าใจ หรือที่เรียกกันเป็นการทั่วไปว่า MOU ถือเป็นเอกสารที่ออกโดย รัฐซึ่ง เป็นการให้อนุญาตในเบื้องต้นแก่ผู้ต้องการลงทุนพัฒนา เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าดำเนินการสำรวจ ศึกษา ความ เป็นไปได้ของโครงการ และศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ลงทุน โดย เมื่อผู้ลงทุนได้ศึกษาเรียบร้อยแล้วและเป็นที่พอใจ จึงจะเข้าทำสัญญาพัฒนาโครงการและสัญญา สัมปทานโครงการ พร้อมด้วยสัญญาที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นลำดับ ทั้งนี้ แขนงการพลังงานและบ่อแร่จะเป็นผู้กำหนด รายละเอียด ปลีก ย่อยต่างๆ

ในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนเวลาที่กำหนดใน MOU และมีความจำเป็นต้องต่ออายุ MOU และ/หรือ สัญญาพัฒนาโครงการ ผู้ลงทุนที่ประสงค์จะต่ออายุมีหน้าที่ยื่นเรื่องเสนอต่อรัฐบาล อย่างน้อย 1 เดือนก่อนวันสิ้นอายุ MOU หรือสัญญาพัฒนาโครงการแล้วแต่กรณี โดยในกรณีที่เป็นการขออนุญาตต่ออายุ MOU มีเงื่อนไขว่าผู้ลงทุนจะต้องสามารถแสดงให้รัฐบาลเห็นว่าตนได้ตั้งใจปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วน และมี ความคืบหน้าในการดำเนินงานที่เห็นได้เป็นรูปธรรม โดย MOU ดังกล่าวสามารถต่ออายุได้อีกไม่เกิน 9 เดือน เท่านั้น

ส่วนในกรณีการขออนุญาตต่ออายุสัญญาพัฒนาโครงการจะมีเงื่อนไขที่คล้ายกัน กล่าวคือ ผู้ลงทุนจะต้อง สามารถแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จ หรือมีความคืบหน้าในการดำเนินงาน ดังที่ได้ระบุไว้ตามสัญญาพัฒนาโครงการ ซึ่ง การต่ออายุสัญญาพัฒนาโครงการนี้สามารถต่อได้ไม่เกิน 6 เดือนต่อครั้ง โดยสำหรับโครงการไฟฟ้าเพื่อการส่ง ออก สามารถต่ออายุได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และโครงการไฟฟ้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศสามารถต่ออายุได้ไม่เกิน 2 ครั้ง

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนพึงระวังไว้ว่า ในกรณีผู้ลงทุนไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน MOU หรือสัญญาพัฒนาโครงการ รัฐบาลจะถือว่า MOU หรือสัญญาพัฒนาโครงการได้สิ้นสุดลง โดยที่รัฐบาลจะ ไม่ ต้องทดแทนค่าใช้จ่ายที่ผู้ลงทุนได้จ่ายไปก่อนแต่อย่างใด

ส่วนอายุของการให้สัมปทานตามสัญญาสัมปทานนั้น ให้เริ่มนับจากวันที่สัญญาสัมปทานได้รับการลงนาม และสิ้นสุดภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 30 ปี นับแต่วันเริ่มต้นดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) เป็นต้นไป

4. ข้อสังเกต

ลงทุนควรทราบเพิ่มเติมด้วยว่า นอกจากเงื่อนไขที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เมื่อผู้ลงทุนได้เข้าทำสัญญา สัมปทาน ผู้ลงทุนยังคงมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในรายละเอียดอีกด้วย เป็นต้นว่า ผู้ลงทุนจะต้องจัดให้มีการวางเงินค้ำประกันกับธนาคาร และมีหน้าที่ในการดำรงเงินหรือทรัพย์สินให้เท่า กับทุนจดทะเบียน หรือในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นผู้ลงทุนต่างชาติก็จะต้องนำเงินจดทะเบียนในสกุลเงินตราต่างประเทศ เข้ามาในสปป ลาว ตามระเบียบกฎหมาย หรือตามสัญญาสัมปทาน เป็นต้น

ดังนี้แล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐให้ความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับไฟฟ้าอยู่พอสมควร เนื่องจากไฟฟ้า เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการพัฒนาประเทศ รัฐจึงให้การสนับสนุนให้มีการลงทุนในธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับไฟฟ้านี้ก็มีเงื่อนไขอยู่มาก ทั้งที่กำหนดในสัญญา เอง และกำหนดโดยกฎหมาย ดังนั้น ก่อนที่ผู้ลงทุนจะตัดสินใจควรตรวจสอบหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ เสียก่อน เพื่อให้การลงทุนดังกล่าวเกิดประโยชน์ได้มากที่สุด



กลับหน้าหลัก