ในบทนี้จะมุ่งเน้นถึงภาพรวมของรูปแบบการลงทุนใน สปป. ลาว ให้ท่านผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงพื้นฐาน โดยคร่าวของรูปแบบการลงทุนใน สปป. ลาว เพื่อที่จะเลือกรูปแบบการลงทุนให้ตรงกับเป้าหมายในการลงทุนหรือ ธุรกิจของตนได้อย่างเหมาะสม
ในเบื้องต้น ผู้ลงทุนสามารถเริ่มต้นเลือกรูปแบบการลงทุนได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ คือ
การลงทุนในรูปแบบของสัญญานั้น เป็นรูปแบบที่ง่าย เพียงแต่คู่สัญญาทำสัญญากำหนดเงื่อนไข ของความ ผูกพันให้ชัดแจ้งเท่านั้น เมื่อทำสัญญาเสร็จสิ้นก็นำสัญญาของตนไปจดทะเบียนศาลเพื่อยืนยัน ความถูกต้อง การ ลงทุนประเภทนี้เหมาะกับความสัมพันธ์ในระยะไม่ยาวนักหรือเป็นรายโครงการไป เมื่อจบระยะเวลาที่กำหนดหรือ โครงการจบลงก็หมดความสัมพันธ์กันตามเงื่อนไขที่กำหนด ไม่จำเป็นต้องยุบหรือ เลิกนิติบุคคลเหมือนในอีก กรณีหนึ่ง
แต่ข้อพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ เนื่องจากเป็นความผูกพันในเชิงสัญญา หากเป็นการติดต่อกับหน่วยงาน ราชการ หรือในกรณีที่ความมีตัวตนใน สปป. ลาว เป็นสิ่งสำคัญ รูปแบบการลงทุนเช่นนี้อาจไม่เหมาะสมเท่าใดนัก
ในทางกลับกัน การจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาใหม่ใน สปป. ลาว แก้ข้อเสียเปรียบของการลงทุนในแบบแรก เนื่องจากมีการจัดตั้งนิติบุคคลใน สปป. ลาว ย่อมเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกรรมร่วมกับ ผู้ลง ทุนใน สปป. ลาว แต่ข้อที่ต้องพิจารณาในเบื้องต้น คือ หากธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นมีลักษณะชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมด ธุรกรรมดังกล่าว ผู้ลงทุนก็จำเป็นต้องยุบหรือเลิกนิติบุคคลที่ก่อตั้งเพื่อการนั้น ซึ่งกรณีการยุบหรือเลิก นิติบุคคลก็จะ มีขั้นตอนอยู่พอสมควร
หากผู้ลงทุนตัดสินใจใช้สัญญาเป็นข้อผูกพันระหว่างกันและกันก็มีความจำเป็นต้องร่างสัญญาให้รัดกุมโดย พิจารณาถึงแง่มุมทั้งในด้านกฎหมายและข้อได้เปรียบเสียเปรียบให้รอบคอบ การปรึกษาที่ปรึกษากฎหมายน่าจะ เป็นทางเลือกที่ดีเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ดีที่สุด
แต่หากผู้ลงทุนตกลงใจตั้งนิติบุคคลขึ้นใน สปป. ลาว สำหรับธุรกิจของตน ผู้ลงทุนยังต้องคำนึงถึงว่าธุรกิจ ของตนนั้นเหมาะที่จะดำเนินการเป็นวิสาหกิจในรูปแบบใด เนื่องจากการเลือกรูปแบบวิสาหกิจ ถือเป็น ตัวแปร สำคัญหนึ่งในการดำเนินกิจการ และสัมพันธ์กับการวางแผนขยับขยายธุรกิจในอนาคตด้วย รูปแบบวิสาหกิจที่ สำคัญๆ ที่ผู้ลงทุนควรศึกษา มีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทจำกัดผู้ เดียว และบริษัทมหาชน ซึ่งประเภทของวิสาหกิจแต่ละประเภทก็มีข้อได้เปรียบแตกต่างกันไป อาจเหมาะสมหรือ ไม่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจที่จะลงทุน โดยจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในบทต่อๆไป