ในบทความตอนก่อนหน้านี้ ได้มีการกล่าวถึงการเพิ่มทุนของบริษัทซึ่งในการเพิ่มทุนของบริษัทจำกัดนั้น สามารถเลือกได้เป็น 2 วิธี คือ การเพิ่มทุนด้วยการเพิ่มมูลค่าหุ้น ซึ่งจะทำให้จำนวนหุ้นที่มีในบริษัทเท่าเดิม แต่มูลค่า ของหุ้นแต่ละหุ้นเพิ่มขึ้น และการเพิ่มทุนด้วยการเพิ่มจำนวนหุ้น โดยหุ้นของบริษัทมีมูลค่าเท่าเดิม แต่มีการออกหุ้น เพิ่มเพื่อเสนอขายและใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนให้แก่บริษัท โดยในส่วนของการเพิ่มทุนด้วยการเพิ่มจำนวน หุ้นนี้ นอกจากจะต้องได้มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามที่ได้กล่าวไว้ในบทความก่อนแล้ว กฎหมายได้มีการกำหนดถึง ลำดับชั้นของผู้ที่จะได้รับการเสนอขายหุ้นในการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวให้บริษัทปฏิบัติตาม
ตามกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจ ได้มีการกำหนดให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวตามลำดับบุริมสิทธิ คือ อันดับแรกจะต้องให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมก่อน ด้วยการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามอัตราส่วนหุ้นที่ผู้ถือ หุ้นเดิมแต่ละรายมี เมื่อมีหุ้นเหลือจากการเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมตามอัตราส่วนแล้ว ให้เสนอขายหุ้นที่เหลือดัง กล่าวในกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมที่ประสงค์จะซื้อหุ้นเพิ่มจากอัตราส่วนที่ตนถือเป็นลำดับถัดไป เมื่อยังคงมีหุ้นเหลืออีกจึง สามารถเสนอขายให้แก่ผู้อำนวยการบริษัท และในกรณีที่มีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้จึงจะสามารถเสนอขาย แก่บุคคลภายนอกตามลำดับต่อไปได้ อนึ่ง พึงระวังไว้ว่า กฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจมิได้มีข้อกำหนดอนุญาตให้บริษัท จำกัดสามารถเสนอขายหุ้นอย่างเปิดเผยต่อมวลชนทั่วไปได้ ดังนั้นการเสนอขายหุ้นดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกด้วย การโฆษณาขายหุ้นเป็นการทั่วไปจึงไม่สามารถทำได้
ทั้งนี้ วิธีการและขั้นตอนของการโอนหุ้นในการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนนั้น ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ บริษัทจำกัดนั้นๆ เอง อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้จองหุ้นไม่ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนตามกำหนดเวลา เมื่อผู้อำนวยการได้ แจ้งให้ผู้ถือหุ้นชำระครั้งที่สองแล้วยังเพิกเฉยไม่ชำระค่าหุ้นและดอกเบี้ย บริษัทสามารถนำหุ้นจำนวนดังกล่าวมา เสนอขายอีกครั้งตามลำดับบุริมสิทธิข้างต้นได้
เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ผู้ลงทุนควรศึกษาถึงจุดเด่นจุดด้อยของ "การเพิ่มทุน" ให้ดีเสียก่อนวางแผนการเพิ่มทุน เพื่อให้สามารถเลือกวิธีการเพิ่มทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจและลักษณะการบริหารกิจการของผู้ลงทุนได้อย่างลงตัว ใน บทหน้าเรามาพูดกันถึงหัวข้อต่อไปที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันได้แก่ "การลดทุน"