เกาะติดข่าว

ภาครัฐและภาคธุรกิจร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของ สปป. ลาว

ทิศทางเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ในปีนี้ เผชิญกับความยุ่งยากหลายด้าน อาทิ เกษตรกรรม ไฟฟ้า เหมืองแร่ ซึ่งขยายตัวลดลง สถาบันค้นคว้า-
เศรษฐกิจแห่งชาติจึงได้เสนอแนะให้รัฐบาล สปป. ลาว กำหนดมาตรการเพื่อ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาโครงสร้างทาง
เศรษฐกิจเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

นายบุนสอน บุบผาวัน ประธานสถาบันค้นคว้าเศรษฐกิจแห่งชาติ กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา สปป. ลาว ถือว่า เป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีรายรับเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ สปป. ลาว เผชิญกับความยุ่งยากทางด้านการเงิน 
งบประมาณ และการประสบกับภัยพิบัติธรรมชาติ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร 

จากการคาดการณ์เศรษฐกิจ พบว่า อัตราการเติบโตของ GDP อยู่ที่ร้อยละ 6.5 รายรับเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 2,599 ดอลลาร์สหรัฐ รายได้มวลรวม
ประชาชาติ (GNI) 2,209 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย ภาคเกษตรกรรมและ ป่าไม้จะเติบโตร้อยละ 2.5 ลดลงจากร้อยละ 2.9 ในปี 2560 
ภาคอุตสาหกรรมในส่วนของไฟฟ้าและเหมืองแร่จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 7.7 ลดลงจากร้อยละ 11.6 ในปี 2560 ภาคการบริการจะขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในปี 2560 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลงมาจากผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ ที่ได้สร้าง
ความเสียหายให้แก่ ภาคการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในขณะเดียวกัน คาดการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจ
ปรับตัวเพิ่มขึ้น 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนภาคการผลิต ขนส่ง และค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น 

ประเด็นที่ควรแก้ไขเพื่อขจัดอุปสรรคและกระตุ้นการเติบโตด้านเศรษฐกิจ โดยรวมแล้วต้องดำเนินการ ตามมาตรการที่กำหนดไว้ในคำสั่งของ
นายกรัฐมนตรีเลขที่ 12/นย 1) ต้องตัดสินใจแก้ไขหนี้ที่คลุมเครือระหว่าง ภาครัฐกับภาคธุรกิจและภาคธุรกิจกับธนาคาร 2) ต้องจัดหาเม็ดเงิน
เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคาร ในขณะเดียวกันปรับอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการกู้ยืมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจสามารถฟื้นตัว
3) มีนโยบายช่วยสนับสนุนด้านเงินทุนและนโยบายภาษีแก่ธุรกิจที่รัฐบาลส่งเสริม เช่น ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย ธุรกิจดิจิตอล ธุรกิจประหยัด
พลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น 4) แก้ไขขั้นตอนขออนุญาตลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้รวดเร็วขึ้น 5) แก้ไขระเบียบ
การนำเข้าและส่งออกสินค้า และลดขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ 6) การปฏิบัติตามพันธสัญญาต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน
และผู้ประกอบการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 

วิธีการแก้ไขปัญหาในการดำเนินธุรกิจ คือ 1) ศึกษา ค้นคว้าและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ความท้าทาย และวิธีการดำเนิน
ธุรกิจใหม่ๆ 2) ค้นคว้า ปรับปรุงยุทธศาสตร์และนโยบายของบริษัท การบริหารจัดการด้านการตลาด และการใช้เทคโนโลยีทันสมัย 3) เรียนรู้สิ่ง
ใหม่ๆและติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อปรับปรุงทิศทางการดำเนินงานของบริษัทให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 

ที่มา: เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ThonglounSISOULITH/ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561

11/19/2018



กลับหน้าหลัก