เกาะติดข่าว

สาเหตุที่ส่งผลให้เงินกีบอ่อนค่า

ปัจจัยที่ทำให้เงินกีบอ่อนค่าหรือแข็งค่าขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณเงินกีบภายในประเทศ เมื่อความต้องการใช้
เงินกีบมากขึ้น ค่าเงินกีบจะแพงขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น หากความต้องการใช้เงินกีบน้อยลง ค่าเงินกีบลดลง หรืออ่อนค่าลง

นายพูเพ็ด เกี้ยวพิลาวง อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำ
ให้เงินกีบอ่อนค่าเกิดจากการใช้เงินหลายสกุลในประเทศ เช่น เงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐ หากไม่ปล่อยให้เป็นไปตาม
กลไกตลาดเท่าที่ควรก็อาจเกิดการฉวยโอกาสเก็งกำไร ผู้ประกอบการรายย่อยและร้านแลกเปลี่ยนเงินตราภายนอกที่มี
ความสามารถในการซื้อเงินตราได้จำนวนมากและขายออกไปในจำนวนมากจะมีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยน ในตลาดแลกเปลี่ยน
เกิดความผันผวน ถึงแม้รัฐบาลจะพยายามควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน แต่สามารถควบคุมได้เพียงธนาคารพาณิชย์เท่านั้น
และยังไม่สามารถควบคุมตลาดแลกเปลี่ยนได้

การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนต้องให้เป็นไปตามกลไกตลาดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ธนาคารแห่ง สปป. ลาวพยายามควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนโดยกำหนดอัตราอ้างอิงในแต่ละวัน ซึ่งอาจไม่สอดรับกับ
อัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาด ทำให้เกิดการเก็งกำไรหรืออัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนในท้องตลาด 

ที่มา: นสพ. สำนักข่าวสารประเทศลาว วันที่ 5 มิ.ย. 2563

ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ในช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. 2563 อัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและบาทอ่อนค่าร้อยละ 4.2 และ 7 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา การอ่อนค่าของเงินกีบส่งผลดีต่อการส่งออก เนื่องจากราคาสินค้า และการบริการ
ภายในประเทศมีราคาถูกลงในสายตาของต่างประเทศ แต่เป็นผลลบต่อการนำเข้าเนื่องจากต้องใช้เงินกีบ มากขึ้นเพื่อ
แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำให้ประชาชนภายในประเทศบริโภคสินค้าที่ราคาสูงขึ้น
2. เนื่องจาก สปป. ลาวพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก และขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรก (ม.ค. – มี.ค. 2563)
สปป. ลาว ขาดดุลการค้าประมาณ 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มขาดดุลการค้ากับไทยมากที่สุด เนื่องจาก สปป. ลาว
นำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคจากไทย 774 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจาก สปป. ลาวไปไทยมีเพียง
338 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สปป. ลาวจึงไม่ได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินกีบเท่าไรนัก

06/11/2020



กลับหน้าหลัก