เกาะติดข่าว

การพัฒนาด้านโทรคมนาคมใน สปป. ลาว

ดร. ปะดับไซ ไซยะโคด รองหัวหน้าสถาบันเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร กระทรวงเทคโนโลยี และการสื่อสาร สปป. ลาว
 รายงานการพัฒนาด้านโทรคมนาคมใน สปป. ลาว ดังนี้

1. การพัฒนาโทรคมนาคม 2G 3G 4G- ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สปป. ลาวมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ด้านโทรคมนาคมหลายครั้ง
และได้ดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนผ่านการร่วมทุน ซึ่งมีส่วนทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมมีความทันสมัย
และมีการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง ส่งผลให้มีผู้จำหน่ายและสนับสนุนอุปกรณ์ แก่ผู้ประกอบการใน สปป. ลาวมากขึ้น
รวมทั้งมีผู้ให้บริการด้าน Solution โดยเฉพาะ Huawei ซึ่งสนับสนุนเครือข่ายโทรคมนาคมของผู้ให้บริการโทรคมนาคม
เช่น 3G เปิดตัวในปี 2551 และ 4G เปิดตัวในปี 2555 ในช่วงปี 2533 มีเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบเครือข่ายโทรศัพท์
มือถือแบบอนาล็อกขั้นสูง (AMPS) ซึ่งให้บริการใน นครหลวงเวียงจันทน์ในปี 2536 และระบบเครือข่ายการสื่อสารมือถือ
ทั่วโลก GMS 900 และมาตรฐานไร้สายรุ่นต่อมาในปี 2537 และมีการพัฒนามาตรฐานไร้สายอย่างไม่หยุดยั้งตั้งแต่ 1G
จนถึง 5G ในปัจจุบัน

2. การพัฒนาคลื่น GSM- ระบบ 2G เปิดตัวภายใต้บริการมาตรฐาน GSM ความถี่ 900 MHz ซึ่งเป็นครั้งแรกที่การโทรด้วยเสียง
แบบดิจิทัลมีความชัดเจนขึ้น รวมทั้งสามารถส่งข้อความ SMS รูปภาพ และ MMS บนโทรศัพท์มือถือ ในเดือน ต.ค. 2552
ได้มีการเปิดตัว 3G - บริการ Universal Mobile Telecommunications System (UMTS) ความถี่ B1 (2100 MHz)
สามารถถ่ายโอนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นของ 3G (เร็วกว่า 2G 4 เท่า) นำไปสู่บริการใหม่ ๆ เช่น การประชุมทางวิดีโอ
การสตรีมวิดีโอ และ Voice over Internet Protocol (VoIP) เช่น Skype

ต่อมา ในเดือน เม.ย. 2558 มีการเปิดตัวเครือข่าย 4G Long Term Evolution (LTE) ความถี่ B3 (1800 MHz) สามารถเข้าถึง
เว็บบนมือถือที่รวดเร็ว (สูงสุด 1 กิกะบิตต่อวินาทีสำหรับผู้ใช้ที่อยู่กับที่) ซึ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการเกมส์
วิดีโอความละเอียดสูง (HD) และการประชุมทางวิดีโอคุณภาพ (HQ)

3. ระบบ 5G Cloud AI Big Data และ IOT (Internet of Thing) จะช่วยส่งเสริมการผลิตข้อมูล เพิ่มความเร็วในการสนทนา
ด้านการกำกับดูแลข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย ในช่วงโควิด 19 หน่วยงานของ สปป. ลาวต้องเผชิญ
กับความท้าทายในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารต่าง ๆ เพื่อใช้ประสานงานและจัดการประชุมระหว่างประเทศ

 4. คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่หายากและต้องวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมที่สุด
สปป. ลาวมีคณะกรรมการประสานงานร่วมสำหรับการคุ้มครองคลื่นความถี่ซึ่งจัดประชุมทุกปี เพื่อให้คลื่นความถี่มีความสมดุล
และลดสัญญาณรบกวนคลื่นความถี่ตามแนวชายแดน ในขณะที่ในระดับภูมิภาค มีคณะทำงานย่อยด้านการคุ้มครองคลื่นความถี่
ของอาเซียน และคณะทำงานคลื่นความถี่ของ Asia Pacific Telecommunity เพื่อประสานงานการคุ้มครองความถี่ในระดับภูมิภาค
และทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ITU เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการกำหนดและรับรองคลื่นความถี่ และสิ่งสำคัญ
ที่สุดคือความปลอดภัย ทางไซเบอร์ เนื่องจากข้อมูลระดับชาติมีความสำคัญ จึงต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้าน
และในระดับภูมิภาค โดยมีคณะทำงานด้านความปลอดภัยเครือข่ายอาเซียนเพื่อประสานงานและทำงานร่วมกันในการพัฒนา
นโยบายทางไซเบอร์ แบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเครือข่าย
และความปลอดภัยทางไซเบอร์

5. สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ต่อมา คือ IOT ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำเนิดระบบ 5G โดยสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ความเร็วสูง และอุปกรณ์อัจฉริยะ
ซึ่งช่วยให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องตัว ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศได้เปิดตัวเครือข่ายเชิงพาณิชย์ 5G
หรือวางแผนที่จะเปิดตัวภายในปีนี้ โดยในปลายปี 2562 สปป. ลาวเริ่มโครงการนำร่อง 5G (การติดตั้งใช้งานก่อนเชิงพาณิชย์)
โดยร่วมมือกับ Huawei หลังจากที่พัฒนาระบบ 5G มาเกือบสองปี และคาดว่าภายในปี 2565 เครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์จะเปิดให้
บริการอย่างเป็นทางการใน สปป. ลาว (ในนครหลวงเวียงจันทน์และบางตัวเมืองหลัก) จากประสบการณ์ผู้ใช้ 5G ที่ดีที่สุด
ต้องพิจารณาตัวเลือกมาตรฐานระดับโลกและระบบนิเวศ ได้แก่ คลื่นความถี่ C-Band (3.5GHz) สำหรับความจุพื้นฐาน
และคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับการครอบคลุมที่กว้าง ด้วยการผสมผสานทั้งสองอย่าง ผู้ให้บริการสามารถรับประกัน 5G
ด้วยความเร็วข้อมูล 10 เท่า และต้นทุน 1/10 ต่อ GB เมื่อเทียบกับเทคโนโลยี 4G

ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เวียงจันทน์ใหม่ วันที่ 9 ก.ย. 2564 และ นสพ. Vientiane Times วันที่ 9 ก.ย. 2564
https://v2.vientianemai.net/archives/26054

09/17/2021



กลับหน้าหลัก