ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

สปป. ลาวตั้งเป้าผลิตไฟฟ้า 44,148 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงในปี 2563

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2562 ดร. คำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาว ได้ชี้แจง ในที่ประชุมสมัยสามัญ
ครั้งที่ 8 ของสภาแห่งชาติลาวชุดที่ 8 เกี่ยวกับการพัฒนางานด้านพลังงานและเหมืองแร่ว่า ปัจจุบัน สปป. ลาวมีแหล่งผลิตไฟฟ้า
จำนวน 71 แห่ง รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 9,700 เมกกะวัตต์ ในปี 2562 สปป. ลาวต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งในรอบหลายสิบปี 
ส่งผลอ่างเก็บน้ำของเขื่อนไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ สปป. ลาวสามารถกักเก็บน้ำได้เพียงร้อยละ 60 ทั้งนี้ ในปี 2563
สปป. ลาวตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 44,148 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง รวมมูลค่าประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ภายในประเทศ
และส่งออกไปต่างประเทศ 

สำหรับเขื่อนที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ สปป. ลาวที่สามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าได้ร้อยละ 60 ประกอบด้วย โครงการน้ำทา 1 
โครงการเขื่อนไฟฟ้าน้ำอู 1 เขื่อนไฟฟ้าน้ำงึม 2 และเขื่อนไฟฟ้าเทินหินบูน นอกจากนี้ ยังมีโครงการ ที่คาดว่าจะสามารถดำเนิน
การผลิตได้ตามแผนจำนวน 59 โครงการ และคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมด 33,658 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทั้งนี้ ในช่วง
ปลายปี 2562 จะมีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 4 โครงการ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำน้ำเงี้ยบ 1 
เขื่อนไฟฟ้าดอนสะโฮง และเขื่อนไฟฟ้าเซเปียน – เซน้ำน้อย โดยทั้ง 4 เขื่อนจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมด 12,294 ล้านกิโลวัตต์
ชั่วโมงต่อปี 

ดร. คำมะนีฯ แจ้งเกี่ยวกับแผนการขยายตลาดในการจำหน่ายไฟฟ้า 2 แห่ง ได้แก่ ตลาดภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการใช้
ไฟฟ้าภายในประเทศประมาณ 1,222 เมกกะวัตต์ โดยคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าภายในประเทศเฉลี่ยร้อยละ 7 – 8 ต่อปี 
และตลาดต่างประเทศ ซึ่ง สปป. ลาวได้ลงนามบันทึกความเข้าใจในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้ากับต่างประเทศ ดังนี้ 
(1) กัมพูชา จำนวน 6,000 เมกกะวัตต์ โดยได้ลงนามสัญญาซื้อ - ขายไฟฟ้าระหว่างรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวกับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้ากัมพูชา
ในการพัฒนาพลังงาน 3,215 เมกกะวัตต์ และ สปป. ลาวได้ส่งออกได้ไฟฟ้าไปแล้ว 20 เมกกะวัตต์ และคาดว่าในปี 2027 จะสามารถ
ส่งออกได้ครบตามสัญญา 
 (2) ไทย จำนวน 9,000 เมกกะวัตต์ ปัจจุบันส่งออกไฟฟ้าไปแล้ว 5,415 เมกกะวัตต์ และอยู่ในขั้นตอนการเจรจาซื้อ – ขายไฟฟ้า
แบบ grid-to-grid ในช่วงปี 2563 – 2573 เพื่อให้ครบตามจำนวนที่ลงนามกันไว้โดยที่รัฐบาลไทยยืนยัน ที่จะซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาว
ให้ครบตามจำนวนดังกล่าว
(3) เวียดนาม จำนวน 5,000 เมกกะวัตต์ ปัจจุบันส่งออกไฟฟ้าไปแล้ว 540 เมกกะวัตต์ โดยที่รัฐบาลเวียดนาม ได้มีหนังสือยืนยัน
การซื้อไฟฟ้าจาก สปป. ลาวจากกลุ่มเขื่อนไฟฟ้าน้ำซำ 465 เมกกะวัตต์ กลุ่มเขื่อนน้ำโม้ 505 เมกกะวัตต์ กลุ่มเขื่อนภาคใต้ 
(น้ำกง 2 3 และน้ำอีมูน) 304 เมกกะวัตต์ และได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อศึกษาพลังงานลม 600 เมกกะวัตต์ 
(4) เมียนมา และ สปป. ลาวได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าและการศึกษาความเป็นไปได้
ในการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าร่วมกัน ปัจจุบัน สปป. ลาวส่งออกไฟฟ้าไปยังเมียนมาแล้ว 10 เมกกะวัตต์ ทั้งนี้ ในปี 2563 
จะส่งไฟฟ้าให้เมียนมาเพิ่มเติมอีก 20 เมกกะวัตต์ ปี 2566 จำนวน 100 เมกกะวัตต์ และปี 2568 จำนวน 300 เมกกะวัตต์ 
(5) ตลาดไฟฟ้าอาเซียน สปป. ลาวได้วางแผนเชื่อมโยงระบบสายส่งในการซื้อ – ขาย และแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าร่วมกัน 
ซึ่ง สปป. ลาวเป็นประเทศแรกที่ได้ริเริ่มการขายไฟฟ้าแบบเชื่อมโยงในอาเซียน และได้ลงนามสัญญาซื้อ – ขายไฟฟ้ากับมาเลเซีย 
โดยผ่านไทย (ลาว – ไทย – มาเลเซีย) ปัจจุบันส่งออกไฟฟ้าไปแล้ว 100 เมกกะวัตต์ และปี 2563 ตั้งเป้าจะส่งออกให้ได้ 300 เมกกะวัตต์ 
และจะเจรจาซื้อ – ขายไฟฟ้ากับสิงคโปร์ 

ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 20 พ.ย. 2562 
https://laoedaily.com.la/2019/11/20/65273/ 

ข้อมูลเพิ่มเติม 
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 สปป. ลาวผลิตไฟฟ้าได้ 23,641 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง (สภาแห่งชาติลาวกำหนดไว้ที่ 33,875 ล้านกิโลวัตต์
ชั่วโมง) รวมมูลค่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงร้อยละ 5.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2561 เนื่องจากภัยแล้งได้ส่งผลให้มีปริมาณ
น้ำที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าลดลง ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปี 2562 สปป. ลาว จะผลิตไฟฟ้าได้ 34,652 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

12/17/2019



กลับหน้าหลัก