ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ
ลาวคุ้มครองแบบลายผ้าพื้นเมืองจากการละเมิดลิขสิทธิ์
เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 ศูนย์ศิลปะและชนเผ่าวิทยา (Traditional Arts and Ethnology Center: TAEC) และสมาคมหัตถกรรมลาว
ร่วมกันจัดงานเสวนาหัวข้อ “การปกป้องการออกแบบลายดั้งเดิมจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ใน สปป. ลาว” ในงานมหกรรมฝีมือ
หัตถกรรมลาว ณ ศูนย์การค้า Lao Itecc ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก VOICE องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของเนเธอร์แลนด์ โ
ดยมีนาง Monmany Yaganagi ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา และผู้อำนวยการบริหารบริษัท Lao Interconsult จำกัด
นาง Monica Bota-Moisin ผู้ก่อตั้งโครงการริเริ่มสิทธิ์ ในทรัพย์สินทางปัญญาทางวัฒนธรรม นายไซบันดิด ไซยะวงคำดี
หัวหน้าแผนกนโยบายและร่วมมือต่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สปป. ลาว
และนางทองคูน สุดวิไล ผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการศูนย์ Traditional Arts ร่วมวงเสวนา
นาง Monmany กล่าวว่า เครื่องหมายทรัพย์สินทางปัญญาของ สปป. ลาวที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์ ยังมิให้การคุ้มครองที่ครอบคลุมถึงการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม อาทิ การออกแบบสิ่งทอ เกี่ยวกับเรื่องนี้
นายไซบันดิดฯ ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการจดทรัพย์สินทางปัญญา บวกกับปัจจุบันกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ได้มีภารกิจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อริเริ่มด้านสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Indication- GI) เช่น ผ้าไหมหลวงพระบาง
หลังจากประสบความสำเร็จในการออก GI ข้าวไก่น้อย แขวงเชียงขวาง โดยประเทศในยุโรปมี GI ที่เข้มแข็งที่สุด
โดยสินค้าหลายรายการได้รับการยอมรับ
นาง Monica ได้อธิบายความแตกต่างเกี่ยวกับการฉกฉวยทางวัฒนธรรม (cultural appropriation) และการฉวยใช้ทางวัฒนธรรม
(cultural appreciation) และยกตัวอย่างนักออกแบบที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น Tom Ford และ Tory Burch ซึ่งได้ “ฉกฉวยทางวัฒนธรรม” จากชุมชน
นางทองคูนฯ กล่าวว่า นักออกแบบจำนวนมากได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบแบบดั้งเดิม แต่ถ้าศึกษาอย่างละเอียดจะพบว่า
เป็นการลอกเลียนแบบ เช่น ลายผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์โอมา แขวงพงสาลี ซึ่ง Max Mara บริษัทแฟชั่นของอิตาลีลอกเลียนแบบ
เมื่อต้นปี 2562 เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นตัวกระตุ้นให้ศูนย์ TAEC ริเริ่มโครงการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ทางปัญญาทางวัฒนธรรมโดยทำงานร่วมกับช่างฝีมือชาวลาว ผู้ประกอบการด้านหัตถกรรม และภาครัฐ เพื่อปกป้องความหลากหลาย
ทางด้านการออกแบบ แบบดั้งเดิม รวมทั้งได้ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์โอมาจัดทำเอกสารการออกแบบผลิตสื่อการเรียนรู้ วิดีโอ
และนำไปแสดง ในงานดังกล่าวอีกด้วย ทั้งนี้ สามารถติดตามการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมและแบ่งปันประสบการณ์ได้ที่เพจ
ปกป้อง การออกแบบดั้งเดิมของลาว และ www.taeclaos.org/oma
ที่มา: เว็บไซต์ laotiantimes วันที่ 24 ต.ค. 2563
https://laotiantimes.com/2020/10/24/protection-of-traditional-designs-from-plagiarism-discussed-at-national-event/
10/30/2020
กลับหน้าหลัก