ภาคพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป. ลาวปี 2563 ขยายตัวกว่า 322 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาวได้ตรวจสอบ ประเมินผล และถอดบทเรียน เพื่อพัฒนางาน
ภาคพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป. ลาวให้ดียิ่งขึ้น ในปี 2563 การผลิตของภาคพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป. ลาว
มีมูลค่า 3,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 322 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
หรือร้อยละ 102 ของแผนประจำปี แบ่งเป็นมูลค่าการผลิตของภาคพลังงาน 2,227 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือร้อยละ 98 ของแผนประจำปี และเหมืองแร่ 1,172 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา หรือร้อยละ 113 ของแผนประจำปี
ในปี 2563 โครงการผลิตไฟฟ้าที่ก่อสร้างแล้วเสร็จมี 4 แห่ง รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 537 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้า
ได้2,139 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ปัจจุบัน สปป. ลาวมีแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า 81 แห่ง รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 10,328 เมกะวัตต์
สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 53,640 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี มีระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กลาง และต่ำ รวมความยาวทั้งสิ้น 67,643 กิโลเมตร
ต่อวงจร และสถานีไฟฟ้า 84 แห่ง ปัจจุบัน อัตราการเข้าถึงไฟฟ้าของประชาชนคิดเป็นร้อยละ 95 ของจำนวนครอบครัวทั่วประเทศ
ด้านการพัฒนาธรณีศาสตร์ แร่ธาตุ และเหมืองแร่ ปัจจุบันมีบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ขุดค้นและสำรวจ แร่ธาตุจำนวน 212 บริษัท
ใน 316 กิจการ แบ่งออกเป็นด้านธรณีศาสตร์ 91 บริษัท ใน 113 กิจการ และเหมืองแร่ 121 บริษัท ใน 203 กิจการ นอกจากนี้ ในปี 2563
กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาวได้ติดตามและตรวจสอบ ความปลอดภัยของเขื่อนไฟฟ้าและได้จัดตั้งสมาคมเขื่อนลาวขึ้น
ซึ่งได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกสมาคมเขื่อนใหญ่ระหว่างประเทศ (International Commission on Large Dams: ICOLD)
อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2563 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 104
กระทรวงพลังงานฯ ยังได้ยกระดับการพัฒนาและบริหารจัดการสายส่งแห่งชาติจากความรับผิดชอบ ของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว
ไปสู่การก่อตั้งบริษัท EDL-T เพื่อระดมทุนจากภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อลดการลงทุนและหนี้สินของรัฐและรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว
ที่มา: นสพ. เวียงจันทน์ใหม่ 11 ม.ค. 2564
01/22/2021