พิธีลงนามสัญญาโอนหุ้นของรัฐบาล สปป. ลาวในการพัฒนาท่าเรือหวุงอ่าง
เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 นายจันทอน สิดทิไซ ผู้อำนวยการใหญ่รัฐวิสาหกิจพัฒนาท่าเรือหวุงอ่างลาว – เวียดนาม และนายสุลิยา มะนีวง
ผู้อำนวยการใหญ่รัฐวิสาหกิจลาวบริการสินค้าผ่านแดน ร่วมลงนามสัญญาโอนหุ้นร้อยละ 20 ของรัฐบาล สปป. ลาว ในบริษัทหุ้นส่วน
ท่าเรือสากลลาว – เวียดนาม ระหว่างรัฐวิสาหกิจลาวบริการสินค้าผ่านแดนกับรัฐวิสาหกิจพัฒนาท่าเรือหวุงอ่างลาว – เวียดนาม
โดยมีนาย Nguyen Ba Hung เอกอัครราชทูตเวียดนาม ประจำ สปป. ลาว นายอาลุนแก้ว กิดติคุน ประธานกรรมการบริหารยุทธศาสตร์
บริษัท PTL Holding จำกัด นายสีลา เวียงแก้ว ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท เวียงจันทน์โลจิสติกส์ พาร์ค จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน
บริษัทรัฐวิสาหกิจลาวบริการท่าเรือหวุงอ่างลาว – เวียดนาม ก่อตั้งขึ้นในปี 2553 ขึ้นตรงกับกระทรวงการเงิน สปป. ลาว และเข้าไปถือหุ้น
ร้อยละ 20 ในบริษัทหุ้นส่วนท่าเรือสากลลาว – เวียดนาม ต่อมา ในปี 2559 กระทรวงการเงิน สปป. ลาวได้อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจลาว
บริการสินค้าผ่านแดนเป็นผู้ถือหุ้นในส่วนของรัฐบาล สปป. ลาวและดำเนินกิจการร่วมหุ้นกับเวียดนามในท่าเรือหวุงอ่าง และในปี 2562
กระทรวงการเงิน สปป. ลาว ได้ทำสัญญาร่วมทุนก่อตั้งบริษัทใหม่กับบริษัท Petroleum Trading Lao มหาชน และเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐวิสาหกิจ
พัฒนาท่าเรือหวุงอ่างลาว – เวียดนาม หลังจากนั้น รัฐบาล สปป. ลาวและรัฐบาลเวียดนามจึงอนุมัติสัญญาตกลง ให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาท่าเรือ
หวุงอ่างลาว – เวียดนามที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ไปถือหุ้นแทนร่วมกับรัฐบาลเวียดนาม ดังนั้น รัฐวิสาหกิจลาวบริการสินค้าผ่านแดนจะต้องโอนคืนหุ้น
ร้อยละ 20 ให้กระทรวงการเงิน สปป. ลาว เพื่อกระทรวงการเงิน สปป. ลาวโอนหุ้นให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาท่าเรือหวุงอ่างลาว – เวียดนามต่อไป
โครงการพัฒนาท่าเรือหวุงอ่างลาว – เวียดนามเป็นโครงการยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และเป็นโครงการ
ความร่วมมือพิเศษระหว่าง สปป. ลาวกับเวียดนาม โดยเป็นโครงการประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยท่านไกสอน พมวิหาน และท่านโฮจิมินห์ เพื่อส่งเสริม
ให้ สปป. ลาวได้รับการพัฒนา อย่างมั่นคงและยั่งยืน ดังนั้น รัฐบาลเวียดนามจึงออกข้อตกลงให้รัฐบาล สปป. ลาวใช้ท่าเรือหวุงอ่างได้ โดยคาดว่า
จะเริ่มก่อสร้างในปี 2564 และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในส่วนที่ 1 ในปี 2566 โครงการดังกล่าวฯ เป็นท่าเรือ น้ำลึกที่มีความสำคัญต่อการขนส่งทางน้ำ
ในทางภาคกลางของสปป. ลาวและเวียดนามเพื่อเชื่อมโยงการค้า ในภูมิภาคและตอบสนองนโยบายรัฐบาล สปป. ลาวในการทำให้ สปป. ลาว
มีทางออกสู่ทะเลและเป็นจุดเชื่อม การขนส่งในภูมิภาค
ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 31 มี.ค. 2564 https://laoedaily.com.la/2021/03/31/91146/
04/08/2021