ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

สปป. ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการคลังและการจัดเก็บงบประมาณให้ทันสมัย

การดำเนินแผนงบประมาณแห่งรัฐของ สปป. ลาว 5 ปี (2559 -2563) พบว่า รายรับงบประมาณแห่งรัฐ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
เนื่องจากสามารถจัดเก็บรายได้เกินกว่าแผนที่สภาแห่งชาติรับรอง ด้านรายจ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.8 เมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัฐบาล สปป. ลาว ยังสามารถสนับสนุนเงินทุนสำหรับโครงการ
ที่มีความสำคัญอันดับต้น รวมทั้งการจัดสรรแหล่งเงินทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในขณะเดียวกัน
รัฐบาล สปป. ลาวได้ดำเนินการด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านนโยบายการเงินและนิติกรรม- ทบทวนนโยบายการเงินและอัตราภาษีให้สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน
ปรับปรุงนโยบายภาษีเพื่อเชื่อมโยงกับสากล อำนวยความสะดวกด้านภาษีและการค้า ปรับปรุง นิติกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้อง
รัดกุม และเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองรายรับและรายจ่ายงบประมาณแห่งรัฐ ปรับปรุงและออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 9 ฉบับ

2. ด้านการคุ้มครองรายรับ- ปรับปรุงกลไกคุ้มครองรายรับของภาคธุรกิจ โดยรวบรวมสถิติ/ฐานข้อมูลธุรกิจใหม่ ปรับปรุงกลไก
จากการยื่นภาษีต่อเจ้าหน้าเป็นการยื่นผ่านระบบ TaxRIS ด้วยตนเอง ปรับปรุงกลไกยื่น/ชำระผ่านระบบธนาคารให้มีประสิทธิภาพ
ขยายระบบ ASYCUDA ให้ครบทุกด่านสากล รวมทั้งพัฒนาระบบยื่นภาษี ประตูเดียวแห่งชาติ (LNSW) รวบรวมข้อมูลฐานรายรับ
จากทรัพย์สินของรัฐและระบบจดทะเบียนการค้ำประกัน ด้วยอสังหาริมทรัพย์ ปรับปรุงระบบออกใบเสร็จค่าบินผ่านแบบทันสมัย
สร้างกลไกและวิธีคุ้มครองการจัดเก็บรายรับเงินปันผลกำไรจากการลงทุนของรัฐในรัฐวิสาหกิจ

3. ด้านการคุ้มครองรายจ่าย- ใช้การเบิกเงินเดือนผ่านระบบ ATM ทั่วประเทศ สำหรับเมืองที่ไม่มีศูนย์บริการของธนาคารจะทดลอง
เบิกจ่ายเงินเดือนผ่านระบบ U-Money ซึ่งปัจจุบันได้รวบรวมข้อมูลและทดลองดำเนินการในบางหน่วยงานแล้ว นอกจากนี้
รัฐบาล สปป. ลาวอยู่ระหว่างเตรียมสร้างระบบคุ้มครองงบประมาณ และคลังเงินแห่งชาติให้ทันสมัยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ทดลองการใช้ระบบชำระสะสางอัตโนมัติ ACH และ เพิ่มความเข้มงวดในการดำเนินมาตรการประหยัดทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น
ตรวจตราการจัดสรรรายจ่าย อย่างละเอียดเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

4. ด้านการพัฒนาให้ทันสมัย- ปรับปรุงระบบ GFIS โดยการสร้างระบบ Web based portal เพื่อเชื่อม กับงบประมาณศูนย์กลางและ
การเงินระดับเมือง สร้างศูนย์สำรองข้อมูลและสร้างระบบการชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เตรียมใช้ระบบคุ้มครองข่าวสารการเงิน
แห่งรัฐ FMIS เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเงินให้ทันสมัย พร้อมปรับปรุงระบบคุ้มครองการจัดเก็บรายรับให้ทันสมัย
โดยเฉพาะระบบ TaxRIS ASYCUDA Smart Tax Easy Tax และปรับปรุงระบบคุ้มครองหนี้สาธารณะ รวมทั้งพัฒนาและใช้ระบบ I Office

5. ด้านการคุ้มครองหนี้สาธารณะ- แยกการคุ้มครองหนี้สินออกมาบริหารตามมาตรฐานสากล ศึกษา ความยั่งยืนของหนี้สินภายในประเทศ
และหนี้ต่างประเทศ เจรจาเลื่อนการซำระเงินต้นกับเจ้าหนี้บางรายแล้วเสร็จ และระดมเงินทุนภายในประเทศ จำกัดการกู้ยืมใหม่ของโครงการต่าง ๆ
รวมทั้งรวบรวมหนี้สินที่มีความคลุมเครือของโครงการลงทุนของรัฐให้เป็นระบบ โดยเฉพาะหนี้ 3 แจ และพันธบัตร และชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
หนี้ต่างประเทศได้อย่างเพียงพอและตรงเวลา

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อคงค้างหลายด้านที่ต้องได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่ยัง ไม่เข้มงวด การเผยแพร่นิติกรรมด้านการเงิน
ให้ประชาชนและภาคธุรกิจยังไม่ทั่วถึง ระบบฐานข้อมูลยังไม่เชื่อมโยง กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยังมีการรั่วไหลของงบประมาณ การดำเนินธุรกิจ
ของวิสาหกิจที่รัฐลงทุนขาดประสิทธิภาพ และหนี้สาธารณะสะสมและหนี้ต่างประเทศยังเพิ่มสูงขึ้น รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่บางส่วนพบ ความท้าทาย
ด้านการเงิน การพัฒนาให้ทันสมัยยังล่าช้า เนื่องจากผู้ประกอบการและพนักงานไม่ให้ความร่วมมือ และบางแขวงเมืองเมืองยังขาดความรู้
และความสามารถในการใช้ระบบ

สำหรับเป้าหมายการพัฒนาภาคการเงินในช่วงปี 2564 - 2567 จะเน้นการร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับคู่ร่วมยุทธศาสตร์
และคู่ร่วมพัฒนา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ ยังมีสิ่งท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกและ
ภูมิภาคที่มีการเปลี่ยนแปลง ความบอบบาง ของเศรษฐกิจมหภาคของ สปป. ลาว เนื่องจากพันธะการชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น รายรับภายใน
ประเทศยังน้อย เมื่อเทียบกับ GDP ความน่าเชื่อถือด้านเศรษฐกิจลดลง เงินสำรองระหว่างประเทศยังไม่เข้มแข็งและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน

ทั้งนี้ ภาคการเงินของ สปป. ลาวจึงกำหนดทิศทางและเป้าหมาย โดยยกระดับภาคการเงินและงบประมาณให้มีความมั่นคง ทันสมัย มีประสิทธิภาพ
เร่งปฏิรูปภาคการเงินให้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ปี 2573 และยุทธศาสตร์การพัฒนาการเงินแห่งรัฐปี 2568 โดยเฉพาะแผนพัฒนา
ภาคการเงินแห่งรัฐ 5 ปี (2564 - 2567) ยกระดับการคุ้มครองรายรับและรายจ่ายงบประมาณ เพื่อคุ้มครองการขาดดุลงบประมาณให้ไม่เกินร้อยละ 3
ของ GDP และลดปริมาณหนี้สาธารณะด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ยุติการกู้ยืมใหม่ที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะ ทางการเงิน ส่งเสริมการจัดเก็บรายรับ
ภายในให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 - 13 คุ้มครองรายจ่ายเงินเดือนต่อรายรับภาย ในให้ลดลง โดยในปี 2567 ให้ไม่เกินร้อยละ 45 ของรายรับภายใน

ที่มา: นสพ. ประชาชน วันที่ 6 ก.ค. 2564

07/16/2021



กลับหน้าหลัก