ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

บริษัทจำกัด

ตามที่ได้กล่าวในตอนก่อน วิสาหกิจประเภท “บริษัท” สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย คือ บริษัทจำกัด ผู้เดียว บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งในบทความที่แล้วได้อธิบายรายละเอียดของบริษัทจำกัดผู้เดียวไป แล้ว ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดของวิสาหกิจกลุ่มบริษัทอีกประเภทหนึ่ง คือ “บริษัทจำกัด”

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า บริษัทเป็นวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นแบบมีการแบ่งทุนเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เรียกว่าหุ้น และ ผู้ประสงค์จะลงทุนจะนำทุนมาลงด้วยการซื้อหุ้นของบริษัท

“บริษัทจำกัด” เป็นวิสาหกิจประเภทบริษัทอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องประกอบไปด้วยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 ถึง 30 คน เข้าหุ้นกันจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด โดยในการจัดตั้งดังกล่าว ผู้ลงทุนต้องมีการจัดทำสัญญาจัดตั้งขึ้นเป็นลายลักษณ์ อักษร มีบทบันทึกของที่ประชุมจัดตั้งบริษัท และ กฎระเบียบของบริษัท และต้องมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการขึ้นเพื่อ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัท

บริษัทจำกัดใน สปป. ลาว มีโครงสร้างคล้ายกันกับบริษัทจำกัดในประเทศไทย กล่าวคือ มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ ควบคุมทิศทางของบริษัทในภาพรวม ด้วยการลงคะแนนเสียงตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เสนอโดยผู้อำนวยการหรือ คณะอำนวยการในการประชุมสามัญที่จะจัดเป็นประจำทุกปี และการประชุมวิสามัญที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งคราวเพื่อ พิจารณาประเด็นปัญหาที่ผู้ถือหุ้นต้องร่วมตัดสินใจด้วยกันตามที่ระเบียบข้อบังคับบริษัทหรือ ตามที่กฎหมาย กำหนด

อนึ่ง หุ้นของบริษัทจำกัดนั้น สามารถโอนให้กันได้ และกฎหมายไม่ห้ามผู้ถือหุ้นในการดำเนินกิจการที่ เหมือนหรือคล้ายคลึงกับบริษัท หรือในการที่ผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนทั่วไปของวิสาหกิจหุ้นส่วนที่ดำเนิน กิจการที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับบริษัท หรือแม้กระทั่งดำเนินธุรกิจใดๆ กับบริษัท อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีการลง คะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับธุรกิจที่ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งรายใดทำกับบริษัท ผู้ถือหุ้นรายนั้นอาจถูกจำกัด สิทธิในการลงคะแนน ตามการตกลงของที่ประชุมผู้ถือหุ้น

การลงทุนในรูปแบบบริษัทจำกัดนี้เป็นรูปแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป และเพราะเหตุดังกล่าวทำให้ผู้ลงทุน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายกว่าวิสาหกิจประเภทหุ้นส่วน อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยกฎหมายที่เกี่ยวกับบริษัทจำกัด ซึ่งกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยที่มากกว่าวิสาหกิจหุ้นส่วนนั้น ก็อาจ เป็นภาระของผู้ลงทุนเองเช่นกัน ดังนั้น ผู้ลงทุนควรพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของ การเลือกใช้ประเภทวิสาหกิจบริษัท จำกัดนี้ โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายการลงทุนของผู้ลงทุนและจำนวนของกลุ่มผู้ลงทุนเอง

ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจำกัดมีจำนวนผู้ถือหุ้นเกิน 30 คน ต้องมีการโหวตจากผู้ถือหุ้น เพื่อให้คงสภาพเป็น บริษัทจำกัดต่อไปได้ มิเช่นนั้น บริษัทจำกัดจะต้องถูกยุบเลิก หรือเปลี่ยนเป็น “บริษัทมหาชน” ซึ่งเป็นบริษัทอีก ประเภทหนึ่ง โดยจะกล่าวในรายละเอียดในบทความฉบับต่อไป



กลับหน้าหลัก