กฎระเบียบที่ควรรู้

สปป. ลาวตั้งเป้าหมายมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแปรรูปในปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 - 10

ดร. บัววัน วิละวง หัวหน้ากรมอุตสาหกรรมและหัตถกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว รายงานว่า
ภาคอุตสาหกรรมและหัตถกรรมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ในช่วงปี 2559 – 2563 มูลค่าการ
ผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.22 ต่อปี (แผนกำหนดไว้ที่ร้อยละ 12) ประกอบด้วยหมวดผลิตกระดาษ
และผลิตภัณฑ์กระดาษเฉลี่ยร้อยละ 42.38 ต่อปี หมวดผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์
เกี่ยวกับรูปภาพ แสง สี เสียงเฉลี่ยร้อยละ 26.04 ต่อปี หมวดการผลิตเครื่องนุ่งห่มเฉลี่ยร้อยละ 25.31 ต่อปี การผลิตยาง
และผลิตภัณฑ์พลาสติกเฉลี่ยร้อยละ 10.47 ต่อปี หมวดผลิตเครื่องดื่มเฉลี่ยร้อยละ 8.43 ต่อปี และหมวดอาหารเฉลี่ย
ร้อยละ 6.43 ต่อปี

ปัจจุบัน สปป. ลาวมีโรงงานอุตสาหกรรมและหัตถกรรม 8,475 แห่ง สามารถสร้างงานให้แรงงาน 161,584 คน โดยในปี 2564
จะเริ่มดำเนินงานส่วนที่ยังคงค้างจากปี 2563 โดยเฉพาะการออกกฎระเบียบ ปรับปรุงกลไกและขั้นตอนการอำนวยความสะดวก
ในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมแปรรูปและหัตถกรรม และเพิ่มความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปให้ขยายตัวอย่างคุณภาพ สมดุล สีเขียว และยั่งยืนเพื่อให้มูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแปรรูป
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 – 10 ต่อปี เพิ่มจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างน้อย 2 โรงงานต่อปี เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ
ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรมแปรรูป

2. ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่พึ่งพาทรัพยากรทางธรรมชาติไปสู่ภาคการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมที่หลากหลายและเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม โดยดำเนินการตามมาตรการ
ของกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป. ลาว ในการส่งเสริมการผลิตอาหารและสินค้า ส่วนอุตสาหกรรมผ้า เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า
จะดำเนินการภายใต้สิทธิพิเศษทางการค้าเพื่อดึงดูดการลงทุนและแสวงหาตลาดใหม่ สำหรับอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างจะเน้น
การขยายอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของ สปป. ลาว และสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ยกระดับมาตรฐานโรงงาน
และผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ ให้มีคุณภาพและได้รับการรับรองเทียบเท่าสากล สำหรับอุตสาหกรรมกสิกรรมและป่าไม้ (ที่มิใช่อาหาร)
จะเน้น การแปรรูปจากพืชที่สามารถผลิตเป็นสินค้า ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปุ๋ยชีวภาพ

3. ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแก่อุตสาหกรรมแปรรูป โดยประสานงานกับภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันและกำหนดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น จัดสรร กำหนด และปรับปรุงสถานที่ให้รองรับการก่อตั้ง
โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอย่างเป็นระบบ พร้อมดึงดูดการลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรม 
โดยเฉพาะในนครหลวงเวียงจันทน์ แขวงหลวงน้ำทา อุดมไซ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ คำม่วน สะหวันนะเขต และจำปาสัก

4. เชื่อมโยงกับประเทศในและนอกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและจีน รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ
เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูป

5. ส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมโดยสร้างกลุ่มผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกของสินค้าหัตถกรรม และสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่การพัฒนาหัตถกรรมใน สปป. ลาว

ที่มา: นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 28 ธ.ค. 2563

01/06/2021



กลับหน้าหลัก