กฎระเบียบที่ควรรู้

พัฒนาการด้านการส่งเสริมแรงงานของ สปป. ลาว

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 นางใบคำ ขัดทิยะ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สปป. ลาว กล่าวผ่านสื่อมวลชนเนื่องใน
วันแรงงานสากลว่า รัฐบาล สปป. ลาวให้ความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างที่เป็นคู่ร่วมงาน
ในการสร้างผลผลิตให้แก่ประเทศ โดยแรงงานถือเป็นปัจจัยหลักที่เพิ่มปริมาณและคุณภาพของสินค้าและการบริการ ซึ่งมีส่วนกระตุ้น
การเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา รัฐบาล สปป. ลาวร่วมกับองค์กรแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศกำหนด
ข้อเสนอและดำเนินการ ตามนโยบายและระเบียบกฎหมายด้านแรงงานได้ดีและเป็นที่น่าพอใจ

สปป. ลาวให้ความสำคัญกับกฎหมายว่าด้วยแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ในการปกป้องและคุ้มครองแรงงาน
รวมทั้งยังร่างกฎหมายหลายฉบับ และได้ติดตามตรวจตราการดูแลแรงงานโดยเน้นธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

1. มีกฎระเบียบการใช้แรงงานภายใน สัญญาแรงงาน การเบิกจ่ายค่าแรง โดยเฉพาะค่างานขั้นต่ำ 1,100,000 กีบ/คน/เดือน รวมถึง
ด้านความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงาน จากการตรวจสอบพบว่าธุรกิจ หลายแห่งปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีข้อขัดแย้งด้านแรงงาน 348 กรณี และสามารถแก้ไขได้ 183 กรณี

2. ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานและการจัดหางาน ในช่วงที่ผ่านมามีการส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ ของแรงงาน โดยประสานงาน
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แรงงาน สร้างโอกาสและรายได้อย่างเหมาะสม รวมทั้ง
ยกระดับคุณภาพงานและการแข่งขันในตลาดแรงงานในภูมิภาค และสากล ในช่วง 5 ปี (2559 – 2562) มีการส่งเสริมแรงงาน ดังนี้

    (1) การพัฒนาฝีมือแรงงาน - ฝึกและพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งสิ้น 419,264 คน คิดเป็นร้อยละ 64 ของแผน 5 ปี (658,080 คน)
ประกอบด้วยด้านเกษตรกรรม 120,497 คน อุตสาหกรรม 101,043 คน และ การบริการ 197,724 คน ทดสอบและออกใบรับรองฝีมือ
แรงงานตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการให้แรงงาน 9,582 คน คิดเป็น
ร้อยละ 76.66 ของแผน 5 ปี (12,500 คน)
    (2) ด้านการจัดหางาน – ส่งเสริมและป้อนแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งภายในและต่างประเทศได้ทั้งหมด 559,533 คน
คิดเป็นร้อยละ 78 ของแผน 5 ปี (716,193 คน) ประกอบด้วยตลาดแรงงานภายในประเทศ 251,974 คน และจัดส่งแรงงาน
ไปต่างประเทศ รวมทั้งปรับสถานภาพแรงงานลาวในไทย 307,559 คน ขึ้นทะเบียนออกบัตรใหม่และต่อใบอนุญาตทำงาน
ให้แรงงานต่างประเทศทั้งหมด 134,288 คน ประกอบด้วยออกบัตรใหม่ 86,714 คน และต่อใบอนุญาตทำงาน 47,574 คน
ขึ้นทะเบียนผู้หางาน 25,783 คน ขึ้นทะเบียนตำแหน่งงานที่ว่าง 32,472 คน ขยายจุดบริการจัดหางานทั้งหมด 7 แห่ง 
คิดเป็นร้อยละ 88.88 ของแผน 5 ปี ปัจจุบันมีจุดบริการจัดหาแรงงาน ใน 16 แขวง ศูนย์บริการจัดหางาน 1 แห่ง 
บริษัทจัดหางานทั้งภายในและต่างประเทศ 34 บริษัท นอกจากนี้ มีการติดตามและช่วยเหลือแรงงานลาวที่เดินทาง
กลับประเทศ เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 โดยได้แต่งตั้งคณะรับผิดชอบประจำด่านเพื่อช่วยเหลือและแจกอาหาร
และเครื่องดื่มที่สะพานมิตรภาพ แห่งที่ 1 (หนองคาย -เวียงจันทน์) จัดการประชุมหารือร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อช่วยหางานให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการฝึกอบรมการเคลื่อนย้ายแรงงาน
   (3) ด้านประกันสังคม - เผยแพร่กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคมให้ภาคส่วนต่าง ๆ โดยได้เพิ่ม
จำนวนผู้ประกันตนในวิสาหกิจที่มีแรงงาน 5 คนขึ้นไป ซึ่งมีผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 127,347 คน คิดเป็น ร้อยละ 61.52 ของแผน 5 ปี
(207,000 คน) ปัจจุบันมีผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนและจ่ายเงินสมทบทั้งในภาครัฐ วิสาหกิจ และผู้สมัครใจทั้งหมด 312,175 คน
(ไม่รวมกระทรวงป้องกันประเทศและกระทรวงป้องกันความสงบ) ประกอบด้วยภาครัฐ 183,151 คน วิสาหกิจ 118,482 คน
และผู้สมัครใจ 10,384 คน มีผู้ใช้สิทธิรักษาสุขภาพรวมทั้งสมาชิกในคอบครัวทั้งหมด 744,735 คน ประกอบด้วยภาครัฐ
479,199 คน วิสาหกิจและผู้สมัครใจ 265,536 คน และจ่ายเงินอุดหนุน ผู้ว่างงานแก่แรงงานและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ
จากสถานการณ์โควิด 19 จำนวน 20,659 คน คิดเป็นเงิน กว่า 18.93 พันล้านกีบ

หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 9,403 กีบ

ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 1 พ.ค. 2564
https://laoedaily.com.la/2021/05/01/93464/

05/14/2021



กลับหน้าหลัก