กฎระเบียบที่ควรรู้

การประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการนำเข้า - ส่งออก การผ่านแดน และการขนส่งสินค้า

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2565 ดร. คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว เป็นประธานการประชุม
ปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการนำเข้า-ส่งออก การผ่านแดน และการขนส่งสินค้าที่สถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ ด่านสากล
ท่าบกท่านาแล้ง (สำหรับสินค้า) และเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมี นายจันทอน สิดทิไซ ประธานบริษัท เวียงจันทน์
โลจิสติกส์ พาร์ค จำกัด นายหยวน หมิงหาว ผู้อำนวยการบริษัท ทางรถไฟลาว - จีน จำกัด หัวหน้ากรมและรองหัวหน้ากรมจากกระทรวง
ที่เกี่ยวข้อง นักธุรกิจ และผู้ประกอบการบริการขนส่งสินค้าเข้าร่วม

ดร. คำแพงฯ รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมฯ กล่าวเปิดการประชุมว่า วัตถุประสงค์ของการเยือนในครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคืบหน้า
การพัฒนา การบริการ การคุ้มครอง การอำนวยความสะดวก และอุปสรรคในการดำเนินงาน ที่สถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ และ
ด่านสากลท่าบกท่านาแล้ง (สำหรับสินค้า) และเขตโลจิสติกส์ โดยได้รับรายงานจากผู้อำนวยการบริษัทขนส่งสินค้าทางรถไฟว่า
นับตั้งแต่เปิดให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟมีการขนส่งสินค้าไปจีนแล้วกว่า 1,600-1,700 ตู้ ซึ่งนับว่ามีจำนวนมาก แต่หาก
เปรียบเทียบกับการส่งออกสินค้าของ สปป. ลาวนับว่ายังไม่เพียงพอ มีหลายบริษัท และสินค้าหลายรายการยังรอการขนส่งไปจีน
และยังพบกับความยุ่งยาก เนื่องจากมี หลายขั้นตอน ค่าบริการสูง ดังนั้น ในอนาคตต้องมีการปรับปรุง แก้ไข และขอให้ร่วมมือ
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมฯ เห็นว่าด่านสากลท่าบกท่านาแล้ง (สำหรับสินค้า) และเขตโลจิสติกส์ มีความพร้อม และเห็นควร
ให้กำหนดระเบียบให้สอดคล้องกับระเบียบของภูมิภาคและสากลมากขึ้น เพื่อให้ สปป.ลาว พัฒนาเป็นศูนย์กลางในการขนส่งสินค้า
และการบริการ

นายหยวนฯ ผู้อำนวยการบริษัททางรถไฟลาว-จีน กล่าวว่า บริษัททางรถไฟลาว-จีนจะนำคำแนะนำของรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมฯ
ไปปรับปรุงระบบการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และจะร่วมมือกับกรมภาษี (กรมศุลกากร) กระทรวงการเงิน และกระทรวงที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว
ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันของระบบศุลกากรและระบบของบริษัททางรถไฟ รวมทั้งระบบการทำงาน เงื่อนไข สิ่งอำนวย
ความสะดวกในการทำงาน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งการขนส่งทางรถไฟ นอกจากนี้ ภายหลังจากการลงพื้นที่
และผลจากการประชุมครั้งนี้ บริษัททางรถไฟลาว-จีนจะร่วมมือกับท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์ และผู้ประกอบการขนส่งเพื่อเชื่อมโยง
ให้เป็นระบบเดียวกัน รวมทั้งการปรับปรุงค่าใช้จ่าย และการบริการต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐาน โปร่งใส สามารถเชื่อมโยงระบบให้ครอบคลุม

นายจันทอนฯ ประธานบริษัท เวียงจันทน์โลจิสติกส์ พาร์ค กล่าวว่า การดำเนินการพัฒนาท่าบกท่านาแล้ง บริษัทฯ ใช้เวลาดำเนินงาน
เพียง 11 เดือนในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการ ภายหลังจากที่ได้ลงนามสัญญาและเวนคืนที่ดินแล้วเสร็จ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญ
และเป็นการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายด้านการเชื่อมโยงและตอบสนองนโยบายของรัฐบาล สปป. ลาวในการเปลี่ยนจาก
ประเทศที่ไม่มีชายแดนติดกับทะเล เป็นประเทศที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคและสากล นอกจากนี้ นายจันทอนฯ ยังได้อธิบายถึงกลไก
การบริหารจัดการ การเก็บค่าบริการ ขั้นตอน การประสานงานต่าง ๆ ตั้งแต่สินค้าเข้าและออก สินค้าผ่านแดน รวมทั้งการส่งเสริมพรรค
และรัฐบาล สปป. ลาว เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีให้กับสังคมของท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์ 

ที่ประชุมได้เสนอการแก้ไขปัญหาสำคัญ ดังนี้ 
1. การเตรียมความพร้อมด้านระเบียบและบุคลากรในการตรวจปล่อยสินค้านำเข้าและส่งออก และสินค้า ผ่านแดนที่สถานีรถไฟ
เวียงจันทน์ใต้ และท่าบกท่านาแล้ง 
2. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสถานีรถไฟ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสาร ค่าธรรมเนียม การจอง
ตู้คอนเทนเนอร์ และการเพิ่มจำนวนและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ผ่านทางรถไฟ 
3. การระดมกำลังและความสามารถในการขนส่ง เพื่อตอบสนองรถขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกให้เพียงพอ และได้มาตรฐาน
ที่สถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ และด่านสากลสินค้าท่าบกท่านาแล้ง

การประชุมในครั้งนี้ ยังเป็นการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า เพื่อรายงานต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการ
อำนวยความสะดวกทางด้านการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 ม.ค. 2565 โดยมี ดร. สอนไซ สีพันดอน รองนายก
รัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว ในฐานะหัวหน้าคณะชี้นำการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า
ขั้นศูนย์กลาง เป็นประธานการประชุมดังกล่าว

ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 19 ม.ค. 2565
https://laoedaily.com.la/2022/01/19/111015/

01/28/2022



กลับหน้าหลัก