กฎระเบียบที่ควรรู้

พัฒนาการของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ใน สปป. ลาว

สปป. ลาว ถือเป็นประเทศที่มีทรัพยากรแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับที่ราบหุบเขา อันเกิดจาก
การยกตัวของแผ่นทวีปเก่า และมีภูเขาไฟที่ดับแล้วหลายแห่ง จากการสำรวจได้ค้นพบสายแร่ธาตุและโลหะมีค่าต่าง ๆ
เป็นจำนวนมากจึงเป็นโอกาสให้รัฐบาล สปป. ลาวนำทรัพยากรเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศ ผ่านการให้สัมปทานกับบริษัท
ต่างชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและเจรจาจากรัฐบาล

ปัจจุบันบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้สำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจและเทคนิคการขุดค้นและแปรรูปแร่ธาตุ
ทั้งหมด 230 บริษัท โดยแบ่งออกเป็น อยู่ในความดูแลของภาคธรณีศาสตร์แร่ธาตุ 105 บริษัท 124 กิจการ และอยู่ในการดูแล
ของภาคเหมืองแร่ 125 บริษัท 205 กิจการ ประกอบด้วยบริษัทที่กำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ
และเทคนิค 42 บริษัท 60 กิจการ และบริษัทที่รัฐบาลอนุมัติโครงการสัมปทานขุดค้นทั่วไป 83 บริษัท 145 โครงการ แร่ธาตุ
และโลหะที่พบในลาวมีแหล่งแร่สำคัญ ได้แก่ (1) แหล่งแร่เงิน ทอง และทองแดง ในเหมือง เซโปน เมืองวีละบุลี
แขวงสะหวันนะเขต (2) แหล่งแร่เหล็ก ในแขวงเวียงจันทน์ (3) แหล่งแร่เหล็ก ทองแดง ทองคำ ดีบุกและสังกะสี
ในแขวงเซกอง และแขวงอัดตะปือ

นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ได้กล่าวถึงการขุดค้นเหมืองแร่ว่า จะเร่งการทดลองขุดค้นเหมืองเหล็กที่แขวงคำม่วน
เพื่อพัฒนาแหล่งสร้างรายได้ใหม่ให้แก่รัฐบาล โดยจะต้องคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมไปด้วย เนื่องจากการขุดค้น
เหมืองแร่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยตรง การเปิดหน้าดินจะทำให้สูญเสียทั้งเนื้อที่ดินที่ทำการผลิตการเกษตร
สูญเสียเนื้อที่ป่าไม้ เกิดความเสี่ยงที่จะมีการปนเปื้อนของแม่น้ำ ตลอดจน เรื่องการย้ายถิ่นฐานของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
จากโครงการ ดังนั้นโครงการใดก็ตามที่ได้รับอนุมัติจะต้องคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก จะต้องมีการประเมิน
ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม มีกลไกในการรับผิดชอบของผู้พัฒนาด้วยการจัดสรรงบประมาณอย่างละเอียด
และสามารถติดตามได้จากทางการ

ทั้งนี้ นางคำจัน วงแสนบูน รองรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว ได้เผยว่าหลังจากประชุมระดับรัฐมนตรี
เรื่องการบริหารจัดการเหมืองแร่ของชาติ รัฐบาลตัดสินใจเปิดให้สัมปทานเหมืองแร่ครั้งใหม่กว่า 308 โครงการ โดยแบ่งเป็น
การสัมปทานโครงการใหม่ 262 โครงการ สัมปทานแร่หายากอีก 8 โครงการ และโครงการทดลองสำรวจอีก 38 โครงการ
ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะสามารถขุดค้นแร่ทั่วประเทศออกมาจำหน่ายได้ทั้งหมด 7,832 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2564-2568
เพิ่มมากกว่าเมื่อ 5 ปีก่อนร้อยละ 4 โดยในช่วงที่ผ่านมา สปป. ลาว ได้สำรวจพบเหมืองแร่ทองคำใหม่ ในเมืองเซโปน
โดยรัฐบาลได้ให้สัมปทานดำเนินการเหมืองแห่งนี้แก่บริษัทล้านช้างมิเนรัล หรือ LXML เหมืองแร่ทองคำแห่งนี้มีปริมาณ
แร่ 9.5 ล้านตัน และคาดว่าในปี 2566 จะสามารถผลิตได้ 400,000 ตันและเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านตันในปีต่อไป การค้นพบแร่
เพิ่มขึ้นจากเดิมจะทำให้เหมืองแร่ทองคำใต้ดินลึกแห่งนี้ จะมีอายุการขุดค้นได้อีก 7 ปี สามารถดำเนินการไปได้ถึงปี 2573
การทำเหมืองใต้ดินแบบใหม่นี้จะลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบเมื่อเทียบกับระบบเหมือง
เปิดหน้าดินแบบเดิม สำหรับ การขุดแร่ทองคำขึ้นมาใช้จะดำเนินการได้ในกลางปี 2566 โดยขุดลึกลงใต้ดินราว 450 เมตร
และสร้างอุโมงค์ระยะทางยาว 1,800 เมตร สูง 5 เมตร เข้าสู่พื้นที่แหล่งแร่โดยใช้เครื่องมือขุดที่ทันสมัย

ในขณะที่รัฐบาล สปป. ลาวได้จัดวางระบบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรอุตสาหกรรมเหมืองแร่ใหม่ด้วยการแบ่ง
ความรับผิดชอบของกระทรวงการเงิน และกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ในการตรวจสอบแผนการส่งออกแร่ธาตุ
ของบริษัทที่ได้รับการอนุมัติขุดค้นเหมืองแร่เพื่อช่วยให้รัฐบาลสามารถพิจารณาและประเมินรายรับจากอุตสาหกรรม
เหมืองแร่ได้เพิ่มเติม ทั้งนี้ รัฐบาล สปป. ลาววางแผนว่า จะเปลี่ยนจากการส่งออกแร่ธาตุดิบ เป็นแร่ธาตุผ่านการแปรรูป
เพื่อเพิ่มมูลค่าของแร่ธาตุก่อนจะทำการส่งออกโดย สปป. ลาว เป็นประเทศที่มีแหล่ง แร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ คิดเป็น
ร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด

จึงเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าในระยะถัดไปพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของ สปป. ลาว จะสามารถเติบโต
และกลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของประเทศในการพลิกฟื้นนโยบายด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศตามเป้าหมายที่รัฐบาล
ประเมินไว้มากน้อยเพียงใด

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.laophattananews.com/archives/114663?fbclid=IwAR1MzccI-lQRulJP2QwJ1spschIbIRZU8
AenQ8dO8S8_gaqQs-uwEpZovcU
https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten93_Newly_y22.php
https://laotiantimes.com/2022/04/05/laos-allows-mining-investment-more-than-300-projects-in-the-country/

09/02/2022



กลับหน้าหลัก