กฎระเบียบที่ควรรู้

การเป็นกรรมการบริษัทของชาวต่างชาติ

สำหรับนักลงทุนไทย ที่กำลังวางแผนจะจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินกิจการใน สปป. ลาว นั้น หลายท่านอาจยัง มีข้อสงสัยอยู่ว่า ท่านสามารถมีส่วนร่วมในบริษัทที่กำลังจะก่อตั้งขึ้นของท่านได้อย่างไรบ้าง บทความนี้จะช่วยไข ข้อสงสัยในประเด็นนี้ให้กับท่าน เมื่อผู้ลงทุนได้ลงเงินทุนในบริษัทไปแล้วนั้น การจะไว้ใจให้บุคคลอื่นเข้ามาบริหารกิจการของท่านนั้น อาจ เป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจต่อท่านผู้ลงทุนอยู่ไม่น้อย การเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทเพื่อเข้ามีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการกิจการด้วยตนเองดูจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ผู้ลงทุนหลายท่านต้องการ แต่คำถาม ที่ตามมาคือ ในฐานะของผู้ลงทุนต่างชาตินั้น การเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทใน สปป. ลาว นั้นสามารถทำได้หรือไม่ ตามกฎหมายแห่ง สปป. ลาว การที่บุคคลใดจะเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัท หรือที่กฎหมายแห่ง สปป. ลาวเรียกว่า ผู้อำนวยการได้นั้น บุคคลดังกล่าวต้องมิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็น บุคคลธรรมดาที่มีความสามารถในการกระทำการต่างๆได้ตามกฎหมาย อีกทั้งต้องมิใช่บุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ใน ระยะเวลาควบคุมที่ห้ามมิให้เข้าประกอบธุรกิจใดๆและไม่เคยต้องโทษอาญาในข้อหาฉ้อโกง หรือยักยอกทรัพย์ นอกจากนี้แล้ว หากมิได้มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในข้อตกลงบริษัท ผู้อำนวยการของบริษัทนั้นนั้นอาจเป็นผู้ถือ หุ้นของบริษัทเองหรือไม่ก็ได้ โดยหากเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทอยู่แล้ว โดยหลักตามกฎหมาย แห่ง สปป. ลาว ผู้อำนวยการผู้นั้นจะไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน จะมีก็แต่เบี้ยประจำปี และเบี้ยประชุม ซึ่งจะถูกกำหนดโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้เว้นเสียแต่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับบริษัท จากคุณสมบัติข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเป็นชาวต่างชาตินั้น มิได้เป็นอุปสรรคของการเข้าเป็นผู้อำนวยการ ในบริษัทของผู้ลงทุนชาวไทยแต่อย่างใด เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ท่านนักลงทุนหลายท่านที่ประสงค์จะเข้ามาบริหาร จัดการบริษัทที่ท่านลงทุนด้วยตนเองคงสบายใจได้ โดยสำหรับประเด็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ลงทุนใน ฐานะที่เป็นผู้อำนวยการบริษัทนั้น ทางเราจะขอนำเสนอในบทความฉบับต่อไป

เมื่อผู้ลงทุนได้ลงเงินทุนในบริษัทไปแล้วนั้น การจะไว้ใจให้บุคคลอื่นเข้ามาบริหารกิจการของท่านนั้น อาจ เป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจต่อท่านผู้ลงทุนอยู่ไม่น้อย การเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทเพื่อเข้ามีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการกิจการด้วยตนเองดูจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ผู้ลงทุนหลายท่านต้องการ แต่คำถาม ที่ตามมาคือ ในฐานะของผู้ลงทุนต่างชาตินั้น การเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทใน สปป. ลาว นั้นสามารถทำได้หรือไม่

ตามกฎหมายแห่ง สปป. ลาว การที่บุคคลใดจะเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัท หรือที่กฎหมายแห่ง สปป. ลาวเรียกว่า ผู้อำนวยการได้นั้น บุคคลดังกล่าวต้องมิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็น บุคคลธรรมดาที่มีความสามารถในการกระทำการต่างๆได้ตามกฎหมาย อีกทั้งต้องมิใช่บุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ใน ระยะเวลาควบคุมที่ห้ามมิให้เข้าประกอบธุรกิจใดๆและไม่เคยต้องโทษอาญาในข้อหาฉ้อโกง หรือยักยอกทรัพย์ นอกจากนี้แล้ว หากมิได้มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในข้อตกลงบริษัท ผู้อำนวยการของบริษัทนั้นนั้นอาจเป็นผู้ถือ หุ้นของบริษัทเองหรือไม่ก็ได้ โดยหากเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทอยู่แล้ว โดยหลักตามกฎหมาย แห่ง สปป. ลาว ผู้อำนวยการผู้นั้นจะไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน จะมีก็แต่เบี้ยประจำปี และเบี้ยประชุม ซึ่งจะถูกกำหนดโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้เว้นเสียแต่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับบริษัท

จากคุณสมบัติข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเป็นชาวต่างชาตินั้น มิได้เป็นอุปสรรคของการเข้าเป็นผู้อำนวยการ ในบริษัทของผู้ลงทุนชาวไทยแต่อย่างใด เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ท่านนักลงทุนหลายท่านที่ประสงค์จะเข้ามาบริหาร จัดการบริษัทที่ท่านลงทุนด้วยตนเองคงสบายใจได้ โดยสำหรับประเด็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ลงทุนใน ฐานะที่เป็นผู้อำนวยการบริษัทนั้น ทางเราจะขอนำเสนอในบทความฉบับต่อไป



กลับหน้าหลัก