กฎระเบียบที่ควรรู้

การลดทุน

การลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัด หรือที่เรียกในภาษาลาวว่า “การหลุดทุน”

ในกรณีที่ผู้ลงทุนเห็นว่าทุนจดทะเบียนของบริษัทสูงเกินกว่าความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจของตน ก็ สามารถดำเนินการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทตนให้เหลือเท่าที่พอเหมาะแก่สถานะภาพของบริษัทได้ โดย กฎหมายได้กำหนดให้สามารถดำเนินการลดทุนได้ 2 วิธี ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกรณีการเพิ่มทุนจดทะเบียน คือ การลดมูลค่าของแต่ละหุ้นลง และการลดจำนวนหุ้นลง อย่างไรก็ตาม การลดทุนทั้งสองวิธีนั้นกฎหมายไม่มีข้อ กำหนดในขั้นตอนการดำเนินการที่แตกต่างกัน

ในการลดทุนจดทะเบียนนี้มีเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนอยู่ไม่น้อย เนื่องจากกฎหมายต้องการปกป้อง คุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของบริษัท ซึ่งเป็นผู้เสียประโยชน์ในกรณีการลดทุนจดทะเบียนของบริษัท กฎหมายจึงกำหนดให้ต้องมีความยินยอมจากทั้งผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ประกอบเข้าด้วยกันจึงจะสามารถดำเนินการลดทุนได้ กล่าวคือ กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขในการลดทุนไว้ว่า

  1. เมื่อลดทุนแล้ว มูลค่าหุ้นที่ยังเหลือจากการลดทุนลงจะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 2,000 กีบ ซึ่งจะเท่ากับหุ้นละ 7-8 บาทโดยประมาณ
  2. ทุนที่ยังเหลือทั้งหมดของบริษัทจะต้องไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนเดิม และยังต้องระวังให้ไม่ ต่ำกว่าทุน ของสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น ซึ่งทุนดังกล่าวนี้จะต้องเป็นทุนที่มีจริงและอยู่ใน สปป. ลาว
  3. การลดทุนจดทะเบียน ต้องได้รับมติพิเศษจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น และ
  4. ต้องไม่มีเจ้าหนี้ของบริษัทเข้าคัดค้านการลดทุนจดทะเบียนดังกล่าว

ทั้งนี้ บริษัทจะต้องเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้สามารถแสดงการคัดค้านได้ โดยต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ เจ้าหนี้ของบริษัททุกราย ระบุรายละเอียดเหตุผลในการลดทุน มูลค่าหุ้นหรือจำนวนหุ้นที่ลดลง และระบุกำหนด เวลาให้ส่งคำตอบคัดค้าน โดยกำหนดให้ไม่ต่ำกว่า 2 เดือนนับจากวันที่เจ้าหนี้ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งแจ้งผ่านทางสื่อ มวลชน อย่างน้อย 10 ครั้ง โดยต้องมีรายละเอียดดังกล่าวที่ระบุไว้ในจดหมายที่แจ้งต่อเจ้าหนี้เช่นกัน

ในกรณีที่ไม่มีการคัดค้าน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้โดยการที่เจ้าหนี้ไม่แสดงการคัดค้านเอง หรือการที่เจ้าหนี้ละเลย ไม่ได้ให้คำตอบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจนเลยกำหนดเวลา หรือการที่เจ้าหนี้ไม่ได้รับการแจ้งข่าวการลดทุนดัง กล่าวที่เกิดจากความบกพร่องของตัวเจ้าหนี้เอง บริษัทก็สามารถดำเนินการลดทุนได้เลยตามมติที่ประชุมของผู้ถือ หุ้น แต่ในกรณีที่มีเจ้าหนี้คัดค้าน บริษัทจะไม่สามารถดำเนินการลดทุนดังกล่าวได้จนกว่าจะได้ใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ราย ที่คัดค้านจนครบถ้วนแล้วเท่านั้น

อนึ่ง พึงระวังไว้ว่าหากบริษัทบกพร่องในการแจ้งข่าวการลดทุนให้แก่เจ้าหนี้รายใด บริษัทจะต้องชำระหนี้ สินให้แก่เจ้าหนี้รายนั้นให้เสร็จสิ้น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่มีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทดำเนิน การลดทุนจดทะเบียน

เมื่อบริษัทดำเนินการครบเงื่อนไขทั้ง 4 ประการข้างต้นแล้ว ก็สามารถดำเนินการลดทุนตามมติประชุม ของผู้ถือหุ้นได้ และจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนดังกล่าว ภายใน 10 วันทำการนับแต่วันที่ไม่มีการคัดค้านจากเจ้าหนี้ หรือวันที่ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่คัดค้านครบถ้วนแล้ว และ แจ้งต่อสาธารณชนให้ทราบถึงการลดทุนจดทะเบียนนี้ให้ทราบทั่วกันด้วย



กลับหน้าหลัก