กฎระเบียบที่ควรรู้

ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง

ในระหว่างการจ้างแรงงาน นายจ้างอาจเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยแรงงาน (ฉบับ แก้ไข) พ.ศ. 2550 บทความฉบับนี้จะขออธิบายให้นายจ้างทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ ในการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ลูกจ้างในกรณีเลิกจ้าง

หน้าที่จ่ายเงินอุดหนุนและจำนวนเงินอุดหนุนที่จะต้องจ่ายให้ลูกจ้างนั้น จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ ของการเลิกจ้าง โดยคำนวณตามระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ซึ่งอัตราสูงสุดของเงินอุดหนุน ให้คิดเท่ากับร้อย ละ 15 ของเงินเดือนที่ได้รับก่อนเลิกจ้างคูณจำนวนเดือนที่ลูกจ้างนั้นได้ทำงานมา สำหรับลูกจ้างที่ทำงานไม่ถึง 3 ปี และ สำหรับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ให้คิดเท่ากับร้อยละ 20 ของเงินเดือน ที่ได้รับก่อนเลิกจ้างคูณจำนวน เดือนที่ลูกจ้างนั้นได้ทำงานมา

โดยหลักทั่วไปแล้ว นายจ้างจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ถูกต้อง เช่น นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอหรือบังคับให้ลูกจ้างเลิกสัญญาจ้าง นอกจากนั้น กรณีนายจ้างล่วงละ เมิดสิทธิของลูกจ้าง หรือฝ่าฝืนข้อสัญญาในสัญญาจ้าง จนทำให้ลูกจ้างต้องเลิกสัญญาจ้างนั้น นายจ้างก็มีหน้าที่ต้อง จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ลูกจ้างเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากเป็นการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวมานี้ กฎหมายได้เปิด โอกาสให้ ลูกจ้างมีสิทธิขอกลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมหรือตำแหน่งหน้าที่ใหม่ตามความเหมาะสมได้อีก ด้วย แต่ในกรณีนี้ ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน

อย่างไรก็ตาม นายจ้างอาจต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ลูกจ้าง แม้มีเหตุผลผลเพียงพอก็ตาม เช่น นายจ้างเลิก จ้างเพราะลูกจ้างขาดความสามารถ มีสุขภาพอ่อนแอซึ่งไม่สามารถทำงานต่อได้ หรือนายจ้างมีความจำเป็นต้องลด จำนวนลูกจ้าง เพื่อปรับปรุงการดำเนินการภายในกิจการของตน

นอกจากนั้น บางกรณี นายจ้างยังต้องจ่ายเงินอุดหนุน ถึงแม้ฝ่ายลูกจ้างเป็นฝ่ายขอเลิกสัญญาจ้างเองโดยที่ ลูกจ้างมีเหตุผลเพียงพอ เช่น สุขภาพอ่อนเพลีย หรือนายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่ กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่กรณีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องมีอายุ งาน ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป



กลับหน้าหลัก