ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

การเริ่มดำเนินธุรกิจ – สัญญาปากเปล่า

ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการเข้าทำสัญญาของผู้ลงทุน โดยทั่วไปเมื่อผู้ลงทุนได้เข้ามาลงทุนใน สปป. ลาว แล้ว ก็ย่อมต้องมีการตกลงทำสัญญาทางธุรกิจกับคู่ค้าใน สปป. ลาว คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นคือ ข้อตกลงทางธุรกิจดัง กล่าวจำเป็นต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หรือคู่สัญญาเพียงทำสัญญาปากเปล่าหรือสัญญาลูกผู้ชายต่อกันก็ เพียงพอแล้ว

นอกจากนั้น รัฐบาล สปป. ลาว ยังมีนโยบายส่งเสริมให้บุคคลทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรมากกว่าการ ทำสัญญาปากเปล่า เพื่อเป็นหลักฐานและเป็นหลักประกันว่าคู่สัญญาจะปฏิบัติตามพันธะที่มีอยู่ภายใต้ข้อตกลง อย่างถูกต้องและครบถ้วน ดังนั้น โดยหลักการแล้วการเข้าทำนิติกรรมใดๆ ของนิติบุคคลใน สปป. ลาว กฎหมาย กำหนดให้ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หลายท่านคงเกิดคำถามต่อมาว่า ถ้าเป็นนิติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆทั่วไป เช่น ซื้อสมุด ปากกา ในปริมาณที่มิได้เป็นสาระสำคัญ จำเป็นต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหรือไม่ ถึงแม้ว่า คำตอบก็คือ จำเป็นต้องทำเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่เนื่องด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดจาก การผิดสัญญาจากการซื้อ ของรายการเล็กน้อยดังกล่าว ทำให้ต้องมีการขึ้นโรงขึ้นศาลอาจจะมีไม่สูงนัก เพราะผู้ซื้อก็ได้ของแลกกับราคาของที่ ชำระให้กับผู้ขายทันที ถ้าไม่กล่าวถึงหลักฐานที่ต้องใช้ในการบันทึกบัญชีอย่างถูกต้องแล้ว หลายท่านก็อาจมิได้ กระทำสัญญา เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับสัญญาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม บางครั้งความคุ้นเคยกับการทำสัญญาทางปากเปล่าทำให้ใช้วิธีนี้ในการทำสัญญาที่มีความ สลับซับซ้อนมากขึ้น นิติสัมพันธ์อาจมีระยะเวลายาวนาน รวมทั้งเงื่อนไขก็มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีหลายครั้ง ที่คู่สัญญาละเลยไม่ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญาประเภทดังกล่าวเพียงเพื่อ ความสะดวกหรือเชื่อใจกัน และกัน นอกจากจะเป็นการไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในกรณีของการผิดสัญญาและ การบังคับตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ เพราะเมื่อเกิดการผิดข้อตกลง ฝ่ายที่เสียเปรียบหรือเสียหายเพราะการกระทำ ของอีกฝ่ายหนึ่งย่อมปราศจากหลักฐานที่จะใช้บังคับกันในทางศาล โอกาสที่จะเสียหายก็มากขึ้น แม้กฎหมาย สปป. ลาว จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถทำสัญญาปากเปล่าได้ในบางกรณี แต่นักลงทุนควรทำสัญญาเป็นลายลักษณ์ อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจน และครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของคู่สัญญาทุกประการเพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีหาก มีข้อพิพาทกันภายหลัง เมื่อผู้ลงทุนไทยจะเข้าทำสัญญาทางธุรกิจกับคู่ค้าใน สปป. ลาว นักลงทุนควรศึกษากฎหมาย ของ สปป. ลาว ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นๆ รวมถึงแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่ นักลงทุนไทยจะปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของ สปป. ลาว



กลับหน้าหลัก