ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

การเริ่มดำเนินธุรกิจ – ช่วงทดลองงาน

เมื่อนักลงทุนตัดสินใจลงทุนใน สปป. ลาว แล้ว หนึ่งในคำถามที่สำคัญต่อมาคือนักลงทุนควรเริ่มดำเนิน ธุรกิจอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักลงทุนตัดสินใจลงทุนใน สปป. ลาว โดยมีเพียงลูกค้ารายย่อยเพียงไม่กี่ราย หรือมีเพียงคู่ค้าขนาดเล็กซึ่งมีปริมาณการซื้อขายสินค้า และหรือบริการจำนวนไม่มากนัก

ในกรณีเช่นนี้ นักลงทุนอาจเริ่มดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าใน สปป. ลาว ในลักษณะการซื้อขายสินค้า และหรือ บริการเป็นคราวๆไป โดยมีการตกลงซื้อขายสินค้า และ/หรือ บริการเป็นรายธุรกรรม ยกตัวอย่างเช่น หากนักลงทุน ไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค และลูกค้าใน สปป. ลาว ต้องการซื้อสินค้าจากนักลงทุนไทยเพื่อนำไปจำหน่าย ให้แก่ผู้บริโภคใน สปป. ลาว นักลงทุนไทยอาจเริ่มต้นธุรกิจจากการขายสินค้าเป็นครั้งๆ ไป ด้วยวิธีการนี้ หาก สินค้าของนักลงทุนไทยไม่เป็นที่นิยมใน สปป. ลาว ผู้ลงทุนก็มีทางเลือกที่จะยุติการดำเนินธุรกิจใน สปป. ลาว ได้อย่างสะดวกเนื่องจากเป็นการตกลงซื้อขายสินค้าเป็นคราวๆไป ในทางตรงกันข้าม หากสินค้าของนักลงทุนไทย เป็นที่ นิยมของผู้บริโภคใน สปป. ลาว นักลงทุนไทยก็มีทางเลือกในการขยายการลงทุนใน สปป. ลาว โดยนัก ลงทุนอาจ แต่งตั้งคู่ค้าใน สปป. ลาว เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า หรือ นักลงทุนไทยอาจตั้งบริษัทในลาวเพื่อ จำหน่ายสินค้าของตนเองก็ได้ ซึ่งในเวลานั้น นักลงทุนไทยจะสามารถต่อรองในการเจรจาข้อตกลงและผล ประโยชน์ทางธุรกิจกับคู่ค้าใน สปป. ลาวได้ดีกว่าในช่วงแรกที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจใน สปป. ลาว เพราะมีข้อมูลมาก ขึ้นจากการทำธุรกิจมา ในระยะหนึ่ง

ดังนั้น การลงทุนของนักลงทุนไทยใน สปป. ลาว โดยเฉพาะนักลงทุนมือใหม่จึงควรเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ ด้วยความระมัดระวัง แล้วจึงค่อย ๆ ต่อยอดการลงทุนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินธุรกิจในต่างแดนซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของธุรกิจมากกว่าการทำธุรกิจภายในประเทศ ในบทต่อไป เราจะกล่าวถึงการทำสัญญาทางธุรกิจด้วยวาจา หรือการทำสัญญา ปากเปล่าว่าจะทำได้หรือไม่และมีผลอย่างไรใน สปป. ลาว



กลับหน้าหลัก